Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Friday, March 27, 2020

Incoterms#2

จะขอแนะนำคำที่เคยได้ยินกันบ่อยก็และกัน
ให้เข้าใจไว้ก่อนเลยว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าแล้ว หลังจากนั้นก็จะเป็นความรับผิดชอบของผู้ซื้อทั้งหมด

1. EXW : Exwork  工場渡し
    ผู้ขายวางสินค้าให้ผู้ซื้อมารับไปเองณ.สถานที่ที่ระบุ

2.FCA : Free Carrier 運送人渡し
 ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะของผู้รับขนที่ผู้ซื้อจัดมารับ

3.FOB : Free On Board  本船渡し
   ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ.ท่าเรือต้นทางที่ระบุ

4. CIF : Cost Insurance and Freight 運賃保険料込み
 ผู้ขายส่งมอบสินค้าเมื่อสินค้าวางอยู่บนเรือณ.ท่าเรือที่ระบุ และผู้ซื้อรับสินค้าจากผู้รับขน ณ.ท่าเรือปลายทางที่ระบุ

5.DDP : Delivered Duty Paid  関税込持込渡し
 ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่มาถึงพร้อมที่จะขนถ่ายสินค้าลงณ.สถานที่ปลายทางที่ระบุ

รายละเอียดอื่นๆ ลองไปศึกษาเพิ่มเติมก็และกัน


Thursday, March 26, 2020

Incoterms#1

ช่วงนี้เหมือนล่ามจะมีมรสุม
มีนโยบายให้ล่ามทำงานอื่นด้วย

คิดในแง่ร้าย..ขอละเว้น
คิดในแง่ดีก็คือ เราจะมีโอกาสได้เรียนรู้งานอื่นเพิ่มเติม และเติบโตในหน้าที่การงานต่อไปได้(ปรบมือ)
และหนึ่งในงานที่น่าสนใจก็คือ Import /Export

เลยจะขอแนะนำให้รู้จักคำว่า Incoterms 貿易条件
คำนี้ย่อมาจาก International  Commercial Terms
เป็นเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ
ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อและผู้ขายจะสะดวกในการส่งมอบแบบไหน
นอกจากเงื่อนไขการส่งมอบ ก็ยังมีเงื่อนไขในแง่ของค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงอีกด้วย

แต่ในแง่ของค่าใช้จ่าย..ภาระต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้ขาย เค้าคงจะถือว่าเป็นต้นทุน
และนำไปกำหนดเป็นราคาในInvoiceที่จะเรียกเก็บกับผู้ซื้อละมั้ง
ผู้ซื้อไม่น่าจะได้เปรียบอะไร

                                                つづく



Wednesday, March 25, 2020

起きると起こる

หลายวันก่อนมีรุ่นน้องถามมา
รุ่นน้อง: พี่..ไอ้คำว่า 起きると起こる มันใช้ต่างกันยังงัยพี่
เรา: อื่มๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เดี๋ยวพี่ดูให้

เออ..ตอบไม่ได้   เป็นล่ามมาตั้งนานแต่ไม่เคยสงสัยเรื่องนี้เลย

และสุดท้ายก็ได้คำตอบมาว่า...
ถ้าเป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ก็จะใช้คำว่า 起きる
แต่ถ้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระทำของคนหรืออะไรบางอย่าง ก็จะใช้คำว่า 起こる
พูดอีกอย่างก็คือ ผลที่เกิดขึ้นจาก 起きるหรือจาก起こす ก็คือ 起こる

ตัวอย่างเช่น
大雨が起きたから、洪水が起こった。
誰が事故を起こしたから、渋滞が起こった。

แต่บางคนก็มองว่า สิ่งที่เกิดจากธรรมชาติหรือภัยพิบัติต่างล้วนเกิดจากพระเจ้า
รวมถึงคนที่มองถึงหลักแห่งเหตุและผล  ย่อมมีเหตุจึงทำให้เกิดผล
ซึ่งถ้ามองแบบนี้   ไม่ว่าจะกรณีไหนก็กลายเป็นว่าต้องใช้ 起こる ทั้งหมด

ไม่ค่อยจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนสักเท่าไหร่
*สรุปว่า  ตอนแปลถ้านึกคำไหนออกก็ใช้คำนั้นก็และกัน
เออ...เอาที่สบายใจเราดีกว่า


Tuesday, March 24, 2020

CPR!(ต่อ)

