Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Friday, July 31, 2020

未実現為替差損/差益 

未実現為替差損/差益
 ฮืม..เห็นคันจิยาวติดกันเป็นผืด อย่าเพิ่มถอดใจนะ
สัปดาห์ก่อนมีโอกาสได้เป็นล่ามให้กับทางบัญชี  ก็เลยอยากแนะนำให้รู้จักกับคำนี้

ภาษาอังกฤษเรียกว่า Unrealized Gain/Loss of Exchange
"กำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง"


หมายถึง การนำยอดลูกหนี้คงค้าง(AR)หรือเจ้าหนี้คงค้าง(AP)ที่มีการซื้อขายด้วยเงินตราต่างประเทศ มาคำนวณผลต่างระหว่างมูลค่าการซื้อขายจริงตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ.วันที่นั้นๆที่มีการออกInvoice เทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนณ.สิ้นเดือน เพื่อให้รับรู้ถึงผลต่างดังกล่าวทางบัญชี 


คำศัพท์
為替   かわせ  การแลกเปลี่ยนเงินตรา
売掛金  うりかけきん  ยอดลูกหนี้คงค้าง
買掛金  かいかけきん  ยอดเจจ้าหนี้คงค้าง
外貨   がいか  เงินตราต่างประเทศ

                                  つづく



Friday, July 24, 2020

รถยนต์ FCV ?


ย้อนกลับไปถึงการทดลองวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียน
จากหลักการที่ว่า " พลังงานไฟฟ้าสามารถแยกไฮโดรเจนกับออกซิเจนออกจากกันได้ (H2O)
จึงเป็นที่มาของเรื่องนี้

FCV ย่อมาจาก  Fuel Cell Vihecle  หรือเรียกว่า 
"รถยนต์หพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง" (燃料電池自動車)

แทนที่จะใช้น้ำมันเชื้อเพลิง  แต่เราจะใช้ไฮโดรเจนเติมเข้าไป  (H + O)
และจะเกิดปฏิกริยา Oxidation  ซึ่งมีแผ่น Bipolar Plate เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด
อิเลคตรอนอิสระ(自由電子 = 電気)เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า
และส่งต่อไปยังมอเตอร์

Output ที่ได้ก็คือ พลังงานไฟฟ้า  และน้ำ(แทนที่จะเป็นไอเสีย)


排気(ไอเสียรถยนต์) #2

การกรองไอเสีย (Catalytic)

จะอาศัยการเร่งปฏิกริยาทางเคมี (化学反応)
1.Oxidation (酸化) การรวมตัวของออกซิเจน
2.Reduction (還元) การสูญเสียออกซิเจน

อ้างอิง: 酸化

มีหลักการในการจัดการกับสารพิษดังต่อไปนี้
1. ไฮโดรคาร์บอน (CH)   อาศัยปฏิกริยา Oxidation ให้เกิดการรวมตัวของออกซิเจน
        C + O2   =   CO2   คาร์บอนไดออกไซด์
        H2 + O   =   H2O   น้ำ (ไอน้ำ)

2. คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)   อาศัยปฏิกริยา Oxidation ให้เกิดการรวมตัวของออกซิเจน
        C O+ O   =   CO2   คาร์บอนไดออกไซด์

3. ไนโตรเจนออกไซด์ (NO)   อาศัยปฏิกริยา Reduction ให้เกิดการแยกตัวของออกซิเจน
       N <----> O   =   N   ก๊าซไนโตรเจน
                                 O   ก๊าซออกซิเจน



排気 ไอเสียรถยนต์

排気 ไอเสียรถยนต์

เกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพิง
ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงก็มาจาก "ปิโตเลี่ยม" (石油)

ปิโตเลี่ยม มีทั้ง 3สถานะ คือ  ของแข็ง  ของเหลว และก็าซ
มีธาตุองค์ประกอบหลักๆ คือ คาร์บอน, ไฮโดรเจน
และอาจมีอโลหะอื่นๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ

ไอเสียรถยนต์มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์(不完全燃焼)
 1. ไฮโดรคาร์บอน  CH   (炭化水素)
 2. คาร์บอนมอนนอกไซด์  CO  (一酸化炭素)
 3. ไนโตรเจนออกไซด์  NO   (窒素酸化)

         つづく


Wednesday, July 22, 2020

酸化(Oxidation)#2

ย้อนกลับไปเรื่องของงานเสีย Scale หลังการHeat Treatment
ก็คงเป็นหลักการของ Oxidation ก็คือการที่
    เหล็กไปรวมตัวกับออกซิเจน Fe+O   = FeO ไอออนออกไซด์  (酸化鉄)

แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่ามัน คือสนิมนะ  ยังไม่ใช่!!

