Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Thursday, February 20, 2020

ฝุ่น 粉塵

ฝุ่น 粉塵 
 ตอนนี้ยังคงเป็นปัญหาอยู่สำหรับประเทศไทย PM2.5 微小粒子状物質(びしょうりゅうしじょうぶっしつ) แต่ที่จะมาเล่าอะ..ไม่ใช่เรื่องนี้???

  วันนี้มีทางที่ปรึกษาเข้ามาประชุมเกี่ยวกับ EIA มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ “ระบบบำบัดมลพิษ”ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 Dust Collector ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 集塵機(しゅうじんき) ซึ่งไอเสียที่ระบายออกมาจากปล่องจะต้องมีค่ามลพิษไม่เกินจากมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งก็มีค่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้
  1. (A) ความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น 粉塵量(ふんじんりょう)濃度(のうど)มีหน่วยเป็น mg/m3
  2. (B) อัตราการไหลของอากาศ 風量(ふうりょう) (Flow Rate) มีหน่วยเป็น mg/sec.
  3. (C) ปริมาณไอเสีย 排気量(はいきりょう) มีหน่วยเป็น g/sec.
 จากสูตร (A) x (B) / 1000 = (C)

  สำหรับระบบบำบัดส่วนที่จะไปมีผลต่อ (A) ก็คือ “ถุงกรอง” バッグフィルター กล่าวคือ ถ้าถุงกรองอุดตันก็จะทำให้ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นลดลง ทำให้ความเข้มข้นของปริมาณฝุ่นเพิ่มขึ้น พร้อมกับส่งผลให้ปริมาณการไหลของอากาศ Dropลง (ปริมาณฝุ่นมากแต่ไหลออกไปได้น้อย)

  ในทางกลับกัน..ถ้าเราเปลี่ยนถุงกรองใหม่ ก็จะดักจับได้ดีขึ้น ปริมาณฝุ่นลดลง แต่การไหลของอากาศก็จะดีขึ้น ก็เท่ากับว่าอากาศที่ไหลออกจากปลายปล่องก็จะมากตามไปด้วย (ปริมาณฝุ่นน้อยแต่ไหลออกไปได้มาก) 

 *ดังนั้นที่อยากจะบอกก็คือ ค่าที่ควรให้ความสำคัญก็คือค่า (C) “ปริมาณไอเสียที่จะปล่อยไปภายนอก” แทนที่จะเป็นค่า(A),(B)  แต่เดี๋ยวก่อน....มลพิษภายในโรงงานเองก็สำคัญไม่แพ้กันนะ ไม่เช่นนั้นพนักงงานแย่แน่ 

  ซึ่งค่าควบคุมมาตรฐานของ(C) จะคำนวณตามสัดส่วนของพื้นที่(ที่ดิน)ของโรงงาน ปริมาณไอเสียของแต่ละปล่องนำมาบวกกันทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกินจากค่าควบคุมที่กำหนดข้างต้น


Friday, February 14, 2020

人事制度#จบ

ระบบประเมิน 評価制度(ひょうかせいど) หรือ(人事考課(じんじこうか) 

เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน勤務評価 ซึ่งจะมีผลกับการ ”ปรับขึ้นเงินเดือน”昇給(しょうきゅう) ของเราโดยตรงหรืออาจมีผลถึง “โบนัส”賞与(しょうよ)

 การประเมินก็น่าจะมีประมาณ 3ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. KPI 重要業績評価指標(じゅうようぎょうせきひょうかしひょう) 
2. Competency 能力
3. Attendance勤怠(出欠勤)การขาดลามาสาย

 และสุดท้าย ระบบค่าตอบแทน 報酬制度 
พูดง่ายๆก็คือ เงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อนำผลประเมินการปฏิบัติงาน ไปเชื่อมโยงกับการปรับขึ้นเงินเดือนหรือโบนัสที่จะได้รับ ตัวอย่าง:



Grade
Salary(%)
Bonus(month)
A
6%
5.0
B
5%
4.5
C
4%
4.0
D
3%
3.5
E
2%
3.0

Thursday, February 13, 2020

人事制度#3

 ต่อจากครั้งก่อน...”การจัดเกรด” 格付(かくづけ)ก็เป็นขั้นตอนหนึ่งในระบบเกรดนั้นแหละ เราคงไม่สามารถกำหนดลอยๆว่าคนนี้เกรด 3 คนนั้นเกรด5 ถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ก็คงจะตีกันตาย!

  ดังนั้นจึงมีวิธีการที่เรียกว่า “การประเมินค่างาน” 職務評価(しょくむひょうか) ซึ่งจะมีหัวข้อประเมินหลักดังนี้ (ตัวอย่าง)
     1. ความรู้ความสามารถ 知識&能力
  2. การคิดการตัดสินใจ 判断力
  3. ความรับผิดชอบ 責任  

  จะประเมินโดยการใส่คะแนนในแต่ละหัวข้อย่อย ซึ่งคะแนนรวมที่ได้ ก็คือ “ค่างาน” 職務の価値(しょくむのかち)
   จากนั้นก็นำค่างานที่ได้ ไปเทีบยดูกับช่วงคะแนนว่าแต่ละคนอยู่ในเกรดอะไร? 

