Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Tuesday, March 3, 2020

物流(Logistics)

วันนี้จะพูดถึงเรื่องของ Logistics(物流)
จุดประเด็นตอนเป็นล่ามให้ผจก.ที่รับผิดชอบเรื่องExport/Import

มันจะมีวลีนึง " แลกดีโอ" ก็เลยเริ่มหาคำตอบ สงสัยๆๆๆๆๆๆ

Logisticจะเริ่มต้นจาก ผู้ส่งออก Exporter (輸出者) หรือเรียกว่า Shipper / Consigner (荷送人)
อีกส่วนนึงก็คือ Forwarder / Agent /  Shipping (บริษัทขนส่ง) และพวกสายเรือ Shipping Line
และส่วนสุดท้ายก็คือ ผู้นำเข้า Importer(輸入者)หรือเรียกว่า  Consignee (荷受人)

人 → トラック → 船 → トラック → 人

รถบรรทุกก็จะมารับสินค้าจากเรา เพื่อนำไปโหลดลงเรือ (船積み)
ในส่วนนี้จะมีเอกสารที่เกี่ยวข้องคือ B/L (Bill of Lading)  船荷証券 ふなにしょうけん
ลืมบอกภาษาไทย ภาษไทยเรียกว่า "ใบตราส่งสินค้า"
เป็นเอกสารที่บริษัทเรือ船会社 ふながいしゃ ออกให้กับผู้ส่งออก
ถ้าไม่มีใบ B/Lนี้ ปลายทางก็จะไม่สามารถออกสินค้าได้
ผู้ส่งออกสามารถระงับ B/L ได้ในกรณีที่ผู้นำเข้าไม่จ่ายค่าสินค้า (แม้ว่าจะถึงปลายทางแล้วก็ตาม)

*ขึ้นอยู่กับข้อตกลงทางการค้า...ผู้นำเข้าสามารถใช้เครดิตจาก L/C (Letter of Credit)信用状
เพื่อการันตีการจ่ายเงินในภายหลังได้ (ออกโดยธนาคาร)

เมื่อผู้ส่งออกอได้ B/L มาแล้วก็จะส่งให้กับผู้นำเข้า เพื่อนำไปยื่นให้กับบริษัทเรือปลายทาง
ออก "ใบปล่อยสินค้า"  
ภาษาอังกฤษเรียกว่า D/O (Delivery Order)   荷渡し指示書
นี่แหละคือพระเอกของเรา... กว่าจะปรากฏตัวออกมา
มันก็คือการนำเอาใบ B/L ไปแลกมาเป็นใบ D/O นั้นเอง

โอเค  เท่านี้ก่อน เอาไว้ติดตามตอนต่อไป5555




Monday, March 2, 2020

縁(ふち、へり)、端(はし、はた)、脇(わき)!

ริม, ขอบ คำเนี้ยภาษาญี่ปุ่นเยอะจริงๆ  งง  混乱!!!

อย่างคันจิ “縁” ออกเสียงได้ทั้ง ふち、へり
บางคำก็ดูเหมือนว่าจะใช้ ふち หรือへり ก็ได้
ขอยกตัวอย่างคำไปเลยแล้วกัน....อธิบายยาก

เช่น ขอบแก้ว ขอบหม้อ...พวกภาชนะ  หรือขอบโต๊ะ  ริมหน้าผา ก็จะใช้คำว่า ふち
  コップの縁、鍋の縁、机の縁、崖の縁 (ถ้าใช้คำว่า へりก็น่าจะได้เหมือนกัน..ไม่แน่ใจ??)

