เพิ่งมีกฎหมายออกมาบังคับใช้เร็วๆนี้เอง
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี(会計年度)ปี2019
"พ.ร.บ ป้องกันราคาโอน" 移転価格税法
พ.ร.บนี้กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทต่างๆอาศัยการถ่ายโอนกำไรไปยังอีกบริษัทหนึ่ง
เพื่อลดยอดภาษีที่จะต้องจ่าย พูดง่ายๆก็คือ "หลีกเลี่ยงภาษี" นั่นแหละ 脱税
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจถึงความหมายของมันกันก่อน...
ราคาโอน (Transfer Pricing) 移転価格 หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันระหว่าง
บริษัทที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน (เช่น บริษัทแม่/บริษัทลูก)
กล่าวคือ มีการถือหุ้นตั้งแต่ 50%ขึ้นไป และบริษัทมีรายได้ต่อปี 200ล้านบาทขึ้นไป..ก็จะเข้าข่าย
ธุรกรรมที่เข้าข่าย
1. การซื้อขายสินค้าและบริการ 商品売買及び役務提供
2. การกู้ยืมเงิน 貸付
3. การโอนสินทรัพย์ 資産譲渡
เมื่อเข้าข่าย..บริษัทก็มีหน้าที่ต้องส่งรายงานให้กับสรรพกรโดยมี 2 ส่วนดังนี้
1. รายงานประจำปี Disclosure Form 付表フォーム
แสดงเนื้อหาความสัมพันธ์และมูลค่าธุรกรรม 関係性及び取引金額
2. เอกสารพิสูจน์ราคาโอน Transfer Pricing Documentation 移転価格文書
2.1 Master File แสดงภาพรวมการดำเนินธุรกิจ รวมถึงนโยบายการกำหนดราคาโอน
事業概況及び移転価格決定の方針
2.2 Local File แสดงรายละเอียดการประกอบธุรกิจ
เบื้องต้น ทางจนท.จะดูจาก Disclosure Form พิจาณาถึงความเสี่ยง
เมื่อเห็นว่ามีความเสี่ยง ก็จะขออำนาจจากอธิบดีกรมฯเพื่อร้องขอให้บริษัท
ส่ง TP Documentation เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของราคาโอนต่อไป
การพิสูจน์ราคาโอน
ก็ต้องอาศัยข้อมูล "ราคาตลาด" 市場価格 ซึ่งธุรกิจบางประเภทแทบจะไม่สามารถ
เข้าถึงข้อมูลนี้ได้เลย มันเป็นความลับของแต่ละบริษัท
หรือไม่ก็ต้องหาเหตุผลเชิงบังคับทางสัญญากับลูกค้า หรือเหตุผลภายในบริษัทเอง
ที่ส่งผลต่อราคา
ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายก็แล้วกัน ไม่อยากให้เป็นบริษัท トンネル会社!
(อ้างอิงบทความ トンネル会社!)ถ้าเจอบริษัทแบบนี้..โบนัสเราหายหมด
ล่ามญี่ปุ่น LamYeepun (日本語通訳) มะ..มาช่วยกันแชร์ภาษาญี่ปุ่น 《ผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ณ.ที่นี้ด้วย》
Main menu
dropdown
low-column
Thursday, March 19, 2020
VA/VE 提案
ภาวะเศรษฐกิจแบบนี้นะ รถก็ขายไม่ค่อยดี 売れ行き不振
ช่วงนี้จึงมีผู้ผลิตรถยนต์หลายๆรายร้องขอไปยังบริษัทSupplier ต่างๆเพื่อขอความร่วมมือในการ
ทำกิจกรรม CR (Cost Reduction) コスト低減活動
รวมถึงเรื่องของVA/VE Proposal ก็เลยอยากจะแนะนำคำนี้ให้รู้จัก
VA/VE ย่อมาจาก Value Analysis & Value Engineering
ภาษาญี่ปุ่น คือ 価値分析及び価値工学
คือการวิเคราะห์คุณค่าและวิศวกรรมคุณค่า ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับแก้ไขปัญหาด้านต้นทุน
เป็นการวิเคราะห์ฟังชั่น หน้าที่การทำงานของสิ่งนั้นๆ เพื่อนำมาหาแนวทางที่จะลดต้นทุน
Value = Function/Cost
ช่วงนี้จึงมีผู้ผลิตรถยนต์หลายๆรายร้องขอไปยังบริษัทSupplier ต่างๆเพื่อขอความร่วมมือในการ
ทำกิจกรรม CR (Cost Reduction) コスト低減活動
รวมถึงเรื่องของVA/VE Proposal ก็เลยอยากจะแนะนำคำนี้ให้รู้จัก
VA/VE ย่อมาจาก Value Analysis & Value Engineering
ภาษาญี่ปุ่น คือ 価値分析及び価値工学
คือการวิเคราะห์คุณค่าและวิศวกรรมคุณค่า ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับแก้ไขปัญหาด้านต้นทุน
เป็นการวิเคราะห์ฟังชั่น หน้าที่การทำงานของสิ่งนั้นๆ เพื่อนำมาหาแนวทางที่จะลดต้นทุน
Value = Function/Cost
Tuesday, March 17, 2020
ธุรกิจคนต่างด้าว#2
ต่อเลยและกัน...
ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ ว่าบริษัทเราเข้าข่ายธุรกิจบริการหรือป่าว!!!
ถ้าบริษัทมีแบรนด์เป็นของตัว พัฒนาออกแบบเอง ผลิตเอง ขายเอง..อันนี้ไม่เข้าข่ายแน่นอน
แต่ถ้าเรารับจ้างผลิต (受託製造)ซึ่งเคยมีคำวินิจฉัยออกมาแล้วว่า "เข้าข่ายธุรกิจบริการ"
การรับจ้างผลิตจะมีบริษัทอยู่ 2ประเภท
1) OEM (Original Equipment Manufacturer) ブランド製造
หมายถึง บริษัทที่รับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด
2) ODM (Original Design Manufacturer)
หมายถึง บริษัทที่รับจ้างผลิตเหมือนกับ OEM แต่ว่ามีKnowHow สามารถออกแบบเองได้
*หลายๆบริษัทรับแบบDrawingจากลูกค้ามาผลิต แล้วยังเข้าใจว่าเป็นผู้ผลิตโดยตรง
ก็ฝากทำให้ถูกต้องด้วยและกัน...ฮิๆๆๆๆ
ธุรกิจคนต่างด้าว#1
คิดว่าหลายๆคนคงจะทำงานกับบริษัทคนต่างด้าวแน่นอน
เออ..ก็ใช่นี่หว่า เราเป็นล่ามญี่ปุ่น ทำกับบริษัทญี่ปุ่น ไปทำกับบริษัทจีนคงแปลก!
วันนี้ที่จะพูดถึงคือเรื่องของ "การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว" 外国人事業(法)
ธุรกิจคนต่างด้าว หมายถึง บริษัทที่มีคนต่าวด้าวถือหุ้นตั้งแต่ 50%ขึ้นไป
ลองดูสิ..บริษัทเราใช่ป่าว?
*ถ้าทำธุรกิจที่ต้องได้รับอนุญาตจะต้องมีทุนจดทะเบียน(資本金)3ล้านบาทขึ้นไป
พ.ร.บการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ห้ามคนต่างด้าวทำธุรกิจที่ไม่อนญาต
บัญชี1 ห้ามด้วยเหตุผลพิเศษ リスト1 特別な理由で許可しない
บัญชี2 ห้ามเนื่องจากเกี่ยวกับความมั่นคง เว้นแต่ได้รับอนุญาต
リスト2 国家安全の関係で許可しない。許可を得た場合を除く。
บัญชี3 ห้ามเนื่องจากคนไทยไม่พร้อมแข่งขัน เว้นแต่ได้รับอนุญาต
リスト3 タイ人が競争態勢が整っていない為、許可しない。許可を得た場合を除く。
ซึ่งในบัญชี3 จะรวมถึงธุรกิจบริการอื่นด้วย (サービス業)
* แต่ก็มีธุรกิจบริการที่ได้รับการยกเว้น(คนต่างด้าวสามารถทำได้)
ตามกฎกระทรวง "กำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาต"
つづく
เออ..ก็ใช่นี่หว่า เราเป็นล่ามญี่ปุ่น ทำกับบริษัทญี่ปุ่น ไปทำกับบริษัทจีนคงแปลก!
