Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Monday, June 29, 2020

没収/押収との違い

สวัสดีทุกคน
เรื่องที่นำมาเขียน..ก็ยังคงเป็นเรื่องของกฎหมาย  ไม่รู้เบื่อกันยัง
จากบทความที่แล้ว มันชวนให้สงสัยระหว่างคำว่า 没収/押収
ก็เลยตรวจสอบมาให้

อย่างที่บอกไป 没収 แปลว่า "ริบทรัพย์"  เป็นโทษอย่างนึงในคดีอาญา
ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกริบจะตกเป็นของแผ่นดิน

ส่วน押収 แปลว่า "ยึดทรัพย์" เป็นการบังคับคดีทางแพ่ง(民事執行)
เช่นศาลสั่งให้ยึดทรัพย์ เพื่อนำไปขายทอดตลาดและชำระหนี้
หรือใช้กับการยึดของกลาง(証拠物件)จากการตรวจค้น(捜索)ของทางตำรวจ

และอีกคำนึงที่หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าต่างกันยังงัย  คำว่า "อายัด"
ภาษาญี่ปุ่นคือ 凍結 หมายถึง ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินหรือสิทธิใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน
แต่ไม่ถึงกับยึด

จบข่าว


ฟ้องศาล#3

สำหรับโทษในคดีอาญา(刑事罰) มี 5ขั้นดังต่อไปนี้

1. โทษประหารชีวิต   死刑
2. โทษจำคุก  懲役/禁固刑 (เรื่อนจำ)      (จำคุกตลอดชีวิต  終身刑)
3. กักขัง   拘留 (โรงพัก)
4. โทษปรับ  罰金刑  / เปรียบเทียบปรับ 科料
5. ริบทรัพย์  没収

อย่างไรก็ตามในชั้นศาล...เค้าจะมีขั้นตอนของการไกล่เกลี่ย  (調停/仲裁)ถ้ายอมความกันได้ก็ถือว่ายุติข้อพิพาท (紛争解決)

*ข้อเสริมอีกนิดนึง..ระหว่างคำว่า 懲役/禁固
ในกฏหมายญี่ปุ่นจะแตกต่างกันในเรื่องของการใช้แรงงานนักโทษ(囚人の労働)
  懲役 ใช้แรงงาน 
       禁固 ไม่ได้ใช้แรงงาน
  แต่กฎหมายไทยไม่แน่ใจว่าเค้ามีแบ่งแยกแบบนี้รึป่าว???

อ่านแล้วก็อย่าไปมีเรื่องมีราวกับใครเป็นดีที่สุด    ตายเปล่า...เราอะ555





Wednesday, June 24, 2020

ฟ้องศาล#2


ศาลก็จะประกอบไปด้วย  ศาลเจ้าที่ ศาลพระภูมิ เอ้ย! ..ไม่ใช่
ที่จะพูดถึงในที่นี้ก็คือศาลยุติธรรม (司法裁判所)จะมี3ขั้นเรียกว่า 三審制 คือ
1. ศาลชั้นต้น   第一審裁判所 
2.ศาลอุธรณ์    控訴裁判所
3. ศาลฎีกา 最高裁判所

 หลังจากการแถลงคำตัดสินของศาลชั้นต้น ถ้าไม่พอใจในคำตัดสิน 
เราสามารถยื่นอุธรณ์ต่อไปได้จนไปถึงศาลฎีกา ซึ่งศาลอาจยืนคำตัดสินเดิมหรือยกเลิกคำตัดสินเดิมซึ่งอยู่กับดุลพินิจของศาล

判決言い渡し    はんけついいわたし  พิพากษา
不服     ふふく    ไม่พอใจคำตัดสิน
控訴(する)   こうそ    ยื่นอุธรณ์
上告(する) じょうこく  ยื่นฎีกา
原判決の維持 げんはんけつのいじ ยืนคำตัดสินเดิม
原判決の破棄 げんはんけつのはき ยกเลิกคำตัดสิน



                    つづく

Friday, April 24, 2020

ฟ้องศาล#1

เมื่อมีผู้เสียหาย ก็มักจะมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นตามมา

ซึ่งจะเริ่มจากการที่ผู้เสียหายไปแจ้งความ   จากนั้นก็เป็นเรื่องของทางตำรวจที่จะทำการสืบสวน สอบปากคำ หาพยานหลักฐานและสรุปสำนวนคดีส่งให้กับอัยการ เพื่อให้อัยการพิจาณาว่าจะสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้อง

เหตุผลที่จะสั่งไม่ฟ้อง คือ
 1. ไม่เข้าข่ายต้องสงสัย  嫌疑なし  
 2. หลักฐานไม่เพียงพอ  証拠不十分 
 3. ยกฟ้อง  起訴猶予 มีหลักฐานยืนยันการกระทำความผิดแต่เป็นเพียงลหุโทษหรือทั้งสองฝ่ายยอมความกันได้

กรณีที่สั่งฟ้อง ผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัยก็จะตกเป็นจำเลย และเข้าสู่กระบวนการต่อสู่ในชั้นศาล มีการสืบพยาน ซักค้านพยานฝ่ายโจทย์ และศาลตัดสินในที่สุด

