Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Wednesday, July 15, 2020

เทคนิคการฝึกอ่านนสพ.


กากของเสีย(โรงหล่อ)#2

การกำจัดทรายเก่า 廃砂の処理

ด้านการจัดการคือ
1) เราต้องมีการคัดแยก    分別徹底
2) เราต้องมีการป้องกันการปะปน   異物混入の防止

สำหรับวิธีการจะมี 3ข้อหลักๆดังนี้
1) นำไปใช้ประโยชน์   有効活用  เช่น นำไปใช้เป็น
    - セメント原料
 - 道路用骨材(路盤材、アスファルト混合材)
 -土壌改良 ปรับปรุงดิน
 -れんが原料
2) นำไปRecycle  再生
3) ฝังกลบ  埋立処理


กากของเสีย(โรงหล่อ)

วันนี้จะขอพูดถึง "กากของเสีย" (廃棄物)ที่มาจากโรงหล่อ
พะเอินทำงานอยู่โรงหล่อก็เลยอยากจะอธิบายให้ฟัง มีหลักๆดังนี้

1. 廃砂 はいすな ทรายเก่า(ถูกใช้แล้ว)
  - เกิดจากทรายที่Overflow (余剰砂 よじょうすな)จากระบบผสมทราย
 เนื่องจากมีการเติมทรายใหม่ (新砂 しんすな)
  - เกิดจากกระบวนการ Shotblast (ทำความสะอาดทรายที่ติดอยู่ที่ผิวงาน)   持出し砂
 ทรายส่วนนี้จะมีเหล็ก(鉄分)ผสมอยู่ ซึ่งสามารถคัดแยกออกจากกันได้
 โดยใช้แม่เหล็ก (磁選 じせん)
 - เกิดจากทรายที่หกหล่นอยู่ตามพื้นในไลน์การผลิต (こぼれ砂)

2.スラグ(ノロ)กากตะกรันจากกระบวนการหลอม (Slag)
3.集塵ダスト ฝุ่นจากระบบDust Collector (集塵装置 しゅうじんそうち)
4.耐火物くず เศษจากวัตถุดิบทนไฟ
5.อื่นๆ       เช่น เศษไส้แบบ (シェル殻 しぇるがら) ฯลฯ

                                                                                        つづく




      

Tuesday, July 14, 2020

หักพวงมาลัย!

เมื่อเดือนก่อน มีอุบัติเหตุรถโฟคลิฟท์พลิกคว่ำ (フォークリフト転倒)
ก็เลยเจอคำศัพท์ที่น่าสนใจอยู่คำนึง

"หักพวงมาลัย"  คำนี้ภาษาไทยเองก็ยังงง ว่ามันอยู่ดีๆๆของมัน...ทำไมต้องหักพวงมาลัยด้วย

คำนี้ภาษาญี่ปุ่นจะพูดว่า 急にハンドルを切る!
ของเค้าไม่หักเหมือนบ้านเรา  แต่ของเค้าใช้การตัด...เออแปลกดี


Monday, July 13, 2020

Lipda


Lipda????

เมื่อวันก่อนมีประชุมผจก. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร (連絡会議)
สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไมต้องแจ้งกันละเอียดขนาดนี้เลยเรอ

ที่ว่าละเอียด..เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟัง

ถ้าจำไม่ผิด..ผจก.รายงานถึงเรื่องการปรับตั้งองศาเครื่องจักร
ก่อนแก้ไข   ....ลิปดา     หลังแก้ไข.....ลิปดา
เราก็อึ้งไปพักนึง   เราก็ทับศัพท์ไปเลย  リプダー  
พูดเบาๆ  เพราะไม่แน่ใจว่าญี่ปุ่นจะรู้เรื่องป่าว???

นี่ก็เพิ่มรู้เหมือนกัน...

"ลิปดา" เป็นหน่วยย่อยขององศา 1ลิปดา เท่ากับ 1/60องศา
ภาษาญี่ปุ่น 分(ふん) และก็มีย่อยไปกว่านั้นอีก "ฟิลิปดา"  秒(びょう)
เรียกเหมือนกับหน่วยของเวลาเลย

ที่ผ่านมาก็จะรู้แค่พวกคำว่า ミクロン(μ)1/1000มม.
PPM  (Part per  Million)  1/1,000,000ส่วน
จะละเอียดอะไรขนาดน้าาาาาน!


Wednesday, July 8, 2020

พุ่มไม้

"พุ่มไม้" คำนี้เหมือนจะง่าย
พอดีอยากจะแปลถึงพุ่มไม้ที่เค้าปลูกตรงทางเข้าออฟฟิส..นึกภาพออกใช่มั้ย
ค้นหาในNet  ขึ้นมาเลยครับ

低木   ていぼく  ไม้พุ่ม

低木林         ていぼくばやし พุ่มไม้  เออ..เอาคำนี้และกัน

พอเช็คไปเช็คมาไม่ใช่
低木 จะหมายถึง ไม้พุ่ม (ชนิดของต้นไม้  ไม้พุ่ม ไม้ดอก ไม้ยื่นต้น..อะไรประมาณนั้น)
ส่วนคำว่า  低木林 จะหมายถึง เหล่าสุมทุมพุ่มไม้ในป่าโน่นแหนะ ..ไปไกลมาก

จนต้องถามคนญี่ปุ่น   และคำตอบที่ถูกต้องก็คือ

植え込み  うえこみ
จบข่าว



Monday, July 6, 2020

調停/仲裁との違い

จากบทความที่แล้วเรื่องของกฎหมาย เกิดความสงสัยขึ้นมาอีก
ระหว่างคำว่า 調停/仲裁  อ่านความหมายภาษาไทยก็แล้ว  ภาษาญี่ปุ่นก็แล้ว?????
แต่ก็ยังไม่เข้าใจ  จนถึงขั้นต้องสอบถามกับทางทนายเลยทีเดียว

อย่างที่เคยบอกไปว่าก่อนถึงชั้นศาลจะมีขั้นตอนของการไกล่เกลี่ย
Stepแรก ก็คือ 調停 คือการไกล่เกลี่ยโดยคู่กรณีตกลงให้บุคคลที่สาม (ผู้ไกล่เกลี่ย 調停者) มาช่วยไกล่เกลี่ยให้ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็สามารถไกล่เกลี่ยในStep ต่อไปได้  หรือจะไปชั้นศาลเลยก็ได้

Stepต่อไปที่พูดถึงก็คือ 仲裁 คือการตกลงให้บุคคลที่สาม(อนุญาโตตุลาการ 仲裁人)เข้ามาวินิจฉัยชี้ขาดให้ (คดีแพ่ง) แต่ถ้ายังตกลงกันไม่ได้อีก  คราวนี้ก็ต้องไปถึงชั้นศาล

ในชั้นศาล ศาลจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ถ้าไม่พอใจในคำตัดสิน ก็ยื่นอุทธรณ์  ฎีกา อะไรก็ว่ากันไป

ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาด จะเรียกว่า "ผู้พิพากษา 裁判官" (ศาลยุติธรรม 司法裁判所)
หรือเรียกอีกอย่างว่า "ตุลาการ 司法" (ศาลปกครอง 行政裁判所 /ศาลรัฐธรรมนูญ 憲法裁判所)