แนะนำคำศัพท์ที่น่าสนใจ

応急処置 おうきゅうしょち ปฐมพยาบาล
自動体外式除細動器 じどうたいがいしきじょさいどうき เครื่องกระตุกหัวใจฯ(AED)
人工呼吸 じんこうこきゅう ผายปอด
窒息 ちっそく ขาดอากาศหายใจ
傷病者 しょうびょうしゃ ผู้ได้รับบาดเจ็บ
心臓発作 しんぞうほっさ โรคหัวใจกำเริบ
浅い傷 あさいきず แผลตื้น
刺し傷 さしきず แผลถูกแทง
擦り傷 こすりきず、すりきず แผลถลอก
切断 せつだん ขาด(อวัยวะ)
第1度熱傷 だい~どねっしょう แผลไฟไหม้ระดับ1
ガーゼ がーぜ ผ้าก๊อซปิดแผล   เช่น ガーゼで覆う
包帯 ほうたい ผ้าพันแผล
止血 しけつ ห้ามเลือด
ヒリヒリ(する) แสบ
痙攣 けいれん ชักเกร็ง
青あざ あおあざ ฝกช้ำ
しゃくり上げる  หายใจเฮือกๆ(จะขาดใจ)
喘ぐ あえぐ หอบ
仰向け あおむけ นอนหงาย
横向き よこむき นอนตะแคงข้าง


CPR!

CPR คำนี้หลายๆคนน่าจะเคยได้ยินและรู้จักกันแล้ว
ย่อมา Cardio Pulmonary Resuscitation   "การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน"
ภาษาญี่ปุ่น  心配蘇生法 しんぱいそせいほう

มี 3ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ (CAB)

1) C = Compression  การกดหน้าอก  胸骨圧迫 
2) A = Airway  การเปิดทางเดินหายใจ 気道の確保
3) B = Breathing การช่วยหายใจ 息の吹き込み

เป็นเรื่องพื้นฐานที่เราควรรู้เอาไว้  หรืออย่างน้อยๆก็ต้องจำเบอร์นี้ให้ได้

1669  (เรียกรถฉุกเฉิน)

つづく มีแถมคำศัพท์


Monday, March 23, 2020

減損

พอดี..ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผู้ตรวจสอบบัญชีกำลังทำงบฯของปี2019 ให้อยู่
ก็เลยอยากจะแนะนำให้รู้จักศัพท์บัญชีคำนึง

減損 げんそん การด้อยค่าของสินทรัพย์ (Impairment)

การด้อยค่าก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในมาตรฐานบัญชี 会計基準
หลักการก็คือ กรณีที่มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ 簿価価額(Carrying Amount)
มีมูลค่าสูงกว่า"มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับ" 回収可能価額(Recoverable Amount)
ก็จะถือว่าเกิดการด้อยค่า 減損損失(Loss of Impairment)
* ถ้ากรณีที่กลับกัน ก็จะไม่มีผลอะไรต่องบการเงิน  Loss of Impairment = 0

Carrying Amount > Recoverable Amount = Loss of Impairment  

ช่วงเวลาที่เข้าข่ายต้องประเมินการด้อยค่า คือ
1) บริหารงานติดลบต่อเนื่อง    経営が赤字続き
2) เลิกกิจการที่มีการใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น 固定資産を使用した事業の廃止
3) มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ตกลงอย่างมาก  固定資産の価値が大きく下落
4) ตลาดแย่ลงอย่างชัดเจน 市場の悪化が著しい

และเมื่อเกิดการด้อยค่า แน่นอนว่ามูลค่าสินทรัพย์ก็จะลดลงตามไปด้วย
ซึ่งต้องมีการคำนวนค่าเสื่อมใหม่ 減価償却費 Depreciation

ถ้าใครทำงานกับบริษัทที่มีกำไรก็คงไม่คุ้นเลยกับคำนี้
ไม่เหมือนเรา..เฮ้อ (ถอนหายใจ)


Thursday, March 19, 2020

移転価格(ราคาโอน)

เพิ่งมีกฎหมายออกมาบังคับใช้เร็วๆนี้เอง
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี(会計年度)ปี2019
"พ.ร.บ ป้องกันราคาโอน" 移転価格税法
        พ.ร.บนี้กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทต่างๆอาศัยการถ่ายโอนกำไรไปยังอีกบริษัทหนึ่ง
        เพื่อลดยอดภาษีที่จะต้องจ่าย พูดง่ายๆก็คือ "หลีกเลี่ยงภาษี" นั่นแหละ  脱税 

