ใบสำคัญ 伝票
เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการค้าขายระหว่างกัน มีดังต่อไปนี้
1. ใบเสนอราคา 見積書 (Quotation)
ระบุราคา ระยะเวลาการส่งของ เงื่อนไขการซื้อขาย/การชำระเงินฯลฯ
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง 見積依頼書 ใบขอเสนอราคา (RFQ; Request for Quotation)
相見積 เทียบราคา
2.ใบสั่งซื้อ 注文書 (PO;Purchase Order)
ระบุจำนวนที่จะสั่งซื้อ กำหนดวันส่งของ และเงื่อนไขอื่นๆตามใบเสนอราคา
(ภายในบริษัทเอง..ก่อนหน้าใบPO ก็จะมี "ใบขอซื้อ 購入依頼書" PR; Purchasing Request
หรือถ้ามีจำนวนเงินสูงๆ ก็อาจกำหนดให้ออก "ใบApplication" 決裁書 けっさいしょ
3.ใบส่งสินค้า 納品書、送り状 (Delivery Order/Note)
เป็นหลักฐานว่าได้มีการส่งของ และอีกฝ่ายมีการเซ็นรับของไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
คนส่งของเก็บตัวจริง สาวนสำเนาจะให้ไว้กับผู้รับของ
เพิ่มเติม:ใบส่งสินค้าชั่วคราว 仮伝票
4.ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) ถามคนญี่ปุ่นและ... ภาษาญี่ปุ่นไม่มีเรียก
เพราะว่าของญี่ปุ่น..ประมาณว่าเค้าจะระบุยอดภาษีไว้ใน Invoice ใบเดียวเลย
ระบุภาษีVAT จากการขายสินค้า
*ผู้ขายสินค้ามีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี
5. หนังสือรับรองการหักณ.ที่จ่าย 源泉徴収票 (Withholding Tax Certificate)
ระบุภาษีเงินได้หักณ.ที่จ่าย ผู้ซื้อสินค้ามีหน้าที่ต้องออกใบนี้ให้กับผู้ขาย
เพื่อที่จะนำเงินภาษีที่หักส่งให้กับสรรพกร
*ซึ่งส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับภาษีนิติบุคคล 法人税
6.ใบเรียกเก็บเงิน/ใบแจ้งหนี้ 請求書(Invoice)
ความหมายตรงตัวตามนั้นเลย
*ปกติใบสำคัญข้อ (3),(4),(6) จะแนบไปพร้อมกันที่เดียวเลยตอนส่งสินค้า
7. ใบวางบิล 請求一覧表 (Billing Note)
ในหนึ่งเดือนอาจมีการส่งสินค้าหลายครั้ง ถ้าทะยอยเรียกเก็บเงินเป็นครั้งๆไปมันก็จะยุงยาก
ก็เลยใช้ใบสำคัญนี้ในการรวมยอดเงินและแจ้งยอดที่จะชำระรวมไปเลย
ด้านการจัดการ...ลูกค้าเค้าก็จะมีการกำหนดว่าจะต้องมาวางบิลภายในวันที่เท่าไหร่
8. ใบเสร็จรับเงิน 領収書(Receipt)
สุดท้ายเมื่อผู้ซื้อสินค้าชำระเงินแล้ว ผู้ขายก็มีหน้าที่ออกใบเสร็จให้
ผู้ขายจะเก็บสำเนา ส่วนตัวจริงก็จะให้ไว้กับผู้ซื้อ
ล่ามญี่ปุ่น LamYeepun (日本語通訳) มะ..มาช่วยกันแชร์ภาษาญี่ปุ่น 《ผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ณ.ที่นี้ด้วย》
Main menu
dropdown
low-column
Friday, February 21, 2020
