Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Tuesday, September 29, 2020

大気

 大気 "บรรยากาศ"

สมัยนักเรียน เราคงจะเรียนวิทยาศาสตร์กันมาบ้างเกี่ยวกับบรรยากาศของโลก ล่าสุดลูกพี่ก็กำลังเรียนอยู่ ในชั้นบรรยากาศจะประกอบด้วย

1. ก๊าซไนโตรเจน   窒素  78%
2. ก๊าซออกซิเจน   酸素  21%
3. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   二酸化炭素  ไม่ถึง 1%
4. อื่นๆ

แต่ถ้าย้อนกลับไปในยุคที่ยังไม่มีสิ่งมีชิวิต โลกเราจะมีแค่ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลักซึ่งเกิดจากการพ่นของภูเขาไฟ  ตอนนั้นยังไม่มีก๊าซออกซิเจน   เมื่อเวลาผ่านไปก็เริ่มมีสิ่งมีชีวิตพวกแบคทีเรียปรับตัวนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์มาสร้างอาหารและปล่อยก๊าซออกซิเจนสู่บรรยากาศจนทำให้สัดส่วนของออกซิเจนบนโลกมีเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับวิวัฒนาการ(進化)ของสัตว์ที่เริ่มจากอาศัยอยู่ในทะเล-->น้ำตื้น-->บนบก
สิ่งมีชิวิตและพืชต่างปรับตัวเพื่อนำไนโตรเจน ออกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้เพื่อการดำรงชีวิต

มนุษย์ในปัจจุบันก็เป็นสิ่งมีชิวิตชนิดหนึ่งที่นำเอาออกซิเจนมาใช้ในการเผาพลาญพลังงาน หรือเรียกว่า "Metabolism" (代謝)และหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา  

สรรพสิ่งบนโลกล้วนสร้างสมดุลซึ่งกันและกัน  ถ้ามนุษย์มัวแต่ทำลายสมดุลบนโลกนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็อาจสูญพันธ์เหมือนไดโนเสาร์ก็เป็นได้




Monday, September 28, 2020

นายกญี่ปุ่น

 เมื่อเร็วๆนี้ประเทศญี่ปุ่นเพิ่งได้นายกฯคนใหม่ 
ชื่อว่า  義偉 (すが よしひで)

ทราบมาว่าแกเป็นนักการเมืองที่ไม่ได้มีBackground 
ที่มีพ่อแม่เล่นการเมืองมาก่อน น่าจะเข้าถึงความรู้สึก
ของคนญี่ปุ่นเป็นอย่างดี เสียงสนับสนุนดีเลยทีเดียว (支持率)
ล่าสุดก็มีนโยบายที่อยากจะลดค่าโทรศัพท์
 เปรียบเทียบกับประเทศอื่นเค้ามองว่ามันแพง
ไม่รู้ลองเทียบกับไทยรึยัง?

นายกรัฐมนตรี  ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า  総理大臣  
ถ้าเป็นประเทศอื่นๆทั่วไปจะเรียกว่า 首相 (Prime Minister)
ตำแหน่งทางการเมืองที่รองลงมา...
รองนายกฯ      副総理
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง   ~大臣
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ    ~副大臣
ปลัดกระทรวง    政務官
อธิบดีกรม        局長





Friday, September 25, 2020

BOI#3

 แน่นอนว่าวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อผลิต แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะผลิตและส่งออกได้ครบ100% ซึ่งในกระบวนการผลิตอาจมีเศษจากการผลิตหรืองานเสียเกิดขึ้น ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า "ส่วนสูญเสีย"  ロス

ส่วนสูญเสียแบ่งเป็น 2ประเภทดังนี้
1.ส่วนสูญเสียในสูตร  フォーミュラ内のロス  
   ส่วนสูญเสียที่รู้แน่นอนอยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต = เศษ (切り端)
2. ส่วนสูญเสียนอกสูตร  フォーミュラ外のロス 
   ส่วนสูญเสียที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดมากน้อยขนาดไหน = งานเสีย(不良品)

ในขั้นตอนการยื่นส่วนสูญเสีย จำเป็นต้องให้หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นบุคคลที่3(資格認定の第三者) เข้ามานับจำนวนและตรวจรับรองจำนวนงานเสียให้  ซึ่งในส่วนนี้เราจะไม่เสียภาษีเต็มอัตรา ซึ่งเป็นอัตราภาษีของเศษซาก スクラップ

แต่ที่รับไม่ได้ก็คือ "ส่วนที่สูญหาย" อันเนื่องมาจากการควบคุมจัดการที่ไม่ดี  ซึ่งส่วนนี้จะต้องเสียภาษีเต็มอัตราศึก!!!