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจถึงความหมายของมันกันก่อน...
ราคาโอน (Transfer Pricing) 移転価格 หมายถึง  ราคาสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันระหว่าง
บริษัทที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน (เช่น บริษัทแม่/บริษัทลูก)
กล่าวคือ มีการถือหุ้นตั้งแต่ 50%ขึ้นไป  และบริษัทมีรายได้ต่อปี 200ล้านบาทขึ้นไป..ก็จะเข้าข่าย

ธุรกรรมที่เข้าข่าย
1. การซื้อขายสินค้าและบริการ 商品売買及び役務提供
2. การกู้ยืมเงิน 貸付
3. การโอนสินทรัพย์ 資産譲渡

เมื่อเข้าข่าย..บริษัทก็มีหน้าที่ต้องส่งรายงานให้กับสรรพกรโดยมี 2 ส่วนดังนี้

1. รายงานประจำปี Disclosure Form  付表フォーム 
 แสดงเนื้อหาความสัมพันธ์และมูลค่าธุรกรรม 関係性及び取引金額

2. เอกสารพิสูจน์ราคาโอน Transfer Pricing Documentation   移転価格文書
 2.1 Master File  แสดงภาพรวมการดำเนินธุรกิจ รวมถึงนโยบายการกำหนดราคาโอน
          事業概況及び移転価格決定の方針
 2.2 Local File  แสดงรายละเอียดการประกอบธุรกิจ

เบื้องต้น ทางจนท.จะดูจาก Disclosure Form พิจาณาถึงความเสี่ยง
เมื่อเห็นว่ามีความเสี่ยง ก็จะขออำนาจจากอธิบดีกรมฯเพื่อร้องขอให้บริษัท
ส่ง TP Documentation   เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของราคาโอนต่อไป

การพิสูจน์ราคาโอน
ก็ต้องอาศัยข้อมูล "ราคาตลาด" 市場価格 ซึ่งธุรกิจบางประเภทแทบจะไม่สามารถ
เข้าถึงข้อมูลนี้ได้เลย  มันเป็นความลับของแต่ละบริษัท
หรือไม่ก็ต้องหาเหตุผลเชิงบังคับทางสัญญากับลูกค้า หรือเหตุผลภายในบริษัทเอง
ที่ส่งผลต่อราคา

ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายก็แล้วกัน ไม่อยากให้เป็นบริษัท トンネル会社!
(อ้างอิงบทความ トンネル会社!)ถ้าเจอบริษัทแบบนี้..โบนัสเราหายหมด




VA/VE 提案

ภาวะเศรษฐกิจแบบนี้นะ รถก็ขายไม่ค่อยดี 売れ行き不振
ช่วงนี้จึงมีผู้ผลิตรถยนต์หลายๆรายร้องขอไปยังบริษัทSupplier ต่างๆเพื่อขอความร่วมมือในการ
ทำกิจกรรม CR (Cost Reduction) コスト低減活動
รวมถึงเรื่องของVA/VE Proposal  ก็เลยอยากจะแนะนำคำนี้ให้รู้จัก

VA/VE ย่อมาจาก  Value Analysis & Value Engineering
ภาษาญี่ปุ่น คือ 価値分析及び価値工学

คือการวิเคราะห์คุณค่าและวิศวกรรมคุณค่า ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับแก้ไขปัญหาด้านต้นทุน
เป็นการวิเคราะห์ฟังชั่น หน้าที่การทำงานของสิ่งนั้นๆ เพื่อนำมาหาแนวทางที่จะลดต้นทุน
Value = Function/Cost







   

Tuesday, March 17, 2020

ธุรกิจคนต่างด้าว#2


ต่อเลยและกัน...
ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ ว่าบริษัทเราเข้าข่ายธุรกิจบริการหรือป่าว!!!

