Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Thursday, June 24, 2021

หาแพะ!

ช่วงนี้งานเสียเยอะมาก  เฮ้อ
คิดไม่ออก บอกไม่ถูก.....หาแพะดีกว่า
เมื่อเช้าล่ามก็โดน  ถูกหาวาแปลไม่รู้เรื่องอ้ะป่าว
ตูงง

แพะในที่นี้ก็คือ "แพะรับบาป"  
ถ้าลองSearchหาดู ก็มีหลายคำที่พรุ่งพรูออกมา เช่น

スケープゴート
身代わり(みがわり)
生け贄 (いけにえ)
贖罪の山羊 (しょくざいのやぎ)

แต่ก็ไม่แน่ใจว่าถ้าใช้คำเหล่านี้แล้วมันจะสื่อได้รึป่าว
ก็เลยถามคนญี่ปุ่น เข้าจึงแนะนำคำนี้มาให้

"濡れ衣" ぬれぎぬ แปลตรงๆ จะหมายถึงเสื่้อผ้าเปียก
ตัวอย่างเช่น
濡れ衣を着せる (~きせる) โยนความผิดให้คนอื่น
濡れ衣を着る  ถูกโยนความผิด(เป็นแพะรับบาป)

คำนี้น่าจะจำแม่นแน่นอน  เพราะทุกคนคงจะเจอกันบ่อย 
Good Luck




Tuesday, June 1, 2021

稼働率と可動率#2

 ต่อจากบทความที่แล้ว

กรณีที่เรารู้ 可動率(Eff.Actual)   และต้องการรู้กำลังการผลิตจริง(Capacity)ว่าสามารถผลิตได้กี่โมลด์จากเวลาทำงานที่เรามี ก็ให้คำนวนตามนี้

    Eff.Actual   x     เวลาเดินเครื่องจักร    =   จำนวนโมลด์
                   เวลามาตรฐาน
  
    0.9375    x   28,800วินาที(480นาที)     =      900โมลด์
                  30วินาที

แล้วก็เรื่องของเวลามาตรฐาน(Cycle Time) 
เราคำนวณที่ 30วินาที แต่ความสามารถจริงของเครื่องจักรอาจใช้เวลามากกว่านั้น เช่น 32วินาที
เราสามารถใช้ 32วินาทีมาคำนวณได้ก็จริง คำนวณออกมา Eff.% ได้สูงมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ

แต่ในความเป็นจริง Eff Actual เราไม่สามารถทำได้ดีไปมากกว่านั้น นั่นก็หมายความว่าเราต้องปรับลดจำนวนโมลด์ลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง  ผลก็คือจำนวนโมลด์จะผลิตได้น้อยกว่าเดิม ซึ่งอาจไม่ได้ตามจำนวนงานที่ต้องผลิตส่งให้กับลูกค้า จนต้องเพิ่มเวลาการทำงานหรือเพิ่มชั่วโมงOT

*ถ้าฝ่ายผลิตอยากจะเพิ่มEff.  ก็ต้องพยายามลดความสูญเปล่าต่างๆ เพื่อให้ได้จำนวนโมลด์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงฝ่ายMN ก็ต้องพยายามดูแลเครื่องจักรให้สามารถเดินการผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จบข่าว 



Thursday, May 20, 2021

ถูกเอาจิตใจไป??

 วันก่อนได้มีโอกาสแปลรายงานเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ(Near Miss) หรือภาษาญี่ปุ่นพูดว่า “ヒヤリハット”

มีคำศัพท์ง่ายๆที่เราอาจนึกไม่ถึงมาแชร์ให้ฟัง  คือคำว่า  気をとられる  
ประโยคตัวอย่าง   地切りに気をとられたから、操作ボタンを押し間違えた。
แปลว่า   "มัวแต่ไปจดจ่อช่วงที่จะยกลอยขึ้นจากพื้น  ก็เลยกดปุ่มควบคุมผิดพลาด

