Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Tuesday, December 22, 2020

ทำบุญ#3

 
หลังจากพระสวดเสร็จก็จะเป็นการถวายภัตราหารเพล
昼食の献上  
จากนั้นก็ถวายสังฆทานพร้อมเครื่องไทยธรรม
お坊さんに日常品を渡して布施する。
กรวดน้ำ รับพร
水注ぎ、祝福を受ける。
ประพรมน้ำพระพุทธมนต์
聖水を振り掛ける。....จากนั้นก็เป็นอันจบพิธี


คำศัพท์ที่น่าสนใจอื่นๆ

お経を読む  おきょうをよむ  สวดมนต์
経文を唱える きょうもんをとなえる สวดมนต์
お唱えをする おとなえをする  สวดมนต์
読経する どきょうする สวดอภิธรรม
説法 せっぽう เทศนา
教え おしえ คำสอน
手放す てばなす ปล่อยวาง
執着を断つ しゅうちゃくをたつ ตัดกิเลศ
故人を偲ぶ こじんをしのぶ ระลึกถึงผู้ที่ล่วงลับ
手を添える てをそえる แตะมือต่อๆกัน(กรวดน้ำ)




Tuesday, December 15, 2020

ทำบุญ#2

 หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่พิธีสงฆ์
ปกติจะใช้คำว่า 仏教式 ไม่แน่ใจว่ามีคำที่ดีกว่านี้อีกหรือป่าว
ซึ่งในพิธีสงฆ์ก็จะมีการ "จุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย   อาราธนาศีล" มาเป็นSetอีกแล้ว

จุดธูปเทียน     ロウソクと線香に火を灯す。ひをともす

ท่องนะโมฯ 3จบ  念仏三昧(ねんぶつさんまい)を唱える (นมัสการบูชาพระพุทธเจ้า)
  พระญี่ปุ่นจะสวดแบบนี้  南無阿弥陀仏(なむあみだぶつ)

สวดคำบูชาพระรัตนตรัย 三帰依文(さんきえもん)を唱える (อะระหังสัมมาฯ)
       พระรัตนตรัย  ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า  三宝 ซึ่งประกอบด้วย
            1) พระพุทธ     ブッダ(仏)
   2) พระธรรม    ダルマ(法)
   3) พระสงฆ์  サンガ(僧)
  
อาราธนาศีล
     "ศีล" ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า 戒律 かいりつ
  ดังนั้นคำว่า อาราธนาศีล  ก็น่าจะใช้คำว่า   戒律を唱える
  หรือคำว่า รับศีล  受戒 じゅかい

  แล้วก็มีคำเฉพาะอีกคำ  三帰五戒(さんきごかい) การบูชาพระรัตนตรัย+อาราธนาศีล5






ทำบุญ

พอดี วันทำงานวันสุดท้ายบริษัทมีทำบุญตักบาตร ก็เลยได้แปลกำหนดการ 
และเจอคำศัพท์ที่น่าสนใจ จึงอยากจะแชร์ให้พวกเรา

เคยได้ยินประโยคนี้มั้ย
"ทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง"   มาเป็นSetเลย

เริ่มจากคำว่า "ทำบุญ" ถ้าแปลตรงๆก็คือ 徳を積む  功徳(くどく)を積む

ซึ่งการทำบุญก็เหมือนกับการ "ให้ทาน" การให้โดยไม่หวังสิ่งแตบแทน (見返りを求めない)
ก็จะมีคำว่า 喜捨(きしゃ) ที่มาจากคำว่า 喜んで捨てる หมายถึง ยินดีแล้วที่จะสละ
หรือคำว่า 布施、寄進、献上ก็เหมือนกับการให้  การถวาย
 

คำต่อไป "ตักบาตร"  托鉢   たくはつ คำนี้ทุกคนน่าจะรู้กันอยู่แล้ว


ข้าวสารอาหารแห้ง    お米、乾燥食品(インスタント食品、缶詰ฯลฯ)





Tuesday, November 17, 2020

ระเบียง

 ภาษาไทยคำว่า ระเบียง คำนี้เหมือนจะง่าย แต่มีความหมายที่แตกต่างกันออกไป
1.ระเบียง...ระเบียงเศรษฐกิจ เคยได้ยินมั้ย

  東部経済回廊 ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือEEC (Eastern Economic Corridor)
  回廊 (かいろう)หมายถึง ระเบียงทางเดินที่ล้อมรอบเป็นวงกลม  เช่น บนหอคอย, บริเวณรอบโบสถ์ ฯลฯ

2. 廊下(ろうか)หมายถึง ระเบียงทางเดินที่อยู่ในตัวอาคาร เช่น อยู่ระหว่างห้อง2ฝั่งที่หันหน้าเข้าหากัน