ถ้าบริษัทมีแบรนด์เป็นของตัว พัฒนาออกแบบเอง ผลิตเอง  ขายเอง..อันนี้ไม่เข้าข่ายแน่นอน
แต่ถ้าเรารับจ้างผลิต (受託製造)ซึ่งเคยมีคำวินิจฉัยออกมาแล้วว่า "เข้าข่ายธุรกิจบริการ"

การรับจ้างผลิตจะมีบริษัทอยู่ 2ประเภท
  1) OEM (Original Equipment Manufacturer) ブランド製造
  หมายถึง บริษัทที่รับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด

 2) ODM (Original Design Manufacturer)
       หมายถึง บริษัทที่รับจ้างผลิตเหมือนกับ OEM แต่ว่ามีKnowHow สามารถออกแบบเองได้

      *หลายๆบริษัทรับแบบDrawingจากลูกค้ามาผลิต แล้วยังเข้าใจว่าเป็นผู้ผลิตโดยตรง
       ก็ฝากทำให้ถูกต้องด้วยและกัน...ฮิๆๆๆๆ 
       

ธุรกิจคนต่างด้าว#1

คิดว่าหลายๆคนคงจะทำงานกับบริษัทคนต่างด้าวแน่นอน
เออ..ก็ใช่นี่หว่า เราเป็นล่ามญี่ปุ่น ทำกับบริษัทญี่ปุ่น ไปทำกับบริษัทจีนคงแปลก!

วันนี้ที่จะพูดถึงคือเรื่องของ "การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว" 外国人事業(法)
ธุรกิจคนต่างด้าว หมายถึง บริษัทที่มีคนต่าวด้าวถือหุ้นตั้งแต่ 50%ขึ้นไป
ลองดูสิ..บริษัทเราใช่ป่าว?
*ถ้าทำธุรกิจที่ต้องได้รับอนุญาตจะต้องมีทุนจดทะเบียน(資本金)3ล้านบาทขึ้นไป

พ.ร.บการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ห้ามคนต่างด้าวทำธุรกิจที่ไม่อนญาต
บัญชี1 ห้ามด้วยเหตุผลพิเศษ   リスト1 特別な理由で許可しない
บัญชี2 ห้ามเนื่องจากเกี่ยวกับความมั่นคง เว้นแต่ได้รับอนุญาต
リスト2 国家安全の関係で許可しない。許可を得た場合を除く。
บัญชี3 ห้ามเนื่องจากคนไทยไม่พร้อมแข่งขัน เว้นแต่ได้รับอนุญาต
リスト3 タイ人が競争態勢が整っていない為、許可しない。許可を得た場合を除く。
ซึ่งในบัญชี3 จะรวมถึงธุรกิจบริการอื่นด้วย (サービス業)
 * แต่ก็มีธุรกิจบริการที่ได้รับการยกเว้น(คนต่างด้าวสามารถทำได้)
    ตามกฎกระทรวง "กำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาต"

       つづく




Friday, March 13, 2020

กินร้อนช้อนกลาง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า
รู้สึกว่ามันเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที

ทุกคนต่างตื่นตัวเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน 予防措置
หนึ่งในมาตรการ คือ กินร้อนช้อนกลาง
คำว่า "กินร้อน" หลายๆคนก็น่าจะพอหาคำศัพท์ได้
      ที่หามาได้ก็คือ 充分に加熱した料理を食べる。 ไม่รู้มีคำที่ดีกว่านี้ป่าว?
      加熱充分な料理 = อาหารปรุงสุก

แต่ที่หาในInternet ยังงัยก็ไม่เคลีย  "ช้อนกลาง"

อืม...  ในNet ก็...Central Spoonบ้าง Middle  บ้างCenterบ้าง พรั่งพรูมากันใหญ่
บางกระทู้มีให้โหวดกันเลยทีเดียวว่าจะใช้คำไหน..เออ เอาสิ

แต่พี่ก็มาเจอคำนึงที่คิดว่าน่าจะใช้  Serving Spoon   (เริ่มมีความหวังแล้ว)
แต่มันยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเพราะเราอยากรู้ภาษาญี่ปุ่น
Serch หาเลยครับ  「Serving Spoon 日本語]  ก็ไม่เจอไม่เคลีย 
สุดท้ายก็มาเจอคำนึง 給仕用スプーン (きゅうじ)เหมือนจะใช่
แต่คิดไปคิดมา วัฒนธรรมการกิน 食文化 ของเรากับญี่ปุ่นน่าจะต่างกัน

 เพื่อความแน่ใจก็เลยถึงขั้นที่ต้องถามคนญี่ปุ่น
สรุป...คนญี่ปุ่นไม่เข้าใจคำนี้ 通じない!!!!
สุดท้ายแกก็ให้คำตอบมา เป็นคำตอบสุดท้ายว่า  取り分けスプーン
แค่หาคำๆเดียวกรูจะบ้าตาย

*ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพ ป้องกันตัวเองให้ดี...โชคดี



Wednesday, March 11, 2020

物流(Logistics)#3

แถมคำศัพท์ที่น่าสนใจอื่นๆเกี่ยวกับLogistics

Demurrage Charge   超過保管料  ค่าดูแลตู้สินค้า
Detention   返却延滞料  ค่าคืนตู้สินค้าล่าช้า
Freight Prepaid   前払い運賃 ค่าขนส่งชำระต้นทาง
Freight Collect  運賃着払い ค่าขนส่งชำระปลายทาง
Port of Loading  荷積港 ท่าเรือโหลดสินค้า
Port of Discharge  荷卸港 ท่าเรือปลายทาง
Shipper   船荷主 ผู้ส่งสินค้าทางเรือ
Lashing  ラッシング การจับยึดป้องกันสินค้าล้ม (荷崩れ)
Devanning デバンニング การโหลดสินค้าออกจากตู้
Vanning バンニング การโหลดสินค้าเข้าตู้
Drayage  ドレージ การส่งสินค้าถึงที่หมายโดยตรงโดยไม่ต้อง Devanning

裏書き(する) สลักหลัง(เอกสาร)

保税倉庫 Bonded Warehouse  คลังสินค้าทัณฑ์บน
เท่าที่รู้..คือถ้าจะเปิดคลังสินค้าลักษณะนี้ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
แต่ก็จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
 1) กรณีนำเข้ามาเพื่อนำมาใช้ในประเทศ  เมื่อนำออกมาใช้แล้วค่อยจ่ายภาษีภายหลังได้
 2) กรณีนำเข้ามาเพื่อผ่านกระบวนการ และส่งออกต่อ จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า/ออก
 3) สะดวกในการจัดการ สามารถโอนย้ายไปคลังสินค้าอื่นได้

ประมาณนี้....ลองศึกษาเพิ่มเติมดู



Tuesday, March 3, 2020

物流(Logistics)#2

ต่อเลยและกัน

ใบ D/O (Delivery Order) 荷渡し指示書
จะนำไปผ่านพิธีการศุลกากร+ชำระภาษี ก่อนจะนำสินค้าออก

*บางครั้งด้วยเงื่อนไขของระยะเวลาการขนส่ง ทำให้สินค้าอาจส่งไปถึงก่อนที่ใบB/L ต้นฉบับจะไปถึง
จึงมีการทำ "Surrender B/L" ไว้ตั้งแต่ต้นทาง
โดยผู้ส่งออกประสานงานกับบริษัทเรือ(ประทับตรา/เซ็นชื่อ) เพื่อทำ Surrender B/L.....
เพื่อให้ทางฝั่งผู้นำเข้าสามารถติดต่อกับบริษัทเรือปลายทางเพื่อให้ปล่อยสินค้าได้
โดยไม่ต้องใช้ "Original B/L"


ยังมีอีกใบนึง "Sea Way Bill" ซึ่งเหมือนกับ B/Lทั่วไป แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
กล่าวคือ Consignee ที่ระบุในเอกสารเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์รับสินค้า
ซึ่งจะไม่มีเงื่อนไขเหมือนกับB/Lทั่วไปที่ต้องนำ Original B/L ไปแลกเป็นD/O เพื่อปล่อยสินค้า
เอกสารนี้มักจะใช้ประสานงานกันระหว่าง สายเรือกับ Forwarder

จบข่าว

物流(Logistics)

วันนี้จะพูดถึงเรื่องของ Logistics(物流)
จุดประเด็นตอนเป็นล่ามให้ผจก.ที่รับผิดชอบเรื่องExport/Import

มันจะมีวลีนึง " แลกดีโอ" ก็เลยเริ่มหาคำตอบ สงสัยๆๆๆๆๆๆ

Logisticจะเริ่มต้นจาก ผู้ส่งออก Exporter (輸出者) หรือเรียกว่า Shipper / Consigner (荷送人)
อีกส่วนนึงก็คือ Forwarder / Agent /  Shipping (บริษัทขนส่ง) และพวกสายเรือ Shipping Line
และส่วนสุดท้ายก็คือ ผู้นำเข้า Importer(輸入者)หรือเรียกว่า  Consignee (荷受人)