วันนี้ที่จะพูดถึงคือเรื่องของ "การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว" 外国人事業(法)
ธุรกิจคนต่างด้าว หมายถึง บริษัทที่มีคนต่าวด้าวถือหุ้นตั้งแต่ 50%ขึ้นไป
ลองดูสิ..บริษัทเราใช่ป่าว?
*ถ้าทำธุรกิจที่ต้องได้รับอนุญาตจะต้องมีทุนจดทะเบียน(資本金)3ล้านบาทขึ้นไป
พ.ร.บการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ห้ามคนต่างด้าวทำธุรกิจที่ไม่อนญาต
บัญชี1 ห้ามด้วยเหตุผลพิเศษ リスト1 特別な理由で許可しない
บัญชี2 ห้ามเนื่องจากเกี่ยวกับความมั่นคง เว้นแต่ได้รับอนุญาต
リスト2 国家安全の関係で許可しない。許可を得た場合を除く。
บัญชี3 ห้ามเนื่องจากคนไทยไม่พร้อมแข่งขัน เว้นแต่ได้รับอนุญาต
リスト3 タイ人が競争態勢が整っていない為、許可しない。許可を得た場合を除く。
ซึ่งในบัญชี3 จะรวมถึงธุรกิจบริการอื่นด้วย (サービス業)
* แต่ก็มีธุรกิจบริการที่ได้รับการยกเว้น(คนต่างด้าวสามารถทำได้)
ตามกฎกระทรวง "กำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาต"
つづく
Friday, March 13, 2020
กินร้อนช้อนกลาง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า
รู้สึกว่ามันเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที
ทุกคนต่างตื่นตัวเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน 予防措置
หนึ่งในมาตรการ คือ กินร้อนช้อนกลาง
คำว่า "กินร้อน" หลายๆคนก็น่าจะพอหาคำศัพท์ได้
ที่หามาได้ก็คือ 充分に加熱した料理を食べる。 ไม่รู้มีคำที่ดีกว่านี้ป่าว?
加熱充分な料理 = อาหารปรุงสุก
แต่ที่หาในInternet ยังงัยก็ไม่เคลีย "ช้อนกลาง"
อืม... ในNet ก็...Central Spoonบ้าง Middle บ้างCenterบ้าง พรั่งพรูมากันใหญ่
บางกระทู้มีให้โหวดกันเลยทีเดียวว่าจะใช้คำไหน..เออ เอาสิ
แต่พี่ก็มาเจอคำนึงที่คิดว่าน่าจะใช้ Serving Spoon (เริ่มมีความหวังแล้ว)
แต่มันยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเพราะเราอยากรู้ภาษาญี่ปุ่น
Serch หาเลยครับ 「Serving Spoon 日本語] ก็ไม่เจอไม่เคลีย
สุดท้ายก็มาเจอคำนึง 給仕用スプーン (きゅうじ)เหมือนจะใช่
แต่คิดไปคิดมา วัฒนธรรมการกิน 食文化 ของเรากับญี่ปุ่นน่าจะต่างกัน
เพื่อความแน่ใจก็เลยถึงขั้นที่ต้องถามคนญี่ปุ่น
สรุป...คนญี่ปุ่นไม่เข้าใจคำนี้ 通じない!!!!
สุดท้ายแกก็ให้คำตอบมา เป็นคำตอบสุดท้ายว่า 取り分けスプーン
แค่หาคำๆเดียวกรูจะบ้าตาย
*ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพ ป้องกันตัวเองให้ดี...โชคดี
รู้สึกว่ามันเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที
ทุกคนต่างตื่นตัวเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน 予防措置
หนึ่งในมาตรการ คือ กินร้อนช้อนกลาง
คำว่า "กินร้อน" หลายๆคนก็น่าจะพอหาคำศัพท์ได้
ที่หามาได้ก็คือ 充分に加熱した料理を食べる。 ไม่รู้มีคำที่ดีกว่านี้ป่าว?
