Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Thursday, February 20, 2020

ฝุ่น 粉塵

ฝุ่น 粉塵 
 ตอนนี้ยังคงเป็นปัญหาอยู่สำหรับประเทศไทย PM2.5 微小粒子状物質(びしょうりゅうしじょうぶっしつ) แต่ที่จะมาเล่าอะ..ไม่ใช่เรื่องนี้???

  วันนี้มีทางที่ปรึกษาเข้ามาประชุมเกี่ยวกับ EIA มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ “ระบบบำบัดมลพิษ”ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 Dust Collector ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 集塵機(しゅうじんき) ซึ่งไอเสียที่ระบายออกมาจากปล่องจะต้องมีค่ามลพิษไม่เกินจากมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งก็มีค่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้
  1. (A) ความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น 粉塵量(ふんじんりょう)濃度(のうど)มีหน่วยเป็น mg/m3
  2. (B) อัตราการไหลของอากาศ 風量(ふうりょう) (Flow Rate) มีหน่วยเป็น mg/sec.
  3. (C) ปริมาณไอเสีย 排気量(はいきりょう) มีหน่วยเป็น g/sec.
 จากสูตร (A) x (B) / 1000 = (C)

  สำหรับระบบบำบัดส่วนที่จะไปมีผลต่อ (A) ก็คือ “ถุงกรอง” バッグフィルター กล่าวคือ ถ้าถุงกรองอุดตันก็จะทำให้ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นลดลง ทำให้ความเข้มข้นของปริมาณฝุ่นเพิ่มขึ้น พร้อมกับส่งผลให้ปริมาณการไหลของอากาศ Dropลง (ปริมาณฝุ่นมากแต่ไหลออกไปได้น้อย)

  ในทางกลับกัน..ถ้าเราเปลี่ยนถุงกรองใหม่ ก็จะดักจับได้ดีขึ้น ปริมาณฝุ่นลดลง แต่การไหลของอากาศก็จะดีขึ้น ก็เท่ากับว่าอากาศที่ไหลออกจากปลายปล่องก็จะมากตามไปด้วย (ปริมาณฝุ่นน้อยแต่ไหลออกไปได้มาก) 

 *ดังนั้นที่อยากจะบอกก็คือ ค่าที่ควรให้ความสำคัญก็คือค่า (C) “ปริมาณไอเสียที่จะปล่อยไปภายนอก” แทนที่จะเป็นค่า(A),(B)  แต่เดี๋ยวก่อน....มลพิษภายในโรงงานเองก็สำคัญไม่แพ้กันนะ ไม่เช่นนั้นพนักงงานแย่แน่ 

  ซึ่งค่าควบคุมมาตรฐานของ(C) จะคำนวณตามสัดส่วนของพื้นที่(ที่ดิน)ของโรงงาน ปริมาณไอเสียของแต่ละปล่องนำมาบวกกันทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกินจากค่าควบคุมที่กำหนดข้างต้น


No comments:

Post a Comment