  หรือกับรูปทรงที่เป็นเฟรม4เหลี่ยม  หรือ"กรอบรูป"ก็ยังใช้คำว่า 額縁 がくぶち
        ไม่เว้นแม่แต่เบ้าตา 目の縁หรือกรอบแว่นตา眼鏡の縁 ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า ふち
        (*แต่กับ2คำนี้ เค้าจะไม่ใช้คำว่า へり)
  
ส่วนคำว่า へり น่าจะใช้กับรูปทรงแบน ผืนผ้า เสื่อ  เช่น ชายผ้า  布の縁
หรือหมายถึง กรอบหรือขอบที่ติดไว้เพื่อตกแต่งให้สวยงาม
เช่น リボンで縁(ヘリ)を付ける。


อีกคำนึง...  “端” はし มีความหมายว่า ริม, ขอบ, ปลาย(สุด)
ตัวอย่างเช่น ขอบด้านบนของเฟรม4เหลี่ยม จะใช้คำว่า  はしหรือふちก็น่าจะได้
ริมถนน 道路の端 どうろのはし    道路脇 どうろわき
(*แต่ถ้าคำนี้ 道端 ไม่ได้อ่านว่า みちばしนะ   ที่ถูกต้องคือ みちばた เออ.เริ่มงงยัง)

หรือคำว่า 部屋の端 /端っこ はしっこ สุดมุมห้อง (一番離れたところ)

หรือถ้าอยากจะเจาะจงส่วนที่เป็นมุม (มุมห้อง)  ก็ใช้คำว่า 隅、隅っこ すみっこ
ถ้าเหลี่ยมมุม ก็ใช้คำว่า 角、角っこ かどっこ






Wednesday, February 26, 2020

ใบสำคัญ(ต่อ)

จริงๆ อยากจะจบตั้งแต่บทความที่แล้ว
แต่ลืมไป2ใบ  ชื่อก็บอกว่าสำคัญ..แต่ดันลืม

9. ใบลดหนี้  Credit Note  ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า  赤伝(あかでん)หรือ マイナス伝票
 หรือไม่ก็พูดทัพศัพท์ไปเลย クレジットノート
 จากประสบการณ์ ใบนี้จะใช้ในกรณีอย่างเช่น งานที่เราส่งไปให้ลูกค้าเป็นงานเสีย
   ก็ต้องออก"ใบลดหนี้"ให้กับลูกค้าเพื่อหักค่างานเสียออกจากยอดขาย

   บางบริษัทอาจจัดการโดยไม่ออกเป็นใบลดหนี้ แต่ส่งงานแลกเปลี่ยนแทนก็มี
 代品出荷 / 物々交換

 หรือใช้ในกรณีที่มีการปรับราคาขายกับลูกค้า ซึ่งราคาใหม่ถูกกว่าราคาเก่า
   กรณีนี้ก็ต้องออก"ใบลดหนี้"ให้กับลูกค้าเช่นกัน

10.ใบเพิ่มนี้ Debit Note ภาษาญี่ปุ่น จินตนาการไปว่ามันจะต้องมีคำว่า 黒伝 
 แต่ถามคนญี่ปุ่นและ..เค้าบอกไม่มี
   ก็ต้องใช้มุขเดิม ทัพศัพท์    デビットノート
   ปรัชญาล่ามเลยและ ถ้าไม่ได้ให้ใช้ทัพศัพท์ไว้ก่อน

 จะใช้ในกรณีที่ตรงข้ามกับใบลดหนี้
    เช่นในกรณีที่มีการปรับราคาขาย.. ซึ่งราคาใหม่แพงกว่าราคาเก่า
   เราก็ต้องออกใบเพิ่มหนี้ให้ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าจ่ายส่วนต่าง

 

Tuesday, February 25, 2020

枝番!

วันนี้ มีรุ่นน้องถามมาเกี่ยวกับคำว่า 枝番 えだばん
 เราเองก็พอรู้แค่คราวๆ ก็เลยสอบถามกับ エンジニア親分 555

 "枝番" คำว่า 枝 ถ้าแปลตรงๆจะหมายถึง กิ้งไม้ หรือแขนง

แต่ในที่นี้จะหมายถึง Mark Lot ซึ่งเป็นคำที่คนไทยเรียกกัน 
กำหนดขึ้นสำหรับควบคุมคุณภาพงานในLotย่อย

