Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Monday, July 6, 2020

調停/仲裁との違い

จากบทความที่แล้วเรื่องของกฎหมาย เกิดความสงสัยขึ้นมาอีก
ระหว่างคำว่า 調停/仲裁  อ่านความหมายภาษาไทยก็แล้ว  ภาษาญี่ปุ่นก็แล้ว?????
แต่ก็ยังไม่เข้าใจ  จนถึงขั้นต้องสอบถามกับทางทนายเลยทีเดียว

อย่างที่เคยบอกไปว่าก่อนถึงชั้นศาลจะมีขั้นตอนของการไกล่เกลี่ย
Stepแรก ก็คือ 調停 คือการไกล่เกลี่ยโดยคู่กรณีตกลงให้บุคคลที่สาม (ผู้ไกล่เกลี่ย 調停者) มาช่วยไกล่เกลี่ยให้ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็สามารถไกล่เกลี่ยในStep ต่อไปได้  หรือจะไปชั้นศาลเลยก็ได้

Stepต่อไปที่พูดถึงก็คือ 仲裁 คือการตกลงให้บุคคลที่สาม(อนุญาโตตุลาการ 仲裁人)เข้ามาวินิจฉัยชี้ขาดให้ (คดีแพ่ง) แต่ถ้ายังตกลงกันไม่ได้อีก  คราวนี้ก็ต้องไปถึงชั้นศาล

ในชั้นศาล ศาลจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ถ้าไม่พอใจในคำตัดสิน ก็ยื่นอุทธรณ์  ฎีกา อะไรก็ว่ากันไป

ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาด จะเรียกว่า "ผู้พิพากษา 裁判官" (ศาลยุติธรรม 司法裁判所)
หรือเรียกอีกอย่างว่า "ตุลาการ 司法" (ศาลปกครอง 行政裁判所 /ศาลรัฐธรรมนูญ 憲法裁判所)


No comments:

Post a Comment