精度
精度 คำนี้ถ้เป็นล่ามในโรงงานก็คงจะได้ยินบ่อย
อย่างเช่น 機械の精度 หรือ 棚卸の精度
แล้วก็จะมีประเด็นตามมาว่า "เราจะต้องปรับปรุง 精度を上げないといけない。
ซึ่งหลายๆคนก็อาจจะยังสับสน ระหว่างคำว่า "ความเที่ยงตรง" กับ "ความแม่นยำ"
精度 "ความเที่ยงตรง" ภาษาอังกฤษ คือ Precision
เปรียบกับการยิงเป้าก็คือ ยิงได้ตรงจุดเดิมๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ตรงจุดกึ่งกลาง
อย่างนี้จะเรียกว่า มีความเที่ยงตรงแต่ขาดความแม่นยำ
正確度 "ความแม่นยำ" ภาษาอังกฤษ คือ Accuracy
คือยิงได้ตรงหรือใกล้เคียงกับจุดกึ่งกลาง ยิงแต่ละครั้งยังค่อนข้างกระจัดกระจาย
แม่นยำแต่ขาดความเที่ยงตรง
จบข่าว
อย่างเช่น 機械の精度 หรือ 棚卸の精度
แล้วก็จะมีประเด็นตามมาว่า "เราจะต้องปรับปรุง 精度を上げないといけない。
ซึ่งหลายๆคนก็อาจจะยังสับสน ระหว่างคำว่า "ความเที่ยงตรง" กับ "ความแม่นยำ"
精度 "ความเที่ยงตรง" ภาษาอังกฤษ คือ Precision
เปรียบกับการยิงเป้าก็คือ ยิงได้ตรงจุดเดิมๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ตรงจุดกึ่งกลาง
อย่างนี้จะเรียกว่า มีความเที่ยงตรงแต่ขาดความแม่นยำ
正確度 "ความแม่นยำ" ภาษาอังกฤษ คือ Accuracy
คือยิงได้ตรงหรือใกล้เคียงกับจุดกึ่งกลาง ยิงแต่ละครั้งยังค่อนข้างกระจัดกระจาย
แม่นยำแต่ขาดความเที่ยงตรง
จบข่าว
VAT 付加価値税
VAT ชื่อเต็มๆก็คือ Value Added Tax ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 付加価値税
แต่ที่ญี่ปุ่นก็จะเข้าใจกันในความหมายของคำว่า 消費税 ภาษีบริโภค...อะไรประมาณนี้
ที่ญี่ปุ่นตอนนี้ก็น่าจะ10%แล้วมั้ง เมื่อก่อนแค่5%เอง
สำหรับในประเทศไทยบริษัทที่มีรายได้ต่อปีเกิน 1.8ล้านบาท
กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เริ่มจากภาษีขาย หรือ VATขาย (売上税/売掛けVAT)
เป็นส่วนที่ผู้ขายเก็บจากผู้ซื้อเมื่อมีการขายสินค้า
ส่วนภาษีซื้อ หรือ VATซื้อ (仕入れ税/買掛けVAT)
เป็นส่วนที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กับผู้ขายเมื่อมีการซื้อสินค้า
ผู้ประกอบการจะต้องสรุปยอดภาษีซื้อและภาษีขาย
หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ก็มีสิทธิ์ที่จะขอคืนภาษีในส่วนที่เกินนั้น
หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ก็มีหน้าที่จะต้องนำส่งภาษี(納税)ในส่วนที่เกินนั้น
*การดำเนินธุรกิจทั่วๆไป ภาษีขายมักจะมีมากกว่าภาษีซื้อ
พูดง่ายๆก็คือ ถ้าบริษัทที่มีกำไรก็ควรจ่ายภาษีให้กับรัฐมากหน่อย
ยกเว้นบางบริษัท..ติดลบทั้งชาติ 永遠 赤字!!!