BOI#2

 ที่จะยกตัวอย่างมาอธิบายก็คือ

การนำเข้าวัตถุเพื่อผลิตและส่งออก ซึ่งกรณีนี้จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ภาษี 0%
แต่ก็มีเงื่อนไขว่าหลังจากนั้นจะต้องส่งออกทั้งหมด100%  หากตัดบัญชีไม่หมดหรือมียอดคงค้าง(残高)อันเนื่องจากการจัดการที่ไม่ดีหรือมีงานเสียเกิดขึ้น ก็จะต้องชำระภาษีย้อนหลัง ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้

1. ขออนุมัติรายการวัตถุดิบ/ปริมาณสต๊อกสูงสุด 6เดือน     材料リスト/最高在庫
    (ได้จากการคำนวณกำลังการผลิตสูงสุด  ยอดที่สูงเกินว่านี้จะไม่สามารถใช้สิทธิได้)
2. ขออนุมัติสูตรการผลิต 生産フォーミュラ
 * ข้อ1, 2 จะเป็นฐานข้อมูลสำหรับควบคุมการตัดสต๊อก 

3. ขออนุมัติสั่งปล่อยBOI ในขั้นตอนก่อนการนำเข้า(บันทึกยอดนำเข้าในระบบ) จากนั้นขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบ 放出(リリース)หรือ 通関命令 ในขั้นตอนของพิธีการนำเข้า
4. ขออนุมัติตัดบัญชีวัตถุดิบ (カットストックหรือ在庫引き落とし)ผ่านทางระบบของ Investor Club (IC)  กล่าวคือ นำยอดส่งออกไปหักออกจากยอดนำเข้าจริง ต้องยื่นเรื่องภายใน 6เดือนหลังจากส่งออก
     


BOI

 ประชุมเมื่อวาน มีพูดถึงเรื่องวัตถุดิบนำเข้า BOI  ที่มียอดBalanceส่วนต่างจนทำให้ต้องเสียภาษีย้อนหลังเป็นจำนวนมาก ก็เลยจะมาเล่าให้ฟัง   จริงๆแล้วรายละเอียดเยอะมาก...แต่จะพยายามให้มีเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญจริงๆ

BOI (Board of  Investment)  คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน   投資委員会
เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศโดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
ที่สำคัญก็คือ สิทธิทางภาษี  税制上の恩典
1. ยกเว้นภาษีนิติบุคคล   法人所得税の免除
2. ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร  機械輸入関税の免除
3. ยกเว้น/ลดหย่อนภาษีนำเข้าวัตถุดิบ  原材料輸入関税の免除/減免



 

Tuesday, September 22, 2020

複合動詞

 複合動詞 คำกริยาผสม

จริงๆกว่าจะได้คำอย่างเป็นทางการนี้ขึ้นมา...หาตั้งนาน เพราะไม่ได้เรียนลึกเหมือนเอกญี่ปุ่นโดยตรง แต่ก็ไปเจอเรื่องของคันจิ 漢字 ที่ว่าอ่านออกเสียงได้ 2แบบ  音読み(おんよみ)แบบจีน   กับ訓読み(くんよみ)แบบญี่ปุ่น เป็นการทบทวนไปในตัว

โอเค..กลับมาที่เรื่องของ 複合動詞 วันนี้อยากจะแชร์คำศัพท์ที่น่าสนใจและอาจเจอได้บ่อยในชีวิตประจำวันและจากการทำงาน เพิ่งจะรวบรวมไว้เร็วๆนี้   ....ไปดูกันเลย

跳ね返る   はねかえる   กระเด็นกลับมา
引っ繰り返る ひっくりかえる ผลิกหงาย
積み替える  つみかえる   เปลี่ยนถ่าย(สินค้า), ถ่ายลำ
詰め替える  つめかえる   บรรจุใหม่(Repack)
積み上げる  つみあげる   วางซ้อน
捲り上げる  まくりあげる  พับขึ้น(แขนเสื้อ)
持ち運ぶ   もちはこぶ   หิ้ว 
立て掛ける  たてかける   วางพิง
抉じ開ける  こじあける   งัด
握り潰す   にぎりつぶす  ขยำ
食い縛る   くいしばる   กัด/ยีฟัน
泣き叫ぶ   なきさけぶ   ร้องตะโกน
聞き流す   ききながす   ฟังหูทวนลม
擦り切れる  すりきれる   ขาดยุ่ย
引き伸ばす  ひきのばす   ยื้อเอาไว้(ถ่วงเวลา)
立てに突き刺す たてにつきさす ปัก(แนวตั้ง)
通り抜ける  とおりぬける  ทะลุผ่าน(คำช่วยを)
信じ込ませる しんじこませる ทำให้หลงเชื่อ
買い占める  かいしめる     กว้านซื้อ
掻き落とす  かきおとす     กวาด/เขี่ยให้หล่นลงมา