อย่าไปแปลว่า ถูกเอาจิตใจไปนะ 555




Friday, April 23, 2021

PM

หลายๆคนคงคุ้นหูกันบ้างแล้วกับคำว่า PM
ซึ่งหมายถึงการ Preventive Maintenance (予防保全) หรือเรียกเป็นไทยว่า "การซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน" แต่คิดว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จักกับคำว่า Predictive Maintenance  (予知保全)"การซ่อมบำรุงเชิงพยากรณ์" เรามาทำความรู้จักกับ 2คำนี้กัน

Preventive Maintenance จะอาศัยประวัติการเสียของเครื่องจักรและนำมาวางแผนในการเปลี่ยนอะไหล่หรือซ่อมบำรุงไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันก่อนที่เครื่องจักรจะเสีย  

ส่วนPredictive Maintenance จริงๆแล้วก็มีวัตถุสงค์เหมือนกับPreventiveนั่นแหละ แต่จะอาศัยวิธีการเข้าไปตรวจเช็คและประเมินจากสภาพจริงว่าควรจะต้องรีบเปลี่ยนเลย หรือใช่ต่อไปอีกหน่อยแล้วค่อยเปลี่ยนก็ได้

ข้อดีของ Preventive จะป้องกันได้ดีและมีความเสี่ยงที่น้อยกว่า  แต่มีค่าใช้จ่ายมากกว่าเพราะบางทียังใช้ได้อยู่แต่ก็ต้องเปลี่ยนอะไหล่ตามแผน   แต่Predictiveจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าแต่ก็อยู่บนความเสี่ยง

ในการบริการจัดการก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องจักร  งบประมาณและปัจจัยอื่นๆด้วย



Thursday, April 8, 2021

พวกชอบรวบรัด

 ในการทำงานมักจะมีคนที่ไม่ทำตามขั้นตอน เค้าบอกให้ทำ (1),(2),(3) แต่ไปทำ(1),(3),(2) หรือข้ามขั้นตอน จนนำมาซึ่งอุบัติเหตุ หรือส่งผลต่อคุณภาพงาน  "พวกชอบรวบรัด" ตัดตอน มักง่าย มาเป็นชุด

พอดีไปเจอภาษาญี่ปุ่น เค้าเรียกพฤติกรรมนี้ว่า  "近道行動"  ちかみちこうどう 
ลองดูว่าเพื่อนข้างๆเรา เป็นหรือป่าว 555




Friday, April 2, 2021

สวม..

 เมื่อวานได้อ่านเว็บข่าวไทยเวอร์ชั้นญี่ปุ่น ไปเจอคำศัพท์คำนึง ไม่รู้ว่าทำไมมันช่างเหมือนกับภาษาไทยอะไรขนาดนั้น  เลยอยากจะแชร์ให้กับพวกเรา

   คำว่า "嵌める"  はめる ที่แปลว่า สวม เช่น สวมถุงมือ
 มันมีอีกความหมายนึง  ตามประโยคด้านล่างนี้
   " 誰かにはめられた" แปลว่า  "ถูกใครสักคนสวมรอย
เออออ....สวมเหมือนกันเลยอะ



Tuesday, March 9, 2021

ทรัพย์สิน / สินทรัพย์

 ห่างหายกันไปนาน พอดีมัวแต่ทำ Blog ข่าวไทยภาคภาษาญี่ปุ่นอยู่ www.thaispotnews.blogspot.com  ช่วงนี้มีงานแปลเกี่ยวกับระเบียบการประชุมกรรมการบริษัท (取締役会)ก็เลยต้องมาทบทวนกันอีกครั้ง ระหว่างคำว่า ทรัพย์สิน กับ สินทรัพย์

"ทรัพย์สิน" (Property)  ภาษาญี่ปุ่น   財産 ซึ่งจะแบ่งเป็น 
   - มีตัวตน 有形  เช่น  บ้าน, ที่ดิน
   - ไม่มีตัวตน 無形 เช่น ลิขสิทธิ์, สิทธิบัตร

ส่วน "สินทรัพย์" (Asset) ภาษาญี่ปุ่น  資産
 หมายถึง ทรัพย์สิน + หนี้ที่พึงเรียกร้องเอาได้

 OK เข้าใจตรงกัน