จนกระทั่งระยะเวลาผ่านไป สัมผัสกับน้ำ ความชื้น
ก็ถึงจะกลายเป็น  "สนิมเหล็ก"  ชื่อทางเคมี  "ไฮเดรตเฟอริกออกไซด์"
Fe2O3 - H2O  (水和酸化鉄  すいわさんかてつ)
หรือเรียกง่ายๆว่า  錆び  ชื่อข้างบนอย่าไปจำ




酸化(Oxidation)

เมื่อวานประชุมกับMaker Heat Treatment เนื่องจากงานมีปัญหา Scale หลังจากHeat Treatment ซึ่งก็น่าจะเป็น Oxide ซึ่งภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า  酸化物

อ้างอิง: เรื่องเล็กๆ

แต่ก็อยากให้เข้าใจกันก่อนว่า 酸化(Oxidation) มันคืออะไร 
คือ ปฏิกริยาทางเคมีที่สสารสูญเสียอิเล็กตรอนหรือสูญเสียไฮโดรเจนไป
 หรือการที่สสารรวมตัวเข้ากับออกซิเจน(化合)

อิเล็กตรอนจะเคลื่อนย้ายได้ทั้งในรูปของอิเล็กตรอนโดยตรงหรือ
เคลื่อนย้ายในรูปของออกซิเจนหรือไฮโดรเจน


ยกตัวอย่างเช่น
 1.การเกิดสนิม (Fe2O3)
 2.การเผาไหม้ของไม้ ถ่านหิน ปิโตเลียม (สารประกอบอินทรีย์ 有機化合物)
 มีองค์ประกอบธาตุหลัก คือ คาร์บอน  ไฮโดรเจน หรือ ไฮโดรคาร์บอน  CH(炭化水素)
 เมื่อถูกเผาไหม้จะเกิดปฏิกริยาทางเคมีฯ
            C + O2   =  CO2  ก็าซคาร์บอนไดออกไซด์
   C + O3   =  CO3  เขม่า 
            H2+O    = H2O  ไอน้ำ
                                                      つづく



         



Wednesday, July 15, 2020

เทคนิคการฝึกอ่านนสพ.


กากของเสีย(โรงหล่อ)#2

การกำจัดทรายเก่า 廃砂の処理

ด้านการจัดการคือ
1) เราต้องมีการคัดแยก    分別徹底
2) เราต้องมีการป้องกันการปะปน   異物混入の防止

สำหรับวิธีการจะมี 3ข้อหลักๆดังนี้
1) นำไปใช้ประโยชน์   有効活用  เช่น นำไปใช้เป็น
    - セメント原料
 - 道路用骨材(路盤材、アスファルト混合材)
 -土壌改良 ปรับปรุงดิน
 -れんが原料
2) นำไปRecycle  再生
3) ฝังกลบ  埋立処理


กากของเสีย(โรงหล่อ)

วันนี้จะขอพูดถึง "กากของเสีย" (廃棄物)ที่มาจากโรงหล่อ
พะเอินทำงานอยู่โรงหล่อก็เลยอยากจะอธิบายให้ฟัง มีหลักๆดังนี้

1. 廃砂 はいすな ทรายเก่า(ถูกใช้แล้ว)
  - เกิดจากทรายที่Overflow (余剰砂 よじょうすな)จากระบบผสมทราย
 เนื่องจากมีการเติมทรายใหม่ (新砂 しんすな)
  - เกิดจากกระบวนการ Shotblast (ทำความสะอาดทรายที่ติดอยู่ที่ผิวงาน)   持出し砂
 ทรายส่วนนี้จะมีเหล็ก(鉄分)ผสมอยู่ ซึ่งสามารถคัดแยกออกจากกันได้
 โดยใช้แม่เหล็ก (磁選 じせん)
 - เกิดจากทรายที่หกหล่นอยู่ตามพื้นในไลน์การผลิต (こぼれ砂)

2.スラグ(ノロ)กากตะกรันจากกระบวนการหลอม (Slag)
3.集塵ダスト ฝุ่นจากระบบDust Collector (集塵装置 しゅうじんそうち)
4.耐火物くず เศษจากวัตถุดิบทนไฟ
5.อื่นๆ       เช่น เศษไส้แบบ (シェル殻 しぇるがら) ฯลฯ

                                                                                        つづく




      

Tuesday, July 14, 2020

หักพวงมาลัย!

