Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Tuesday, August 24, 2021

เมนู

 โรงอาหารติดโควิด เลยต้องสั่งอาหารมาจากข้างนอก เมื่อวานเลยมีโอกาสได้แปลเมนูอาหาร เลยรวบรวมอาหารยอดฮิต(一品料理)มาให้ ตามนี้เลย

1. 豚挽き肉バジル炒めかけご飯 ข้าวผัดกระเพราหมูสับ
2. 豚肉にんにく炒めかけご飯 ข้าวหมูกระเทียม
3. 豚肉長豆レッドカレー炒めかけご飯 ข้าวผัดพริกแกงหมูถั่วฝักยาว
4. 豚肉ししとう炒めかけご飯 ข้าวหมูผัดพริกหยวก
5. 豚肉長茄子卵とじかけご飯 ข้าวผัดบวบหมู
6. 豚肉チャーハン ข้าวผัดหมู
7. 海産太麺あんかけ ราดหน้าเส้นใหญ่ทะเล
8. 豚足煮込みのせご飯 ข้าวขาหมู
9. 茹鶏炊き込みのせご飯 ข้าวมันไก่
10.魚すり身団子グリーンカレーかけご飯 ข้าวแกงเขียวหวานปลากราย
11. 焼豚赤タレかけご飯 ข้าวหมูแดง
12.なますピリ辛炒めかけご飯 ข้าวปลาดุกผัดฉ่า/ผัดเผ็ด
13.ムール貝卵とじ หอยทอด
14.タイ風焼きそば   ผัดไทย
15. 太麺醤油炒め焼きそば ผัดซีอิ้วเส้นใหญ่

ถูกป่าวไม่รู้???ลองดู
ลืมไปอีกอย่าง ขาดไม่ได้เลย 目玉焼き  卵焼き












Monday, August 9, 2021

細胞呼吸#2

 ต่อจากบทความก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ เซลล์ยังมีอีกหน้าที่หนึ่ง คือ
เซลล์ จะสลายสารอาหาร กลูโคส(แป้ง,น้ำตาล), กรดอะมิโน(โปรตีน), กรดไขมัน(ไขมัน)และอาศัยกระบวนการOxidiation/Reduction ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในสิ่งมีชิวิตเพื่อให้กลายสภาพเป็นพลังงานสะสมเก็บไว้ในร่างกาย(ATP:Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ Metabolismและได้Output ออกมาเป็น ก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ 

*ในเลือดของเราจะมีทั้งสารอาหารต่างๆและออกซิเจน ซึ่งเลือดจะถูกลำเลียงไปตามเส้นเลือด เส้นเลือดฝอยเพื่อส่งต่อไปยังเซลล์ต่างๆของร่างกาย 













คำศัพท์ที่น่าสนใจ
グルコース  กลูโคส
アミノ酸   กรดอะมิโน
脂肪酸    กรดไขมัน
酸化&還元  Oxidiation/Reduction  อ้างอิง 酸化(Oxidation)
化学変換            การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
エネルギー変換    การแปลงสภาพเป็นพลังงาน
アデニシン三リン酸 Adenosine Triphosphate
代謝     การเผาผลาญอาหาร




Wednesday, August 4, 2021

บวม

 สวัสดีทุกคน

พอดีไปเจอคำศัพท์ใหม่เพิ่มเติมที่แปลว่า "บวม"
ภาษาไทย  บวมก็คือบวม  แต่ภาษาญี่ปุ่นชอบมีหลายคำ
เรามาดูกันว่ามันบวมต่างกันยังงัย

คำแรก  腫れる  はれる   บวม (เกิดจากการอักเสบ ได้รับบาดเจ็บ)
浮腫む  むくむ  บวม (ร่างกายบวมน้ำ)

หรืออีกคำที่คล้ายๆกัน  膨らむ ふくらむ 
/ 膨れる ふくれる พอง(ลูกโป่ง,ยางรถพองลม)

ระหว่าง2คำนี้ใช้ต่างกันยังงัย ลองไปศึกษาเพิ่มเติมจากลิ้งค์ด้านล่าง






細胞呼吸

 ช่วงนี้ประชาชนกำลังวิกฤติเนื่องจากการระบาดอย่างหนักของโควิด  เตียงไม่พอ ยาไม่พอ วัคซีนไม่พอ.....
ถ้าพูดซึ่งวัคซีน คงเคยได้ยินคำว่า mRNA  จึงเป็นที่มาให้ต้องค้นหาว่ามันคืออะไร
โอเค  เราไปรู้จักมันกันเลย

細胞呼吸(การหายใจระดับเซลล์)

เซลล์  (細胞)คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต
ประกอบด้วย
1. เยื่อหุ้มเซล์ (細胞膜)
2. Cytoplasm (細胞質)
3. นิวเคลียส (細胞核)