ยกตัวอย่างงานหล่อ 1MarkLot อาจกำหนด 3-4Tap/Mark และจะมีการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำเหล็กในทุกๆ3-4Tap เพื่อตรวจสอบโครงสร้างน้ำเหล็ก
 ถ้าพบว่าโครงสร้างผิดปกติ ก็จะมีคัดแยกงานในภายหลัง ซึ่งที่ตัวชิ้นงานจะมีการทำสัญลักษณ์Mark Lot เอาไว้ว่าเป็นMarkที่เท่าไหร่
*Tap หมายถึงการเทน้ำเหล็กจากเตาหลอมลงในเบ้าเท 出湯 しゅっとう

 ซึ่งมีแนวคิดและหลักการคล้ายๆกับ 号口管理 ごうぐちかんり เป็นการควบคุมความคืบหน้าในกระบวนการผลิต โดยการกำหนดกลุ่มของชิ้นงาน เช่น งานชุดแรกจำนวน 10ชิ้นที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์ กำหนดให้เป็น กรุ๊ป1 (1-10) กรุ๊ป2(11-20)....

เพิ่มเติม: เป็นศัพท์เฉพาะสำหรับToyota
号口 หมายถึง การผลิตงาน Mass Production (量産)
ซึ่งจะมาพร้อมกับคำนี้ 号試 ごうし ย่อมาจาก  号口試作
หมายถึงการทดลองผลิตก่อนMassPro.  


Friday, February 21, 2020

ใบสำคัญ

ใบสำคัญ 伝票

เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการค้าขายระหว่างกัน มีดังต่อไปนี้

1. ใบเสนอราคา  見積書 (Quotation)
    ระบุราคา  ระยะเวลาการส่งของ เงื่อนไขการซื้อขาย/การชำระเงินฯลฯ
   คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง  見積依頼書 ใบขอเสนอราคา (RFQ; Request for Quotation)
                                   相見積 เทียบราคา   

2.ใบสั่งซื้อ 注文書 (PO;Purchase Order)
   ระบุจำนวนที่จะสั่งซื้อ กำหนดวันส่งของ และเงื่อนไขอื่นๆตามใบเสนอราคา
  (ภายในบริษัทเอง..ก่อนหน้าใบPO ก็จะมี "ใบขอซื้อ 購入依頼書" PR; Purchasing Request
   หรือถ้ามีจำนวนเงินสูงๆ ก็อาจกำหนดให้ออก "ใบApplication" 決裁書 けっさいしょ

3.ใบส่งสินค้า 納品書、送り状 (Delivery Order/Note)
   เป็นหลักฐานว่าได้มีการส่งของ และอีกฝ่ายมีการเซ็นรับของไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
  คนส่งของเก็บตัวจริง  สาวนสำเนาจะให้ไว้กับผู้รับของ
 เพิ่มเติม:ใบส่งสินค้าชั่วคราว 仮伝票

4.ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) ถามคนญี่ปุ่นและ... ภาษาญี่ปุ่นไม่มีเรียก
   เพราะว่าของญี่ปุ่น..ประมาณว่าเค้าจะระบุยอดภาษีไว้ใน Invoice ใบเดียวเลย
   ระบุภาษีVAT จากการขายสินค้า
   *ผู้ขายสินค้ามีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี

5. หนังสือรับรองการหักณ.ที่จ่าย 源泉徴収票 (Withholding Tax Certificate)
 ระบุภาษีเงินได้หักณ.ที่จ่าย  ผู้ซื้อสินค้ามีหน้าที่ต้องออกใบนี้ให้กับผู้ขาย
  เพื่อที่จะนำเงินภาษีที่หักส่งให้กับสรรพกร 
  *ซึ่งส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับภาษีนิติบุคคล 法人税

6.ใบเรียกเก็บเงิน/ใบแจ้งหนี้ 請求書(Invoice)
   ความหมายตรงตัวตามนั้นเลย
   *ปกติใบสำคัญข้อ (3),(4),(6) จะแนบไปพร้อมกันที่เดียวเลยตอนส่งสินค้า