เมื่อเดือนก่อน มีอุบัติเหตุรถโฟคลิฟท์พลิกคว่ำ (フォークリフト転倒)
ก็เลยเจอคำศัพท์ที่น่าสนใจอยู่คำนึง

"หักพวงมาลัย"  คำนี้ภาษาไทยเองก็ยังงง ว่ามันอยู่ดีๆๆของมัน...ทำไมต้องหักพวงมาลัยด้วย

คำนี้ภาษาญี่ปุ่นจะพูดว่า 急にハンドルを切る!
ของเค้าไม่หักเหมือนบ้านเรา  แต่ของเค้าใช้การตัด...เออแปลกดี


Monday, July 13, 2020

Lipda


Lipda????

เมื่อวันก่อนมีประชุมผจก. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร (連絡会議)
สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไมต้องแจ้งกันละเอียดขนาดนี้เลยเรอ

ที่ว่าละเอียด..เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟัง

ถ้าจำไม่ผิด..ผจก.รายงานถึงเรื่องการปรับตั้งองศาเครื่องจักร
ก่อนแก้ไข   ....ลิปดา     หลังแก้ไข.....ลิปดา
เราก็อึ้งไปพักนึง   เราก็ทับศัพท์ไปเลย  リプダー  
พูดเบาๆ  เพราะไม่แน่ใจว่าญี่ปุ่นจะรู้เรื่องป่าว???

นี่ก็เพิ่มรู้เหมือนกัน...

"ลิปดา" เป็นหน่วยย่อยขององศา 1ลิปดา เท่ากับ 1/60องศา
ภาษาญี่ปุ่น 分(ふん) และก็มีย่อยไปกว่านั้นอีก "ฟิลิปดา"  秒(びょう)
เรียกเหมือนกับหน่วยของเวลาเลย

ที่ผ่านมาก็จะรู้แค่พวกคำว่า ミクロン(μ)1/1000มม.
PPM  (Part per  Million)  1/1,000,000ส่วน
จะละเอียดอะไรขนาดน้าาาาาน!


Wednesday, July 8, 2020

พุ่มไม้

"พุ่มไม้" คำนี้เหมือนจะง่าย
พอดีอยากจะแปลถึงพุ่มไม้ที่เค้าปลูกตรงทางเข้าออฟฟิส..นึกภาพออกใช่มั้ย
ค้นหาในNet  ขึ้นมาเลยครับ

低木   ていぼく  ไม้พุ่ม

低木林         ていぼくばやし พุ่มไม้  เออ..เอาคำนี้และกัน

พอเช็คไปเช็คมาไม่ใช่
低木 จะหมายถึง ไม้พุ่ม (ชนิดของต้นไม้  ไม้พุ่ม ไม้ดอก ไม้ยื่นต้น..อะไรประมาณนั้น)
ส่วนคำว่า  低木林 จะหมายถึง เหล่าสุมทุมพุ่มไม้ในป่าโน่นแหนะ ..ไปไกลมาก

จนต้องถามคนญี่ปุ่น   และคำตอบที่ถูกต้องก็คือ

植え込み  うえこみ
จบข่าว



Monday, July 6, 2020

調停/仲裁との違い

จากบทความที่แล้วเรื่องของกฎหมาย เกิดความสงสัยขึ้นมาอีก
ระหว่างคำว่า 調停/仲裁  อ่านความหมายภาษาไทยก็แล้ว  ภาษาญี่ปุ่นก็แล้ว?????
แต่ก็ยังไม่เข้าใจ  จนถึงขั้นต้องสอบถามกับทางทนายเลยทีเดียว

อย่างที่เคยบอกไปว่าก่อนถึงชั้นศาลจะมีขั้นตอนของการไกล่เกลี่ย
Stepแรก ก็คือ 調停 คือการไกล่เกลี่ยโดยคู่กรณีตกลงให้บุคคลที่สาม (ผู้ไกล่เกลี่ย 調停者) มาช่วยไกล่เกลี่ยให้ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็สามารถไกล่เกลี่ยในStep ต่อไปได้  หรือจะไปชั้นศาลเลยก็ได้

Stepต่อไปที่พูดถึงก็คือ 仲裁 คือการตกลงให้บุคคลที่สาม(อนุญาโตตุลาการ 仲裁人)เข้ามาวินิจฉัยชี้ขาดให้ (คดีแพ่ง) แต่ถ้ายังตกลงกันไม่ได้อีก  คราวนี้ก็ต้องไปถึงชั้นศาล

ในชั้นศาล ศาลจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ถ้าไม่พอใจในคำตัดสิน ก็ยื่นอุทธรณ์  ฎีกา อะไรก็ว่ากันไป

ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาด จะเรียกว่า "ผู้พิพากษา 裁判官" (ศาลยุติธรรม 司法裁判所)
หรือเรียกอีกอย่างว่า "ตุลาการ 司法" (ศาลปกครอง 行政裁判所 /ศาลรัฐธรรมนูญ 憲法裁判所)