ส่วนบริษัทที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่จำเป็นต้องจดVAT
แต่ก็จะเสียเปรียบเวลาซื้อของที่เราต้องจ่ายเงินรวมVATไปด้วย
แต่เราก็สามารถนำภาระภาษีส่วนนี้มาบวกเป็นต้นทุนและกำหนดเป็นราคาขายได้
แต่ก็อีกแหละ พอบวกไปแล้วราคาขายก็จะสูง เสียเปรียบคู่แข่งได้
เฮ้อ..นอนอยู่บ้านเฉยๆดีกว่า 5555
แต่ที่ญี่ปุ่นก็จะเข้าใจกันในความหมายของคำว่า 消費税 ภาษีบริโภค...อะไรประมาณนี้
ที่ญี่ปุ่นตอนนี้ก็น่าจะ10%แล้วมั้ง เมื่อก่อนแค่5%เอง
สำหรับในประเทศไทยบริษัทที่มีรายได้ต่อปีเกิน 1.8ล้านบาท
กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เริ่มจากภาษีขาย หรือ VATขาย (売上税/売掛けVAT)
เป็นส่วนที่ผู้ขายเก็บจากผู้ซื้อเมื่อมีการขายสินค้า
ส่วนภาษีซื้อ หรือ VATซื้อ (仕入れ税/買掛けVAT)
เป็นส่วนที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กับผู้ขายเมื่อมีการซื้อสินค้า
ผู้ประกอบการจะต้องสรุปยอดภาษีซื้อและภาษีขาย
หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ก็มีสิทธิ์ที่จะขอคืนภาษีในส่วนที่เกินนั้น
หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ก็มีหน้าที่จะต้องนำส่งภาษี(納税)ในส่วนที่เกินนั้น
*การดำเนินธุรกิจทั่วๆไป ภาษีขายมักจะมีมากกว่าภาษีซื้อ
พูดง่ายๆก็คือ ถ้าบริษัทที่มีกำไรก็ควรจ่ายภาษีให้กับรัฐมากหน่อย
ยกเว้นบางบริษัท..ติดลบทั้งชาติ 永遠 赤字!!!
ส่วนบริษัทที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่จำเป็นต้องจดVAT
แต่ก็จะเสียเปรียบเวลาซื้อของที่เราต้องจ่ายเงินรวมVATไปด้วย
แต่เราก็สามารถนำภาระภาษีส่วนนี้มาบวกเป็นต้นทุนและกำหนดเป็นราคาขายได้
แต่ก็อีกแหละ พอบวกไปแล้วราคาขายก็จะสูง เสียเปรียบคู่แข่งได้
เฮ้อ..นอนอยู่บ้านเฉยๆดีกว่า 5555
Thursday, February 20, 2020
ฝุ่น 粉塵
ฝุ่น 粉塵
ตอนนี้ยังคงเป็นปัญหาอยู่สำหรับประเทศไทย PM2.5 微小粒子状物質(びしょうりゅうしじょうぶっしつ) แต่ที่จะมาเล่าอะ..ไม่ใช่เรื่องนี้???
วันนี้มีทางที่ปรึกษาเข้ามาประชุมเกี่ยวกับ EIA มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ “ระบบบำบัดมลพิษ”ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Dust Collector ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 集塵機(しゅうじんき) ซึ่งไอเสียที่ระบายออกมาจากปล่องจะต้องมีค่ามลพิษไม่เกินจากมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งก็มีค่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้
1. (A) ความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น 粉塵量(ふんじんりょう)濃度(のうど)มีหน่วยเป็น mg/m3
2. (B) อัตราการไหลของอากาศ 風量(ふうりょう) (Flow Rate) มีหน่วยเป็น mg/sec.
3. (C) ปริมาณไอเสีย 排気量(はいきりょう) มีหน่วยเป็น g/sec.