加熱充分な料理 = อาหารปรุงสุก
แต่ที่หาในInternet ยังงัยก็ไม่เคลีย "ช้อนกลาง"
อืม... ในNet ก็...Central Spoonบ้าง Middle บ้างCenterบ้าง พรั่งพรูมากันใหญ่
บางกระทู้มีให้โหวดกันเลยทีเดียวว่าจะใช้คำไหน..เออ เอาสิ
แต่พี่ก็มาเจอคำนึงที่คิดว่าน่าจะใช้ Serving Spoon (เริ่มมีความหวังแล้ว)
แต่มันยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเพราะเราอยากรู้ภาษาญี่ปุ่น
Serch หาเลยครับ 「Serving Spoon 日本語] ก็ไม่เจอไม่เคลีย
สุดท้ายก็มาเจอคำนึง 給仕用スプーン (きゅうじ)เหมือนจะใช่
แต่คิดไปคิดมา วัฒนธรรมการกิน 食文化 ของเรากับญี่ปุ่นน่าจะต่างกัน
เพื่อความแน่ใจก็เลยถึงขั้นที่ต้องถามคนญี่ปุ่น
สรุป...คนญี่ปุ่นไม่เข้าใจคำนี้ 通じない!!!!
สุดท้ายแกก็ให้คำตอบมา เป็นคำตอบสุดท้ายว่า 取り分けスプーン
แค่หาคำๆเดียวกรูจะบ้าตาย
*ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพ ป้องกันตัวเองให้ดี...โชคดี
Wednesday, March 11, 2020
物流(Logistics)#3
แถมคำศัพท์ที่น่าสนใจอื่นๆเกี่ยวกับLogistics
Demurrage Charge 超過保管料 ค่าดูแลตู้สินค้า
Detention 返却延滞料 ค่าคืนตู้สินค้าล่าช้า
Freight Prepaid 前払い運賃 ค่าขนส่งชำระต้นทาง
Freight Collect 運賃着払い ค่าขนส่งชำระปลายทาง
Port of Loading 荷積港 ท่าเรือโหลดสินค้า
Port of Discharge 荷卸港 ท่าเรือปลายทาง
Shipper 船荷主 ผู้ส่งสินค้าทางเรือ
Lashing ラッシング การจับยึดป้องกันสินค้าล้ม (荷崩れ)
Devanning デバンニング การโหลดสินค้าออกจากตู้
Vanning バンニング การโหลดสินค้าเข้าตู้
Drayage ドレージ การส่งสินค้าถึงที่หมายโดยตรงโดยไม่ต้อง Devanning
裏書き(する) สลักหลัง(เอกสาร)
保税倉庫 Bonded Warehouse คลังสินค้าทัณฑ์บน
เท่าที่รู้..คือถ้าจะเปิดคลังสินค้าลักษณะนี้ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
แต่ก็จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
1) กรณีนำเข้ามาเพื่อนำมาใช้ในประเทศ เมื่อนำออกมาใช้แล้วค่อยจ่ายภาษีภายหลังได้
2) กรณีนำเข้ามาเพื่อผ่านกระบวนการ และส่งออกต่อ จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า/ออก
3) สะดวกในการจัดการ สามารถโอนย้ายไปคลังสินค้าอื่นได้
ประมาณนี้....ลองศึกษาเพิ่มเติมดู
Demurrage Charge 超過保管料 ค่าดูแลตู้สินค้า
Detention 返却延滞料 ค่าคืนตู้สินค้าล่าช้า
Freight Prepaid 前払い運賃 ค่าขนส่งชำระต้นทาง
Freight Collect 運賃着払い ค่าขนส่งชำระปลายทาง
Port of Loading 荷積港 ท่าเรือโหลดสินค้า
Port of Discharge 荷卸港 ท่าเรือปลายทาง
Shipper 船荷主 ผู้ส่งสินค้าทางเรือ
Lashing ラッシング การจับยึดป้องกันสินค้าล้ม (荷崩れ)
Devanning デバンニング การโหลดสินค้าออกจากตู้
Vanning バンニング การโหลดสินค้าเข้าตู้