  ★แต่สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ “การประเมินค่างาน”เนี่ย มันเป็นเพียงเครื่องมือ ที่คิดขึ้นมาเพื่อนำมาใช้สนับสนุนความรู้สึก มีหลักเกณฑ์ให้สามารถอธิบาย ที่ไปที่มาได้เฉยๆ เพราะผู้ประเมินน่าจะใช้ความรู้สึกของตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่

 อย่างล่าม เงินเดือนอย่างสูง..แต่ค่างานโคตรต่ำ ตูงงงงงงงง!!!!!  つづく

 

Tuesday, February 11, 2020

人事制度#2

ต่อจากครั้งที่แล้ว จะขออธิบายต่อในแต่ละข้อ เริ่มจาก...
ระบบเกรด 等級制度(とうきゅうせいど) 

  ก็เหมือนกับระบบราชการ C1 C2 C3…. สำหรับริษัทก็อาจจะเรียกเป็น G1 G2 G3 อะไรก็ว่าไป ซึ่งในแต่ละเกรดนั้นก็จะมีการกำหนด “ช่วงเงินเดือน” 賃金(ちんぎん)レンジ หรือเรียกว่า “กระบอกเงินเดือน” มีค่า Min/Max
   เงินเดือนจะถูกปรับขึ้นทุกๆปี เมื่อไปถึงค่าMax เมื่อไหร่ และถ้าเราไม่มีความสามารถพอ ไม่เข้าเงื่อนไข หรือไม่สามารถที่จะ “เลื่อนเกรด” ได้昇格(しょうかく) เงินเดือนก็จะตัน/ชนเพดาน ก็จะไม่ได้ปรับขึ้นเงินเดือนตาม% ที่ควรจะเป็น

 ★ที่สำคัญคือ การเลื่อนเกรดนั้น ควรจะต้องมีเงื่อนไขและระเบียบที่ชัดเจน และต้องอาศัยการผลักดันจากหัวหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ลูกน้องของตนเองพัฒนาการทำงานให้สามารถเลื่อนเกรดไปได้ อ่านแล้วอย่างเพิ่งเครียด ขอจบเท่านี้ก่อน ไว้ต่อบทความหน้า ฮิๆๆ   つづく

Monday, February 10, 2020

人事制度

ระบบงานบุคคล 

  เมื่อประมาณ 2-3ปีที่แล้ว บริษัทมีความพยายามที่จะนำระบบงานบุคคลใหม่มาใช้ จริงๆแล้วก็ไม่ได้ใหม่อะไร เพียงแต่บริษัทเก่าเองและยังไม่ได้นำระบบที่เป็นสากลมาใช้

   แนวคิดก็คือ ต้องการให้เกิดความแตกต่างระหว่างคนที่ตั้งใจทำงานกับคนที่ไม่ตั้งใจทำงาน คนที่ตั้งใจก็จะเกิด Motivation พัฒนาตนเองและบริษัทให้ดียิ่งๆขึ้นไป “ระบบงานบุคคล” 人事制度(じんじせいど) จะแบ่งเป็น 3ส่วนหลัก
  1. ระบบเกรด 等級制度(とうきゅうせいど)
  2. ระบบประเมิน 評価制度(ひょうかせいど)
   3. ระบบค่าตอบแทน 報酬制度(ほうしゅうせいど)
                             つづく

Tuesday, February 4, 2020

Lean Thinking (ต่อ)

ส่วนวิธีการที่จะขจัดความสูญเปล่า จะใช้หลักการ ECRS (อะไรๆก็ตัวย่อตลอด)
ตามนี้เลย
E = Eliminate   กำจัด   排除
C = Combine รวมกัน 結合/分離
R =Rearrange จัดลำดับใหม่ 入れ替え
S = Simplify ทำให้ง่าย 簡素化

หลักการพวกนี้ก็สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงProcessการทำงานได้


Lean Thinking

"Lean Thinking" คุ้นๆมั้ยคำนี้ แปลแบบง่ายๆเลยนะ  無駄のない考え方
คือ แนวคิดที่จะขจัดความสูญเปล่า ขั้นตอนการทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า 価値を生まない
เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีต้นทุนที่น้อย

ความสูญเปล่าในที่นี้มีทั้งหมด 8ข้อ เรียกว่า 8 Waste (DOWNTIME)
1.D = Defect   不良、手直し
2.O = Over-Production   造りすぎ
3.W = Waiting  手待ち
4.N = Non-Utilized Idea  知恵を活用しない (ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์)
5.T = Transport  運搬 (ขนย้ายบ่อย)
6.I = Inventory  在庫
7.M = Motion 動作
8.E = Excess Processing 加工 (ขั้นตอนเยอะ)