จากสูตร (A) x (B) / 1000 = (C)
สำหรับระบบบำบัดส่วนที่จะไปมีผลต่อ (A) ก็คือ “ถุงกรอง” バッグフィルター กล่าวคือ ถ้าถุงกรองอุดตันก็จะทำให้ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นลดลง ทำให้ความเข้มข้นของปริมาณฝุ่นเพิ่มขึ้น พร้อมกับส่งผลให้ปริมาณการไหลของอากาศ Dropลง (ปริมาณฝุ่นมากแต่ไหลออกไปได้น้อย)
ในทางกลับกัน..ถ้าเราเปลี่ยนถุงกรองใหม่ ก็จะดักจับได้ดีขึ้น ปริมาณฝุ่นลดลง แต่การไหลของอากาศก็จะดีขึ้น ก็เท่ากับว่าอากาศที่ไหลออกจากปลายปล่องก็จะมากตามไปด้วย (ปริมาณฝุ่นน้อยแต่ไหลออกไปได้มาก)
*ดังนั้นที่อยากจะบอกก็คือ ค่าที่ควรให้ความสำคัญก็คือค่า (C) “ปริมาณไอเสียที่จะปล่อยไปภายนอก” แทนที่จะเป็นค่า(A),(B) แต่เดี๋ยวก่อน....มลพิษภายในโรงงานเองก็สำคัญไม่แพ้กันนะ ไม่เช่นนั้นพนักงงานแย่แน่
ซึ่งค่าควบคุมมาตรฐานของ(C) จะคำนวณตามสัดส่วนของพื้นที่(ที่ดิน)ของโรงงาน ปริมาณไอเสียของแต่ละปล่องนำมาบวกกันทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกินจากค่าควบคุมที่กำหนดข้างต้น
ตอนนี้ยังคงเป็นปัญหาอยู่สำหรับประเทศไทย PM2.5 微小粒子状物質(びしょうりゅうしじょうぶっしつ) แต่ที่จะมาเล่าอะ..ไม่ใช่เรื่องนี้???
วันนี้มีทางที่ปรึกษาเข้ามาประชุมเกี่ยวกับ EIA มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ “ระบบบำบัดมลพิษ”ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Dust Collector ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 集塵機(しゅうじんき) ซึ่งไอเสียที่ระบายออกมาจากปล่องจะต้องมีค่ามลพิษไม่เกินจากมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งก็มีค่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้
1. (A) ความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น 粉塵量(ふんじんりょう)濃度(のうど)มีหน่วยเป็น mg/m3
2. (B) อัตราการไหลของอากาศ 風量(ふうりょう) (Flow Rate) มีหน่วยเป็น mg/sec.
3. (C) ปริมาณไอเสีย 排気量(はいきりょう) มีหน่วยเป็น g/sec.
จากสูตร (A) x (B) / 1000 = (C)
สำหรับระบบบำบัดส่วนที่จะไปมีผลต่อ (A) ก็คือ “ถุงกรอง” バッグフィルター กล่าวคือ ถ้าถุงกรองอุดตันก็จะทำให้ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นลดลง ทำให้ความเข้มข้นของปริมาณฝุ่นเพิ่มขึ้น พร้อมกับส่งผลให้ปริมาณการไหลของอากาศ Dropลง (ปริมาณฝุ่นมากแต่ไหลออกไปได้น้อย)
ในทางกลับกัน..ถ้าเราเปลี่ยนถุงกรองใหม่ ก็จะดักจับได้ดีขึ้น ปริมาณฝุ่นลดลง แต่การไหลของอากาศก็จะดีขึ้น ก็เท่ากับว่าอากาศที่ไหลออกจากปลายปล่องก็จะมากตามไปด้วย (ปริมาณฝุ่นน้อยแต่ไหลออกไปได้มาก)
*ดังนั้นที่อยากจะบอกก็คือ ค่าที่ควรให้ความสำคัญก็คือค่า (C) “ปริมาณไอเสียที่จะปล่อยไปภายนอก” แทนที่จะเป็นค่า(A),(B) แต่เดี๋ยวก่อน....มลพิษภายในโรงงานเองก็สำคัญไม่แพ้กันนะ ไม่เช่นนั้นพนักงงานแย่แน่
ซึ่งค่าควบคุมมาตรฐานของ(C) จะคำนวณตามสัดส่วนของพื้นที่(ที่ดิน)ของโรงงาน ปริมาณไอเสียของแต่ละปล่องนำมาบวกกันทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกินจากค่าควบคุมที่กำหนดข้างต้น