นิวเคลียส เป็นที่อยู่ของDNA ซึ่งในนิวเคลียสนี้จะมีการสังเคราะห์โปรตีน(たんぱく質合成)ซึ่งมีขั้นตอนหลักๆ 2ขั้นตอนดังนี้
 1. สำเนารหัส(Transcription) จากDNA* --> mRNA(บางส่วนของDNA)
2. จากนั้นส่งต่อไปยังCytoplasmเพื่อสร้างกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งจะมีการแปลรหัส(Translation)ที่อยู่บน mRNA** เพื่อนำกรดอะมิโน(アミノ酸)มาสังเคราะห์จนได้เป็นโปรตีน เพื่อนำไปสร้างเป็นเนื้อเยื้อ,กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย

สรุป: mRNA เป็นเหมือนสำเนาโครงสร้างของDNA  (Aเส้นประ)
เมื่อสร้างเนื้อเยื้อจนครบสมบูรณ์ ก็จะได้เป็นAใหม่อีกตัวนึง
ซึ่งจะไม่เป็น B, C, หรือเป็นอื่น








DNA* (Deoxyribo Nucleic Acid) デオキシリボ核酸
mRNA**(Messenger Ribonucleic Acid) メッセンジャーリボ核酸








Monday, July 12, 2021

ศัพท์เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ

วันนี้จะขอแนะนำคำศัพท์เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ 
พยายามแปลให้ตรงกับคำไทย มีให้เลือกใช้หลากหลายคำ  ลองดู

不景気  ふけいき  เศรษฐกิจไม่ดี
景気後退 けいきこうたい เศรษฐกิจถดถอย
景気停滞 けいきていたい เศรษฐกิจชะงัก(ชะลอตัว)
景気減速 けいきげんそく เศรษฐกิจชะลอตัว
景気縮小 けいきしゅくしょう เศรษฐกิจหดตัว
経済不振 けいざいふしん เศรษฐกิจซบเซา
経済不況 けいざいふきょう สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
景気/経済の低迷 ~ていめい เศรษฐกิจตกต่ำ
経済崩壊 けいざいほうかい เศรษฐกิจล่มสลาย
経済回復 けいざいかいふく เศรษฐกิจฟื้นตัว



Thursday, June 24, 2021

หาแพะ!

ช่วงนี้งานเสียเยอะมาก  เฮ้อ
คิดไม่ออก บอกไม่ถูก.....หาแพะดีกว่า
เมื่อเช้าล่ามก็โดน  ถูกหาวาแปลไม่รู้เรื่องอ้ะป่าว
ตูงง

แพะในที่นี้ก็คือ "แพะรับบาป"  
ถ้าลองSearchหาดู ก็มีหลายคำที่พรุ่งพรูออกมา เช่น

スケープゴート
身代わり(みがわり)
生け贄 (いけにえ)
贖罪の山羊 (しょくざいのやぎ)

แต่ก็ไม่แน่ใจว่าถ้าใช้คำเหล่านี้แล้วมันจะสื่อได้รึป่าว
ก็เลยถามคนญี่ปุ่น เข้าจึงแนะนำคำนี้มาให้

"濡れ衣" ぬれぎぬ แปลตรงๆ จะหมายถึงเสื่้อผ้าเปียก
ตัวอย่างเช่น
濡れ衣を着せる (~きせる) โยนความผิดให้คนอื่น
濡れ衣を着る  ถูกโยนความผิด(เป็นแพะรับบาป)

คำนี้น่าจะจำแม่นแน่นอน  เพราะทุกคนคงจะเจอกันบ่อย 
Good Luck




Tuesday, June 1, 2021

稼働率と可動率#2

 ต่อจากบทความที่แล้ว

กรณีที่เรารู้ 可動率(Eff.Actual)   และต้องการรู้กำลังการผลิตจริง(Capacity)ว่าสามารถผลิตได้กี่โมลด์จากเวลาทำงานที่เรามี ก็ให้คำนวนตามนี้

    Eff.Actual   x     เวลาเดินเครื่องจักร    =   จำนวนโมลด์
                   เวลามาตรฐาน
  
    0.9375    x   28,800วินาที(480นาที)     =      900โมลด์
                  30วินาที

แล้วก็เรื่องของเวลามาตรฐาน(Cycle Time) 
เราคำนวณที่ 30วินาที แต่ความสามารถจริงของเครื่องจักรอาจใช้เวลามากกว่านั้น เช่น 32วินาที
เราสามารถใช้ 32วินาทีมาคำนวณได้ก็จริง คำนวณออกมา Eff.% ได้สูงมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ

แต่ในความเป็นจริง Eff Actual เราไม่สามารถทำได้ดีไปมากกว่านั้น นั่นก็หมายความว่าเราต้องปรับลดจำนวนโมลด์ลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง  ผลก็คือจำนวนโมลด์จะผลิตได้น้อยกว่าเดิม ซึ่งอาจไม่ได้ตามจำนวนงานที่ต้องผลิตส่งให้กับลูกค้า จนต้องเพิ่มเวลาการทำงานหรือเพิ่มชั่วโมงOT

*ถ้าฝ่ายผลิตอยากจะเพิ่มEff.  ก็ต้องพยายามลดความสูญเปล่าต่างๆ เพื่อให้ได้จำนวนโมลด์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงฝ่ายMN ก็ต้องพยายามดูแลเครื่องจักรให้สามารถเดินการผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จบข่าว