人 → トラック → 船 → トラック → 人

รถบรรทุกก็จะมารับสินค้าจากเรา เพื่อนำไปโหลดลงเรือ (船積み)
ในส่วนนี้จะมีเอกสารที่เกี่ยวข้องคือ B/L (Bill of Lading)  船荷証券 ふなにしょうけん
ลืมบอกภาษาไทย ภาษไทยเรียกว่า "ใบตราส่งสินค้า"
เป็นเอกสารที่บริษัทเรือ船会社 ふながいしゃ ออกให้กับผู้ส่งออก
ถ้าไม่มีใบ B/Lนี้ ปลายทางก็จะไม่สามารถออกสินค้าได้
ผู้ส่งออกสามารถระงับ B/L ได้ในกรณีที่ผู้นำเข้าไม่จ่ายค่าสินค้า (แม้ว่าจะถึงปลายทางแล้วก็ตาม)

*ขึ้นอยู่กับข้อตกลงทางการค้า...ผู้นำเข้าสามารถใช้เครดิตจาก L/C (Letter of Credit)信用状
เพื่อการันตีการจ่ายเงินในภายหลังได้ (ออกโดยธนาคาร)

เมื่อผู้ส่งออกอได้ B/L มาแล้วก็จะส่งให้กับผู้นำเข้า เพื่อนำไปยื่นให้กับบริษัทเรือปลายทาง
ออก "ใบปล่อยสินค้า"  
ภาษาอังกฤษเรียกว่า D/O (Delivery Order)   荷渡し指示書
นี่แหละคือพระเอกของเรา... กว่าจะปรากฏตัวออกมา
มันก็คือการนำเอาใบ B/L ไปแลกมาเป็นใบ D/O นั้นเอง

โอเค  เท่านี้ก่อน เอาไว้ติดตามตอนต่อไป5555




Monday, March 2, 2020

縁(ふち、へり)、端(はし、はた)、脇(わき)!

ริม, ขอบ คำเนี้ยภาษาญี่ปุ่นเยอะจริงๆ  งง  混乱!!!

อย่างคันจิ “縁” ออกเสียงได้ทั้ง ふち、へり
บางคำก็ดูเหมือนว่าจะใช้ ふち หรือへり ก็ได้
ขอยกตัวอย่างคำไปเลยแล้วกัน....อธิบายยาก

เช่น ขอบแก้ว ขอบหม้อ...พวกภาชนะ  หรือขอบโต๊ะ  ริมหน้าผา ก็จะใช้คำว่า ふち
  コップの縁、鍋の縁、机の縁、崖の縁 (ถ้าใช้คำว่า へりก็น่าจะได้เหมือนกัน..ไม่แน่ใจ??)

  หรือกับรูปทรงที่เป็นเฟรม4เหลี่ยม  หรือ"กรอบรูป"ก็ยังใช้คำว่า 額縁 がくぶち
        ไม่เว้นแม่แต่เบ้าตา 目の縁หรือกรอบแว่นตา眼鏡の縁 ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า ふち
        (*แต่กับ2คำนี้ เค้าจะไม่ใช้คำว่า へり)
  
ส่วนคำว่า へり น่าจะใช้กับรูปทรงแบน ผืนผ้า เสื่อ  เช่น ชายผ้า  布の縁
หรือหมายถึง กรอบหรือขอบที่ติดไว้เพื่อตกแต่งให้สวยงาม
เช่น リボンで縁(ヘリ)を付ける。


อีกคำนึง...  “端” はし มีความหมายว่า ริม, ขอบ, ปลาย(สุด)
ตัวอย่างเช่น ขอบด้านบนของเฟรม4เหลี่ยม จะใช้คำว่า  はしหรือふちก็น่าจะได้
ริมถนน 道路の端 どうろのはし    道路脇 どうろわき
(*แต่ถ้าคำนี้ 道端 ไม่ได้อ่านว่า みちばしนะ   ที่ถูกต้องคือ みちばた เออ.เริ่มงงยัง)

หรือคำว่า 部屋の端 /端っこ はしっこ สุดมุมห้อง (一番離れたところ)

หรือถ้าอยากจะเจาะจงส่วนที่เป็นมุม (มุมห้อง)  ก็ใช้คำว่า 隅、隅っこ すみっこ
ถ้าเหลี่ยมมุม ก็ใช้คำว่า 角、角っこ かどっこ