Drayage ドレージ การส่งสินค้าถึงที่หมายโดยตรงโดยไม่ต้อง Devanning
裏書き(する) สลักหลัง(เอกสาร)
保税倉庫 Bonded Warehouse คลังสินค้าทัณฑ์บน
เท่าที่รู้..คือถ้าจะเปิดคลังสินค้าลักษณะนี้ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
แต่ก็จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
1) กรณีนำเข้ามาเพื่อนำมาใช้ในประเทศ เมื่อนำออกมาใช้แล้วค่อยจ่ายภาษีภายหลังได้
2) กรณีนำเข้ามาเพื่อผ่านกระบวนการ และส่งออกต่อ จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า/ออก
3) สะดวกในการจัดการ สามารถโอนย้ายไปคลังสินค้าอื่นได้
ประมาณนี้....ลองศึกษาเพิ่มเติมดู
Tuesday, March 3, 2020
物流(Logistics)#2
ต่อเลยและกัน
ใบ D/O (Delivery Order) 荷渡し指示書
จะนำไปผ่านพิธีการศุลกากร+ชำระภาษี ก่อนจะนำสินค้าออก
*บางครั้งด้วยเงื่อนไขของระยะเวลาการขนส่ง ทำให้สินค้าอาจส่งไปถึงก่อนที่ใบB/L ต้นฉบับจะไปถึง
จึงมีการทำ "Surrender B/L" ไว้ตั้งแต่ต้นทาง
โดยผู้ส่งออกประสานงานกับบริษัทเรือ(ประทับตรา/เซ็นชื่อ) เพื่อทำ Surrender B/L.....
เพื่อให้ทางฝั่งผู้นำเข้าสามารถติดต่อกับบริษัทเรือปลายทางเพื่อให้ปล่อยสินค้าได้
โดยไม่ต้องใช้ "Original B/L"
ยังมีอีกใบนึง "Sea Way Bill" ซึ่งเหมือนกับ B/Lทั่วไป แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
กล่าวคือ Consignee ที่ระบุในเอกสารเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์รับสินค้า
ซึ่งจะไม่มีเงื่อนไขเหมือนกับB/Lทั่วไปที่ต้องนำ Original B/L ไปแลกเป็นD/O เพื่อปล่อยสินค้า
เอกสารนี้มักจะใช้ประสานงานกันระหว่าง สายเรือกับ Forwarder
จบข่าว
ใบ D/O (Delivery Order) 荷渡し指示書
จะนำไปผ่านพิธีการศุลกากร+ชำระภาษี ก่อนจะนำสินค้าออก
*บางครั้งด้วยเงื่อนไขของระยะเวลาการขนส่ง ทำให้สินค้าอาจส่งไปถึงก่อนที่ใบB/L ต้นฉบับจะไปถึง
จึงมีการทำ "Surrender B/L" ไว้ตั้งแต่ต้นทาง
โดยผู้ส่งออกประสานงานกับบริษัทเรือ(ประทับตรา/เซ็นชื่อ) เพื่อทำ Surrender B/L.....
เพื่อให้ทางฝั่งผู้นำเข้าสามารถติดต่อกับบริษัทเรือปลายทางเพื่อให้ปล่อยสินค้าได้
โดยไม่ต้องใช้ "Original B/L"
ยังมีอีกใบนึง "Sea Way Bill" ซึ่งเหมือนกับ B/Lทั่วไป แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
กล่าวคือ Consignee ที่ระบุในเอกสารเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์รับสินค้า
ซึ่งจะไม่มีเงื่อนไขเหมือนกับB/Lทั่วไปที่ต้องนำ Original B/L ไปแลกเป็นD/O เพื่อปล่อยสินค้า
เอกสารนี้มักจะใช้ประสานงานกันระหว่าง สายเรือกับ Forwarder
จบข่าว
Subscribe to:
Posts (Atom)