Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Friday, January 31, 2020

"แรงม้าเปรียบเทียบ"

"แรงม้าเปรียบเทียบ"  คำนี้เป็นคำที่เจอได้จากเอกสารที่จะต้องกรอกเพื่อยื่นให้กับการนิคม(IEAT)
ตอนแรกคนกรอกก็งง  เราเองก็งง??? จนต้องโทรไปสอบถามโดยตรงกับจนท.การนิคมฯกันเลยทีเดียว

ปกติถ้าเป็นเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ก็สามารถคำนวนแรงม้า 馬力จากค่าKwได้เลย

สูตร  HP = Kw / 0.746  หรือ  w / 746
      1 HP = 746w หรือ 0.746Kw

แต่เครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้กำลังไฟฟ้าโดยตรง เช่น เครื่องBoiler ที่ใช้พลังงานความร้อนจากแก๊ส
ซึ่งตัวเลลขที่คำนวนได้จะเรียกว่า "แรงม้าเปรียบเทียบ"
เดาๆเอาว่า ภาษาญี่ปุ่นก็น่าจะเรียกว่า 換算馬力 

   ถ้าใครรู้คำญี่ปุ่นที่ถูกต้อง  ก็ช่วยบอกหน่อยและกัน  ยังงงอยู่



Thursday, January 30, 2020

ยื่นประกอบกิจการ 操業許可申請

ยื่นประกอบกิจการ 操業許可申請 

   โรงงานที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรม จะทำอะไรก็แล้วแต่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก “การนิคมฯ” タイ工業団地公社ไปเสียทุกเรื่อง โดยเฉพาะโรงงานที่เข้าข่าย“EIA” 環境影響評価ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจต้องยุ่งยากที่จะต้องยื่นเรื่องไปยัง “สผ.” 天然資源環境政策計画局(ONEP)กันเลยที่เดียว   
  ก็เลยอยากจะแนะนำคำศัพท์เกี่ยวกับการยื่นขออนุญาตต่างๆในส่วนของการนิคมฯ

   1.ขอใช้ที่ดินเพื่อประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม(แบบ กนอ.01/1) --> ใบอนุญาต (กนอ.01/2)    工業団地内における商業目的の土地利用の許可申請書 --> 許可書

         2. คำขอทั่วไป(แบบกนอ.01/3)
             一般申請
    -เพิ่ม/เปลี่ยนแปลงประเภทกิจการ  業種の追加/変更
    -เปลี่ยนชื่อผู้รับแนุญาต  被許可者の変更
    -โอนสิทธิการใช้ที่ดิน 土地使用権の譲渡

   3.ขอแจ้งเริ่มประกอบอุตสาหกรรม (แบบ กนอ.03/1) --> ใบรับแจ้ง (กนอ.03/2)  
  *กรณีเปิดกิจการครั้งแรก หรือหลังจากยื่นส่วนขยาย 操業開始通知 --> 受領書

   4.ขอประกอบอุตสาหกรรม(ส่วนขยาย) (แบบ กนอ.03/3) --> ใบอนุญาต (กนอ.03/4) 操業許可(拡張)-> 許可書    
   -ก่อสร้างอาคารเพิ่ม 増築    
   -เพิ่มจำนวนเครื่องจักร 増設

   5.ขอใช้ที่ดินเพื่อประกอบกิจการฯ(ต่ออายุ更新) (แบบ กนอ.03/5) --> ใบอนุญาต (กนอ.03/6) *ต้องแนบรายการเครื่องจักรด้วย  5ปีครั้ง

         6.ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ดัดแปลง, รื้อถอน 建築許可(แบบ กนอ.02/1) --> ใบอนุญาต (กนอ.02/2)


ล่ามบริหาร (ภาค2)

เมื่อเราเอา ①売上(うりあげ) - 
⑧売上原価(うりあげげんか) 
= “กำไรขั้นต้น” ⑨粗利(あらり)

 “กำไรขั้นต้น”⑨粗利(あらり) - 
“ค่าใช้จ่ายบริหารจัดการฯ” ⑩販売管理費(はんばいかんりひ)

  ตามสูตรนี้ ⑨-⑩ = “กำไร/ขาดทุนจากการดำเนินงาน”⑪営業利益(えいぎょうりえき)
เกือบจบและ(เหนื่อย)... ⑪ +/- ⑫営業外収入・費用
= “กำไรสุทธิ” ⑬経常利益(けいじょうりえき)

 สำหรับการบริหารธุรกิจนั้น ผู้บริหารจะดูจาก 営業利益(えいぎょうりえき) เป็นหลักซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตโดยตรง เพราะว่า営業外収入・費用 จะเป็นพวกกำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน อะไรประมาณเนี้ย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตโดยตรง 

★ถ้ามีสต๊อกระหว่างเดือนมาก (สต๊อกปลายงวด มากกว่า ต้นงวด) ก็จะทำให้ “ต้นทุนขาย”ของเดือนนั้นดูน้อยลงไป  ตามตัวเลขเปรียบเทียบด้านล่าง

 ตัวอย่าง                     A                B         
    ต้นทุนการผลิต    100 +            100 +
    สต๊อกต้นงวด       100 -            100 –
    สต๊อกปลายงวด     50               150
    ต้นทุนขาย           150                 50      


   อย่างไรก็ตาม สต๊อกปลายงวดก็ยังคงอยู่ในสถานะของต้นทุนการผลิต และเมื่อสต๊อกเหล่านี้ถูกจัดส่งไปยังลูกค้า ก็จะกลายมาเป็นต้นทุนขายในเดือนถัดไป





Wednesday, January 29, 2020

新型ウイルス!