สำหรับคดีอาญานั้น..ผู้เสียหายสามารถเป็นโจทย์ฟ้องต่อศาลได้โดยตรง  แต่เพื่อความยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย ศาลจะให้มีการไต่สวนมูลฟ้องก่อน (ยังไม่ตกเป็นจำเลย)ถ้าไม่มีมูลก็ยกฟ้อง ถ้ามีมูล..ศาลจะมีคำสั่งประทับฟ้องและเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาคดีต่อไป

คำศัพท์:
訴訟事件 そしょうじけん คดีฟ้องร้อง
被害者 ひがいしゃ ผู้เสียหาย
被害届け ひがいとどけ แจ้งความ(ลงบันทึกประจำวัน)
告訴 こくそ แจ้งความ(ดำเนินคดี)
証拠立てる しょうこだてる หาพยานหลักฐาน
容疑者  ようぎしゃ ผู้ต้องหา (ผู้ที่ถูกฟ้องร้องโดยตรง)
被疑者 ひぎしゃ ผู้ต้องสงสัย (ผู้ที่ถูกซักทอด)
原告 げんこく โจทย์
被告 ひこく จำเลย
提訴 ていそ ฟ้องศาล
捜査    そうさ สืบสวน
供述  きょうじゅつ คำให้การ
供述調書  きょうじゅつちょうしょ สำนวนการสอบสวน
尋問調書 じんもんちょうしょ สำนวนการสอบปากคำ
起訴            きそ  สั่งฟ้อง
不起訴  ふきそ สั่งไม่ฟ้อง
軽罪    けいざい ลหุโทษ
示談   じだん ยอมความ
法廷闘争 ほうていとうそう ต่อสู่ในชั้นศาล
証人尋問 しょうにんじんもん สืบพยาน
原告側の証人への反対尋問 ซักค้านพยานฝ่ายโจทย์
予備審問 よびしんもん ไต่สวนมูลฟ้อง
事実無根 じじつむこん ไม่มีมูล
判決  はんけつ ตัดสินคดี
                                                                  つづく



ตกเป็นพับ

ตกเป็นพับ เป็นภาษากฎหมาย
เช่นในประโยค..."ค่าฤชาธรรมเนียมให้ตกเป็นพับ"

ค่าฤชาธรรมเนียม หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินคดี  裁判費用、訴訟費用
ให้ตกเป็นพับ ก็หมายถึง ให้ตกเป็นของแผ่นดิน  (物の所有権を国庫に帰属させる)

แบ่งได้ 3กรณีตามคำตัดสินของศาล
1. กรณีที่โจทย์แพ้คดี(敗訴) ค่าฤชาฯที่โจทย์ได้จ่ายไป ศาลจะสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน

2. กรณีที่โจทย์ชนะคดี( 勝訴)ศาลก็จะสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินเหมือนกัน  เพียงแต่ศาลจะสั่งเพิ่มเติมให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้แก่โจทย์

3. หรือกรณีที่ค่าฤชาฯไม่ได้เป็นจำนวนเงินที่มากมายอะไร ศาลอาจสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินไปเลย โดยไม่ได้สั่งให้จำเลยชดใช้แต่อย่างใด

*ในภาษาญี่ปุ่นก็จะพูดว่า อย่างเช่น 裁判費用は被告の負担とする。 ซึ่งก็จะเจาะจงไปเลยว่าเป็นภาระของใคร
ไม่แน่ใจเหมือนกัน..ลองศึกษาเพิ่มเติมดู???



Tuesday, April 21, 2020

วันนี้วันพระ#2

ไหนๆก็ไหนๆ  ขอพูดถึงวันสำคัญทางศาสนาไปด้วยเลยแล้วกัน
วันสำคัญเหล่านี้จะเป็นไปตามปฏิทินจันทรคติ  陰暦(いんれき)
เดือน ธ.ค จะเรียกว่า เดือนอ้าย   ม.ค เรียกว่า เดือนยี่   ก.พ เรียกว่า เดือน3  ...........

1. วันมาฆบูชา   万仏説 まんぶっせつ 
    ขึ้น 15ค่ำ เดือน3    陰暦3月15日満月
 พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฏิโมกข์   仏陀が戒律(かいりつ)を説いた。

2. วันวิสาขบูชา 仏誕節  ぶつだんせつ
 ขึ้น 15ค่ำ เดือน6    陰暦6月15日満月
 พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน    仏陀の誕生、悟り(さとり)、入滅

3. วันอาสาฬหบูชา  三宝節 さんぽうせつ 
    ขึ้น 15ค่ำ เดือน8    陰暦8月15日満月
 พระรัตนตรัยครบองค์3 พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  仏・法・僧

4. วันเข้าพรรษา  入安居  いりあんご  
แรม 1ค่ำ เดือน8 - ขึ้น 15ค่ำ เดือน11 (3เดือน) 陰暦8月1日下弦~11月15日満月

5. วันออกพรรษา  出安居 であんご

ประมาณนี้และกัน