に尽きる

 วันนี้อยากแนะนำให้รู้จักคำเนี้ย  に尽きる  (つきる)

เป็นคำที่ไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่....ค้นหาความหมายก็จะออกมาประมาณนี้

v1,vi (English)
1. to be used up     ใช้หมดไป
2. to be run out  หมด
. to come to an end  จบ /สุดที่จะ...
例文

お前には全く愛想が尽きる。
I'm quite out of patience with you.
ガソリンが尽きてしまったよ。
We have run out of gas.

แต่พอดีไปเจอที่มันมีคำช่วย にอยู่ข้างหน้า ก็เลยงง?
売上でいかに赤字を小さくするか考えなければならない。それは品質に尽きる。

ซึ่งในที่นี้จะมีความหมายประมาณว่า "สุดท้ายก็มาจบที่..."
ตัวอย่างเช่น  どこでも試してみたが、一番美味しいお店はここに尽きる。

ลองไปชิมกันดู  เฮ้ยไม่ใช่!...ลองเอาไปใช้กันดู 555




Friday, September 11, 2020

稼働率と可動率

 稼働率と可動率  

ระหว่าง2คำนี้ ดูเผินๆเหมือนจะอ่านออกเสียงเหมือนกัน ความหมายก็น่าจะเหมือนกัน เขียนได้2แบบหรือป่าว???     แต่.. สองคำนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  เดี๋ยวจะเหลาให้ฟัง

稼働率 อ่านว่า かどうりつ  ส่วน可動率  อ่านว่า  べきどうりつ
คำว่า "稼働率"ในความเข้าใจทั่วๆไป ก็จะหมายถึงประสิทธิภาพการเดินของเครื่องจักร หรือ Efficiency 
เป็นคำที่พวกเราคุ้นเคยกันดี ซึ่งเข้าใจตามนี้ก็ไม่ผิดอะไร

แต่ความหมายจริงๆ จะเป็นเรื่องของ สัดส่วนภาระงาน(生産負荷) 
สมมุติ...เครื่องMolding  มีกำลังการผลิต   100โมลด์/วัน (เวลาทำงานปกติ)
และมีออเดอร์จากลูกค้า ซึ่งต้องผลิตที่ 70โมลด์  ก็จะเท่ากับ 稼働率70%
* ดัชนีนี้มีไว้สำหรับพิจารณาเพื่อวางกลยุทธิ์การขาย การผลิต การลงทุนหรือจัดการเครื่องจักร

ส่วน"可動率" หมายถึง สัดส่วนเวลาการเดินเครื่องจักร
สมมุติ...เครื่องMolding มีเวลาเดินเครื่อง 8ชั่วโมง/วัน
แต่พอผลิตจริงอาจมีปัญหาเครื่องจักรหยุด หรือมีเรื่องของการเตรียมงานเปลี่ยนโมเดล(段取替え)ทำให้เครื่องจักรเดินได้จริงๆแค่ 7.5ชั่วโมง ก็จะเท่ากับ 可動率93.75%

ซึ่งการคำนวณเวลาที่เครื่องจักรเดินได้จริงๆ เป็นไปตามสูตรนี้

จำนวนโมลด์ที่ผลิตจริง  𝖷   เวลามาตรฐาน (เช่น Cycle Time  30วินาที/โมดล์)
                                        เวลาเดินเครื่องจักรทั้งหมด

900โมลด์ 𝖷 30วินาที  -->27,000/60 = 450นาที(7.5ชั่วโมง)
                                                              480นาที(8.0ชั่วโมง)
                             
                                                  可動率        =  93.75%


อ้างอิงจาก: カイゼンベース








Wednesday, September 9, 2020

งบกระแสเงินสด#3

 2. สินทรัพย์(資産)
   2.2 สินค้าคงเหลือ(棚卸資産)
   สต๊อก↑              เงินสด↓      ..... ใช้เงินไปกับการผลิตงาน
            สต๊อก↓              เงินสด↑      ..... ผลิตน้อยลง เงินเหลือ

3.ดอกเบี้ยจ่าย(利息の支払)  เงินสด↑  .....กู้เงินมา..เงินสดเลยมีเพิ่มขึ้น
   ดอกเบี้ยรับ(利息の受取)    เงินสด  .....เอาเงินไปฝากธนาคาร..เงินสดเลยลดลง