ช่วงนี้กำลังเป็นข่าว “ไวรัสโคโรน่า” !
มีคำศัพท์ที่น่าสนใจดังนี้


新型ウイルス   しんがたういるす ไวรัสสายพันธ์ใหม่
湖北省 こほくしょう มณฑล”หูเป่ย” 
武漢市 ぶかんし เมือง“อู่ฮั่น” 
感染者 かんせんしゃ ผู้ติดเชื้อ 
 肺炎 はいえん ปอดอักเสบ 
 潜伏期間 せんぷくきかん ระยะฟักตัว 
 急性呼吸器感染 きゅうせいこきゅうきかんせん ติดเชื้อทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน 
 流行/流行 りゅうこう/はやる แพร่ระบาด 
 帰国措置 きこくそち มาตรการในการรับกลับประเทศ 
 拘束 こうそく กักตัว 
 感染者スクリーニング かんせんしゃ~ คัดกรองผู้ติดเชื้อ 
 赤外線サーモグラフィ せきがいせん~ เครื่องThermoScan 
 高熱 こうねつ  มีไข้สูง



 




ล่ามบริหาร

ใครเคยมีประสบการณ์ล่ามบริหารบ้าง!

ในที่ประชุมจะรายงานกันถึงเรื่องตัวเลขผลประกอบการ งบกำไร/ขาดทุน 損益計算書(そんえきけいさんしょ) จะขออธิบายโครงสร้างในงบกำไร/ขาดทุน ให้พวกเราเข้าใจ

 ไม่ยากๆ...รายได้ - รายจ่าย = กำไร/ขาดทุน
 รายได้ก็มาจาก “ยอดขาย” ①売上(うりあげ) 
 หลักๆก็มาจากการขายสินค้า รวมถึงรายได้อื่นๆ เช่น จากการขายแม่พิมพ์  เป็นต้น 

ถัดมาก็เป็น“ต้นทุนการผลิต” ⑤製造原価(せいぞうげんか) ประกอบด้วย
 “ค่าวัตถุดิบ”②材料費(ざいりょうひ) + 
“ค่าแรง”③労務費(ろうむひ)+”
ค่าใช้จ่ายการผลิต”④製造経費(せいぞうけいひ) 
② + ③+ ④ = ⑤製造原価

 สเต๊ปถัดไป..ระหว่างเดือนที่เรามีการผลิตสินค้า สินค้าที่เราผลิตได้ ไม่ว่าจะเป็น“งานสำเร็จรูป” 完成品 หรือ “งานระหว่างกระบวนการ”仕掛品ก็ถือเป็นต้นทุนด้วยเช่นกัน เราจึงต้องนำมาคำนวณตามสูตรด้านล่างเพื่อหา "ต้นทุนขาย".....★

“ต้นทุนการผลิต” ⑤製造原価 +
  “สต๊อกWIP/FGต้นงวด” ⑥月初仕掛・完成品在庫 -
  “สต๊อกWIP/FGปลายงวด” ⑦月末仕掛・完成品在庫
   ตามสูตรนี้ ⑤+⑥-⑦ = “ต้นทุนขาย”⑧売上原価(うりあげげんか)

                                                                                                                         つづく



Tuesday, January 28, 2020

"มาตรา"

ภาษากฎหมาย คำว่า "มาตรา"
ภาษาญี่ปุ่น คือ 第~条 เราคุ้นหูกันก็อย่างเช่น  มาตรา19ทวิ = 第19条の2  / ビス19条
*ข้อย่อย จะเรียกว่า "อนุมาตรา"

ส่วนคำว่า "วรรค"   มีความหมายเดียวกับ "ย่อหน้า"นี่แหละ
แต่ภาษากฎหมายจะเรียกว่า "วรรค"   ภาษาญี่ปุ่น คือ 第~段落

กรณีที่กฎหมายในมาตรานั้นๆมีการเพิ่มเติม จะใช้คำดังต่อไปนี้แทน

(ภาษาบาลี) ทวิ, ตรี, จัตวา, เบญจ, ฉ, สัตต, อัฏฐ, นว, ทศ....................
                  Bis, Ter, Quarter, Quinque, Sex, Septum, Octo, Novem, Decem...........
                   2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10   .........เรื่อยไป มีอีกยาว

เหตุผลที่เค้าต้องทำแบบนี้ก็เพื่อ เวลาที่มีการเพิ่มเติมกฎหมาย
จะได้ไม่ต้องมาไล่แก้ไขตัวเลขมาตราทั้งหมดให้ยุ่งยาก

จบข่าว





หวย


หวยใกล้จะออกแล้ว
คำว่าหวย เราหลายๆคนน่าจะรู้จักอยู่แล้ว 宝くじ
แต่ปัญหา คือ นานนานเลยถึงจะฟลุ้กถูกซะที
ก็เลยจะเสนอคำนี้
まぐれ当り  

ส่วนคำว่า "ลุ้นหวย" ก็น่าจะใช้คำนี้ได้ ドキドキする

หัดซื้อไว้บ้าง....เออ