Friday, February 14, 2020
人事制度#จบ
ระบบประเมิน 評価制度(ひょうかせいど) หรือ(人事考課(じんじこうか)
เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน勤務評価 ซึ่งจะมีผลกับการ ”ปรับขึ้นเงินเดือน”昇給(しょうきゅう) ของเราโดยตรงหรืออาจมีผลถึง “โบนัส”賞与(しょうよ)
การประเมินก็น่าจะมีประมาณ 3ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. KPI 重要業績評価指標(じゅうようぎょうせきひょうかしひょう)
2. Competency 能力
3. Attendance勤怠(出欠勤)การขาดลามาสาย
และสุดท้าย ระบบค่าตอบแทน 報酬制度
พูดง่ายๆก็คือ เงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อนำผลประเมินการปฏิบัติงาน ไปเชื่อมโยงกับการปรับขึ้นเงินเดือนหรือโบนัสที่จะได้รับ ตัวอย่าง:
เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน勤務評価 ซึ่งจะมีผลกับการ ”ปรับขึ้นเงินเดือน”昇給(しょうきゅう) ของเราโดยตรงหรืออาจมีผลถึง “โบนัส”賞与(しょうよ)
การประเมินก็น่าจะมีประมาณ 3ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. KPI 重要業績評価指標(じゅうようぎょうせきひょうかしひょう)
2. Competency 能力
3. Attendance勤怠(出欠勤)การขาดลามาสาย
และสุดท้าย ระบบค่าตอบแทน 報酬制度
พูดง่ายๆก็คือ เงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อนำผลประเมินการปฏิบัติงาน ไปเชื่อมโยงกับการปรับขึ้นเงินเดือนหรือโบนัสที่จะได้รับ ตัวอย่าง:
Grade
|
Salary(%)
|
Bonus(month)
|
A
|
6%
|
5.0
|
B
|
5%
|
4.5
|
C
|
4%
|
4.0
|
D
|
3%
|
3.5
|
E
|
2%
|
3.0
|
Thursday, February 13, 2020
人事制度#3
ต่อจากครั้งก่อน...”การจัดเกรด” 格付(かくづけ)ก็เป็นขั้นตอนหนึ่งในระบบเกรดนั้นแหละ
เราคงไม่สามารถกำหนดลอยๆว่าคนนี้เกรด 3 คนนั้นเกรด5 ถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ก็คงจะตีกันตาย!
ดังนั้นจึงมีวิธีการที่เรียกว่า “การประเมินค่างาน” 職務評価(しょくむひょうか) ซึ่งจะมีหัวข้อประเมินหลักดังนี้ (ตัวอย่าง)
1. ความรู้ความสามารถ 知識&能力
2. การคิดการตัดสินใจ 判断力
3. ความรับผิดชอบ 責任
จะประเมินโดยการใส่คะแนนในแต่ละหัวข้อย่อย ซึ่งคะแนนรวมที่ได้ ก็คือ “ค่างาน” 職務の価値(しょくむのかち)
จากนั้นก็นำค่างานที่ได้ ไปเทีบยดูกับช่วงคะแนนว่าแต่ละคนอยู่ในเกรดอะไร?
★แต่สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ “การประเมินค่างาน”เนี่ย มันเป็นเพียงเครื่องมือ ที่คิดขึ้นมาเพื่อนำมาใช้สนับสนุนความรู้สึก มีหลักเกณฑ์ให้สามารถอธิบาย ที่ไปที่มาได้เฉยๆ เพราะผู้ประเมินน่าจะใช้ความรู้สึกของตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่
อย่างล่าม เงินเดือนอย่างสูง..แต่ค่างานโคตรต่ำ ตูงงงงงงงง!!!!! つづく
ดังนั้นจึงมีวิธีการที่เรียกว่า “การประเมินค่างาน” 職務評価(しょくむひょうか) ซึ่งจะมีหัวข้อประเมินหลักดังนี้ (ตัวอย่าง)
1. ความรู้ความสามารถ 知識&能力
2. การคิดการตัดสินใจ 判断力
3. ความรับผิดชอบ 責任
จะประเมินโดยการใส่คะแนนในแต่ละหัวข้อย่อย ซึ่งคะแนนรวมที่ได้ ก็คือ “ค่างาน” 職務の価値(しょくむのかち)
จากนั้นก็นำค่างานที่ได้ ไปเทีบยดูกับช่วงคะแนนว่าแต่ละคนอยู่ในเกรดอะไร?