ยกตัวอย่างขนาดนี้ก็น่าจะพอเข้าใจถึงแนวคิดกันบ้างแล้ว
งั้นขอลาไปก่อน ByeBye



Tuesday, September 8, 2020

งบกระแสเงินสด#2

การคำนวณจะเริ่มตั้งต้นจาก ยอดBalance CashFlow ที่ยกยอดมาจากเดือนก่อน 
จากนั้นก็นำไปหักลบ(+/-)กับยอดกำไรสุทธิ (純利益หรือเรียกว่า 経常利益 )รวมถึงหัวข้อต่างๆตามBalance Sheet (貸借対照表)โดยดูจากยอดของเดือนนี้เปรียบเทียบกับเดือนก่อนว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง 
ยกตัวอย่างในส่วนของ 営業キャッシュフロー ซึ่งมีแนวคิดดังต่อไปนี้

1.หนี้สิน(負債)   หนี้สิน ↑              เงินสด ↑       
   1.1 เจ้าหนี้การค้า(仕入れ債務หรือ買い掛け)
   เจ้าหนี้↑              เงินสด ↑       .... ยังไม่ได้จ่ายเงินเค้าอะดิ  เลยมีเงินสดเพิ่ม
            เจ้าหนี้↓              เงินสด ↓       .... เอาเงินสดจ่ายหนี้เค้าไปแล้ว  เงินสดเลยลดลง
   1.2 หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ
   1.3 ค่าใช้จ่ายคงค้าง

2.สินทรัพย์ (資産)  สินทรัพย์ ↑              เงินสด↓ 
   2.1 ลูกหนี้การค้า (売上げ債権หรือ売り掛け)
     ลูกหนี้↑              เงินสด↓      ..... ลูกหนี้ยังไม่ได้จ่ายเงินมาให้เรา เงินสดเลยลดลง
           ลูกหนี้↓              เงินสด↑      ..... ลูกหนี้จ่ายเงินให้เรามาแล้ว เลยมีเงินสดเพิ่ม

ยังไม่งงกันใช่มั้ย   ติดตามต่อ つづく



งบประแสเงินสด

 งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow)

ในทุกเดือนทางAdmin จะมีการประชุมTV. Conf.กับทางญี่ปุ่น ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ"กระแสเงินสด" เนี่ยแหละ  พยายามดูจากเอกสารเพื่อทำความเข้า แต่ก็ไม่Getสักที  

อย่างเช่น ลูกหนี้เพิ่มขึ้น เราต้องได้เงินสดเพิ่มขึ้นสิ ..แต่ทำไมสูตรคำนวณถึงเป็นลบ...งงงงงง จึงเป็นที่มาของบทความนี้

ภาษาญี่ปุ่น คือ キャッシュフロー計算書   มี 4ส่วนหลัก ดังนี้
1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน  営業キャッシュフロー
    *ควรมีตัวเลขเป็นบวก

2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน  投資キャッシュフロー
 *ตัวเลขควรเป็นลบ (เนื่องจากมีกำไร..จึงเอาเงินสดไปลงทุน)

3.กระแสเงินสดอิสระ フリーキャッシュフロー
   เงินสดที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ
   เป็นยอด Sum. ของกระแสเงินข้อ (1) กับ (2)

4.กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 財務キャッシュフロー
 *ตัวเลขควรเป็นลบ (เนื่องจากมีกำไร..จึงเอาเงินสดไปชำระหนี้)

             つづく

 

Thursday, September 3, 2020

利益計画

 利益計画 (Profit Planning)   "การวางแผนกำไร"

 ในมุมมองที่ว่า... เราจะต้องขายให้ได้กี่หน่วย(ชิ้น) หรือกี่บาทถึงจะมีกำไรตามที่เราต้องการ????  
 จากสมการบทความที่แล้ว...เพียงแค่บวกเพิ่มกำไรที่ต้องการเข้าไปในต้นทุนคงที่ก็จะได้คำตอบเอง

สมมุติเราต้องการขายให้ได้กำไร 240บาท
ปริมาณขายณ.จุดคุ้มทุน  =   300+240 / (100-40)       -->   9 หน่วย(ชิ้น) 
                   * เท่ากับว่าเราต้องขายให้ได้ 9หน่วย ถึงจะมีกำไรที่ 240บาท

ยอดขายณ.จุดคุ้มทุน   =  300 +240/ (60/100)      -->   900 บาท
                    * เท่ากับว่าเราต้องขายให้ได้ 900บาท ถึงจะมีกำไรที่ 240บาท

