Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Monday, June 29, 2020

没収/押収との違い

สวัสดีทุกคน
เรื่องที่นำมาเขียน..ก็ยังคงเป็นเรื่องของกฎหมาย  ไม่รู้เบื่อกันยัง
จากบทความที่แล้ว มันชวนให้สงสัยระหว่างคำว่า 没収/押収
ก็เลยตรวจสอบมาให้

อย่างที่บอกไป 没収 แปลว่า "ริบทรัพย์"  เป็นโทษอย่างนึงในคดีอาญา
ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกริบจะตกเป็นของแผ่นดิน

ส่วน押収 แปลว่า "ยึดทรัพย์" เป็นการบังคับคดีทางแพ่ง(民事執行)
เช่นศาลสั่งให้ยึดทรัพย์ เพื่อนำไปขายทอดตลาดและชำระหนี้
หรือใช้กับการยึดของกลาง(証拠物件)จากการตรวจค้น(捜索)ของทางตำรวจ

และอีกคำนึงที่หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าต่างกันยังงัย  คำว่า "อายัด"
ภาษาญี่ปุ่นคือ 凍結 หมายถึง ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินหรือสิทธิใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน
แต่ไม่ถึงกับยึด

จบข่าว


ฟ้องศาล#3

สำหรับโทษในคดีอาญา(刑事罰) มี 5ขั้นดังต่อไปนี้

1. โทษประหารชีวิต   死刑
2. โทษจำคุก  懲役/禁固刑 (เรื่อนจำ)      (จำคุกตลอดชีวิต  終身刑)
3. กักขัง   拘留 (โรงพัก)
4. โทษปรับ  罰金刑  / เปรียบเทียบปรับ 科料
5. ริบทรัพย์  没収

อย่างไรก็ตามในชั้นศาล...เค้าจะมีขั้นตอนของการไกล่เกลี่ย  (調停/仲裁)ถ้ายอมความกันได้ก็ถือว่ายุติข้อพิพาท (紛争解決)

*ข้อเสริมอีกนิดนึง..ระหว่างคำว่า 懲役/禁固
ในกฏหมายญี่ปุ่นจะแตกต่างกันในเรื่องของการใช้แรงงานนักโทษ(囚人の労働)
  懲役 ใช้แรงงาน 
       禁固 ไม่ได้ใช้แรงงาน
  แต่กฎหมายไทยไม่แน่ใจว่าเค้ามีแบ่งแยกแบบนี้รึป่าว???

อ่านแล้วก็อย่าไปมีเรื่องมีราวกับใครเป็นดีที่สุด    ตายเปล่า...เราอะ555





Wednesday, June 24, 2020

ฟ้องศาล#2


ศาลก็จะประกอบไปด้วย  ศาลเจ้าที่ ศาลพระภูมิ เอ้ย! ..ไม่ใช่
ที่จะพูดถึงในที่นี้ก็คือศาลยุติธรรม (司法裁判所)จะมี3ขั้นเรียกว่า 三審制 คือ
1. ศาลชั้นต้น   第一審裁判所 
2.ศาลอุธรณ์    控訴裁判所
3. ศาลฎีกา 最高裁判所

 หลังจากการแถลงคำตัดสินของศาลชั้นต้น ถ้าไม่พอใจในคำตัดสิน 
เราสามารถยื่นอุธรณ์ต่อไปได้จนไปถึงศาลฎีกา ซึ่งศาลอาจยืนคำตัดสินเดิมหรือยกเลิกคำตัดสินเดิมซึ่งอยู่กับดุลพินิจของศาล

判決言い渡し    はんけついいわたし  พิพากษา
不服     ふふく    ไม่พอใจคำตัดสิน
控訴(する)   こうそ    ยื่นอุธรณ์
上告(する) じょうこく  ยื่นฎีกา
原判決の維持 げんはんけつのいじ ยืนคำตัดสินเดิม
原判決の破棄 げんはんけつのはき ยกเลิกคำตัดสิน



                    つづく