7. ใบวางบิล 請求一覧表 (Billing Note)
    ในหนึ่งเดือนอาจมีการส่งสินค้าหลายครั้ง  ถ้าทะยอยเรียกเก็บเงินเป็นครั้งๆไปมันก็จะยุงยาก
    ก็เลยใช้ใบสำคัญนี้ในการรวมยอดเงินและแจ้งยอดที่จะชำระรวมไปเลย
    ด้านการจัดการ...ลูกค้าเค้าก็จะมีการกำหนดว่าจะต้องมาวางบิลภายในวันที่เท่าไหร่

8. ใบเสร็จรับเงิน  領収書(Receipt)
    สุดท้ายเมื่อผู้ซื้อสินค้าชำระเงินแล้ว ผู้ขายก็มีหน้าที่ออกใบเสร็จให้
    ผู้ขายจะเก็บสำเนา  ส่วนตัวจริงก็จะให้ไว้กับผู้ซื้อ









精度

精度 คำนี้ถ้เป็นล่ามในโรงงานก็คงจะได้ยินบ่อย
อย่างเช่น 機械の精度 หรือ 棚卸の精度
แล้วก็จะมีประเด็นตามมาว่า "เราจะต้องปรับปรุง 精度を上げないといけない。

ซึ่งหลายๆคนก็อาจจะยังสับสน ระหว่างคำว่า "ความเที่ยงตรง" กับ "ความแม่นยำ"

精度  "ความเที่ยงตรง"  ภาษาอังกฤษ คือ Precision
เปรียบกับการยิงเป้าก็คือ ยิงได้ตรงจุดเดิมๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ตรงจุดกึ่งกลาง
อย่างนี้จะเรียกว่า มีความเที่ยงตรงแต่ขาดความแม่นยำ

正確度 "ความแม่นยำ" ภาษาอังกฤษ คือ Accuracy
คือยิงได้ตรงหรือใกล้เคียงกับจุดกึ่งกลาง ยิงแต่ละครั้งยังค่อนข้างกระจัดกระจาย
แม่นยำแต่ขาดความเที่ยงตรง

จบข่าว


VAT 付加価値税

VAT  ชื่อเต็มๆก็คือ Value Added Tax  ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 付加価値税
แต่ที่ญี่ปุ่นก็จะเข้าใจกันในความหมายของคำว่า 消費税 ภาษีบริโภค...อะไรประมาณนี้
ที่ญี่ปุ่นตอนนี้ก็น่าจะ10%แล้วมั้ง เมื่อก่อนแค่5%เอง

สำหรับในประเทศไทยบริษัทที่มีรายได้ต่อปีเกิน 1.8ล้านบาท
กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เริ่มจากภาษีขาย หรือ VATขาย  (売上税/売掛けVAT)
เป็นส่วนที่ผู้ขายเก็บจากผู้ซื้อเมื่อมีการขายสินค้า

ส่วนภาษีซื้อ หรือ VATซื้อ (仕入れ税/買掛けVAT)
เป็นส่วนที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กับผู้ขายเมื่อมีการซื้อสินค้า

ผู้ประกอบการจะต้องสรุปยอดภาษีซื้อและภาษีขาย
หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ก็มีสิทธิ์ที่จะขอคืนภาษีในส่วนที่เกินนั้น
หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ก็มีหน้าที่จะต้องนำส่งภาษี(納税)ในส่วนที่เกินนั้น

*การดำเนินธุรกิจทั่วๆไป ภาษีขายมักจะมีมากกว่าภาษีซื้อ
  พูดง่ายๆก็คือ ถ้าบริษัทที่มีกำไรก็ควรจ่ายภาษีให้กับรัฐมากหน่อย
ยกเว้นบางบริษัท..ติดลบทั้งชาติ 永遠 赤字!!!

ส่วนบริษัทที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่จำเป็นต้องจดVAT
แต่ก็จะเสียเปรียบเวลาซื้อของที่เราต้องจ่ายเงินรวมVATไปด้วย
แต่เราก็สามารถนำภาระภาษีส่วนนี้มาบวกเป็นต้นทุนและกำหนดเป็นราคาขายได้
แต่ก็อีกแหละ พอบวกไปแล้วราคาขายก็จะสูง เสียเปรียบคู่แข่งได้

เฮ้อ..นอนอยู่บ้านเฉยๆดีกว่า 5555