3.ベランダー หมายถึง ระเบียงที่อยู่ฝั่งด้านหน้าตัวอาคาร ที่ยื่นออกไปอยู่ด้านนอกห้อง

เมื่อรู้แล้วก็จะได้ไม่สับสน นำไปใช้ให้ถูกต้องนะครับ  ByeBye



Tuesday, September 29, 2020

大気

 大気 "บรรยากาศ"

สมัยนักเรียน เราคงจะเรียนวิทยาศาสตร์กันมาบ้างเกี่ยวกับบรรยากาศของโลก ล่าสุดลูกพี่ก็กำลังเรียนอยู่ ในชั้นบรรยากาศจะประกอบด้วย

1. ก๊าซไนโตรเจน   窒素  78%
2. ก๊าซออกซิเจน   酸素  21%
3. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   二酸化炭素  ไม่ถึง 1%
4. อื่นๆ

แต่ถ้าย้อนกลับไปในยุคที่ยังไม่มีสิ่งมีชิวิต โลกเราจะมีแค่ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลักซึ่งเกิดจากการพ่นของภูเขาไฟ  ตอนนั้นยังไม่มีก๊าซออกซิเจน   เมื่อเวลาผ่านไปก็เริ่มมีสิ่งมีชีวิตพวกแบคทีเรียปรับตัวนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์มาสร้างอาหารและปล่อยก๊าซออกซิเจนสู่บรรยากาศจนทำให้สัดส่วนของออกซิเจนบนโลกมีเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับวิวัฒนาการ(進化)ของสัตว์ที่เริ่มจากอาศัยอยู่ในทะเล-->น้ำตื้น-->บนบก
สิ่งมีชิวิตและพืชต่างปรับตัวเพื่อนำไนโตรเจน ออกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้เพื่อการดำรงชีวิต

มนุษย์ในปัจจุบันก็เป็นสิ่งมีชิวิตชนิดหนึ่งที่นำเอาออกซิเจนมาใช้ในการเผาพลาญพลังงาน หรือเรียกว่า "Metabolism" (代謝)และหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา  

สรรพสิ่งบนโลกล้วนสร้างสมดุลซึ่งกันและกัน  ถ้ามนุษย์มัวแต่ทำลายสมดุลบนโลกนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็อาจสูญพันธ์เหมือนไดโนเสาร์ก็เป็นได้




Monday, September 28, 2020

นายกญี่ปุ่น

 เมื่อเร็วๆนี้ประเทศญี่ปุ่นเพิ่งได้นายกฯคนใหม่ 
ชื่อว่า  義偉 (すが よしひで)

ทราบมาว่าแกเป็นนักการเมืองที่ไม่ได้มีBackground 
ที่มีพ่อแม่เล่นการเมืองมาก่อน น่าจะเข้าถึงความรู้สึก
ของคนญี่ปุ่นเป็นอย่างดี เสียงสนับสนุนดีเลยทีเดียว (支持率)
ล่าสุดก็มีนโยบายที่อยากจะลดค่าโทรศัพท์
 เปรียบเทียบกับประเทศอื่นเค้ามองว่ามันแพง
ไม่รู้ลองเทียบกับไทยรึยัง?

นายกรัฐมนตรี  ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า  総理大臣  
ถ้าเป็นประเทศอื่นๆทั่วไปจะเรียกว่า 首相 (Prime Minister)
ตำแหน่งทางการเมืองที่รองลงมา...
รองนายกฯ      副総理
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง   ~大臣
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ    ~副大臣
ปลัดกระทรวง    政務官
อธิบดีกรม        局長





Friday, September 25, 2020

BOI#3

 แน่นอนว่าวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อผลิต แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะผลิตและส่งออกได้ครบ100% ซึ่งในกระบวนการผลิตอาจมีเศษจากการผลิตหรืองานเสียเกิดขึ้น ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า "ส่วนสูญเสีย"  ロス

ส่วนสูญเสียแบ่งเป็น 2ประเภทดังนี้
1.ส่วนสูญเสียในสูตร  フォーミュラ内のロス  
   ส่วนสูญเสียที่รู้แน่นอนอยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต = เศษ (切り端)
2. ส่วนสูญเสียนอกสูตร  フォーミュラ外のロス 
   ส่วนสูญเสียที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดมากน้อยขนาดไหน = งานเสีย(不良品)

ในขั้นตอนการยื่นส่วนสูญเสีย จำเป็นต้องให้หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นบุคคลที่3(資格認定の第三者) เข้ามานับจำนวนและตรวจรับรองจำนวนงานเสียให้  ซึ่งในส่วนนี้เราจะไม่เสียภาษีเต็มอัตรา ซึ่งเป็นอัตราภาษีของเศษซาก スクラップ

แต่ที่รับไม่ได้ก็คือ "ส่วนที่สูญหาย" อันเนื่องมาจากการควบคุมจัดการที่ไม่ดี  ซึ่งส่วนนี้จะต้องเสียภาษีเต็มอัตราศึก!!!