จบข่าว



損益分岐点#2

 จุดคุ้มทุน สามารถหาได้จากสมการง่ายๆ 2อย่างดังนี้

1. ในมุมมองที่ว่า..จากต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เราจะต้องขายให้ได้กี่หน่วย(ชิ้น) ถึงจะคุ้มทุน????
     สมการ:  ปริมาณขายณ.จุดคุ้มทุน  =   ต้นทุนคงที่ / กำไรส่วนเกินต่อหน่วย

 ยอดขาย                      300 บาท _           (ราคาต่อหน่วย 100บาท)   
       ค่าใช้จ่ายผันแปร         120 บาท           (ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย 40บาท)
      กำไรส่วนเกิน                180 บาท _       (กำไรส่วนเกินต่อหน่วย 60บาท)
      ค่าใช้จ่ายคงที่               300 บาท
                       ขาดทุน    ▲120 บาท

                   ปริมาณขายณ.จุดคุ้มทุน  =   300 / (100-40)       -->   5 หน่วย(ชิ้น) 
                   * เท่ากับว่าเราต้องขายให้ได้ 5หน่วย ถึงจะคุ้มทุน

   2. ในมุมมองที่ว่า..เราจะต้องขายให้ได้กี่บาท ถึงจะคุ้มทุน????
      สมการ:  ยอดขายณ.จุดคุ้มทุน  =   ต้นทุนคงที่ / อัตรากำไรส่วนเกิน     
         อัตรากำไรส่วนเกินหาได้จาก      กำไรส่วนเกินต่อหน่วย / ราคาต่อหน่วย
    
                  ยอดขายณ.จุดคุ้มทุน  =  300 / (60/100)      -->   500 บาท




損益分岐点

損益分岐点 (Break Event Point)

ภาษาไทยเรียกว่า  "จุดคุ้มทุน"   คือ จุดที่ยอดขายเท่ากับค่าใช้จ่ายรวม
สมการ : ยอดขาย   =   ค่าใช้จ่ายคงที่ + ค่าใช้จ่ายผันแปร
           (ปริมาณขาย x ราคาต่อหน่วย)  =   ค่าใช้จ่ายคงที่ + (ปริมาณขาย x ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

ตัวอย่างเช่น
       ยอดขาย                      500 บาท _        
       ค่าใช้จ่ายผันแปร          200 บาท           
      กำไรส่วนเกิน                300 บาท _       
      ค่าใช้จ่ายคงที่               300 บาท
                       เท่าทุน      +  0บาท




Wednesday, September 2, 2020

限界利益

 限界利益(Contribution Margin)

ภาษาไทย เรียกว่า "กำไรส่วนเกิน"   เป็นดัชนีอันนึงสำหรับวิเคราะห์ต้นทุนหรือวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ซึ่งคำว่า"ต้นทุน"ในที่นี้อาจหมายความเฉพาะต้นทุนการผลิตเท่านั้น หรืออาจหมายความรวมถึงค่าการขายและบริหาร(Sell&Admin) ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้บริหารที่จะนำไปวิเคราะห์

กำไรส่วนเกิน  =   ยอดขาย - ค่าใช้จ่ายผันแปรส่วนเกินที่ว่าเนี่ยถ้าสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายคงที่ส่วนที่เหลือได้ ก็จะถือว่ามีกำไร แต่ถ้าไม่ได้ก็คือว่าขาดทุน

อัตรากำไรส่วนเกิน  =  กำไรส่วนเกิน / ยอดขาย

ตัวอย่างเช่น
       ยอดขาย                      300 บาท _        (ราคาต่อหน่วย 100บาท)   
       ค่าใช้จ่ายผันแปร         120 บาท           (ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย 40บาท)
      กำไรส่วนเกิน                180 บาท _       (กำไรส่วนเกินต่อหน่วย 60บาท)
      ค่าใช้จ่ายคงที่               300 บาท
                       ขาดทุน    ▲120 บาท

      อัตรากำไรส่วนเกิน =  180/300   --->    0.60 (60%)

* หมายความว่าถ้ามียอดขายเพิ่มขึ้น 100 บาท  ก็จะมีกำไรส่วนเกินเพิ่มขึ้น 60 บาท

  ระวัง! โดยหลักการแล้วถ้ายอดขายเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายผันแปรก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ลองคำนวณดูแล้วกันว่าต้องขายเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ กำไรส่วนเกินจะสามารถครอบคลุมส่วนที่ติดลบได้?????

つづく"จุดคุ้มทุน"