★แต่สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ “การประเมินค่างาน”เนี่ย มันเป็นเพียงเครื่องมือ ที่คิดขึ้นมาเพื่อนำมาใช้สนับสนุนความรู้สึก มีหลักเกณฑ์ให้สามารถอธิบาย ที่ไปที่มาได้เฉยๆ เพราะผู้ประเมินน่าจะใช้ความรู้สึกของตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่
อย่างล่าม เงินเดือนอย่างสูง..แต่ค่างานโคตรต่ำ ตูงงงงงงงง!!!!! つづく
Tuesday, February 11, 2020
人事制度#2
ต่อจากครั้งที่แล้ว จะขออธิบายต่อในแต่ละข้อ เริ่มจาก...
ระบบเกรด 等級制度(とうきゅうせいど)
ก็เหมือนกับระบบราชการ C1 C2 C3…. สำหรับริษัทก็อาจจะเรียกเป็น G1 G2 G3 อะไรก็ว่าไป ซึ่งในแต่ละเกรดนั้นก็จะมีการกำหนด “ช่วงเงินเดือน” 賃金(ちんぎん)レンジ หรือเรียกว่า “กระบอกเงินเดือน” มีค่า Min/Max
เงินเดือนจะถูกปรับขึ้นทุกๆปี เมื่อไปถึงค่าMax เมื่อไหร่ และถ้าเราไม่มีความสามารถพอ ไม่เข้าเงื่อนไข หรือไม่สามารถที่จะ “เลื่อนเกรด” ได้昇格(しょうかく) เงินเดือนก็จะตัน/ชนเพดาน ก็จะไม่ได้ปรับขึ้นเงินเดือนตาม% ที่ควรจะเป็น
★ที่สำคัญคือ การเลื่อนเกรดนั้น ควรจะต้องมีเงื่อนไขและระเบียบที่ชัดเจน และต้องอาศัยการผลักดันจากหัวหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ลูกน้องของตนเองพัฒนาการทำงานให้สามารถเลื่อนเกรดไปได้ อ่านแล้วอย่างเพิ่งเครียด ขอจบเท่านี้ก่อน ไว้ต่อบทความหน้า ฮิๆๆ つづく
ระบบเกรด 等級制度(とうきゅうせいど)
ก็เหมือนกับระบบราชการ C1 C2 C3…. สำหรับริษัทก็อาจจะเรียกเป็น G1 G2 G3 อะไรก็ว่าไป ซึ่งในแต่ละเกรดนั้นก็จะมีการกำหนด “ช่วงเงินเดือน” 賃金(ちんぎん)レンジ หรือเรียกว่า “กระบอกเงินเดือน” มีค่า Min/Max
เงินเดือนจะถูกปรับขึ้นทุกๆปี เมื่อไปถึงค่าMax เมื่อไหร่ และถ้าเราไม่มีความสามารถพอ ไม่เข้าเงื่อนไข หรือไม่สามารถที่จะ “เลื่อนเกรด” ได้昇格(しょうかく) เงินเดือนก็จะตัน/ชนเพดาน ก็จะไม่ได้ปรับขึ้นเงินเดือนตาม% ที่ควรจะเป็น
★ที่สำคัญคือ การเลื่อนเกรดนั้น ควรจะต้องมีเงื่อนไขและระเบียบที่ชัดเจน และต้องอาศัยการผลักดันจากหัวหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ลูกน้องของตนเองพัฒนาการทำงานให้สามารถเลื่อนเกรดไปได้ อ่านแล้วอย่างเพิ่งเครียด ขอจบเท่านี้ก่อน ไว้ต่อบทความหน้า ฮิๆๆ つづく
Subscribe to:
Posts (Atom)