Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Thursday, August 27, 2020

Diaphragm#2

 ในหลักการเดียวกันนี้ จึงมีการนำไปใช้กับอุปกรณ์ควบคุมแรงดันต่างๆ (ลม, น้ำมัน)

ยกตัวอย่าง เช่น  "WasteGate" นักซิ่งจะรู้ดี เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกันกับ Turbo หรือกังหันอัดอากาศในเครื่องยนต์(過給機)  ซึ่งใน WasteGate ก็จะมีแผ่นไดอะแฟรมเป็นส่วนประกอบด้วยเช่นกัน

หลักการทำงานคือ ไอเสียที่ได้จากการเผาไหม้จะไปปั่นใบพัดฝั่งไอเสีย และทำให้ใบพัดฝั่งไอดีที่อยู่ในแกนเดียวกันหมุนตามไปด้วย เมื่อใบพัดหมุนเร็วขึ้น...อากาศทางฝั่งไอดีก็จะไหลเข้าไปได้เร็วขึ้นแรงขึ้น แต่ถ้าใบพัดหมุนเร็วจนเกินLimit ก็จะทำให้ Turbo พังได้  จึงต้องมีอุปกรณ์ WasteGateเพื่อช่วยระบายไอเสียส่วนเกินให้ไหลออกไป

แรงดันจากท่อไอดีที่ต่อพ่วงมาที่ WasteGate จะไปดันแผ่น "ไดอะแฟรม" ให้ขยายตัว และเมื่อแรงดันมีเพิ่มขึ้นจนชนะแรงกดของสปริง ก็จะทำให้วาล์วเปิดออกและระบายไอเสียส่วนเกินออกไป เพื่อรักษาแรงดันไม่ให้เกินจากที่กำหนด













Diaphragm

 เพิ่งประชุมหมาดๆเมื่อวาน ทางแผนกซ่อมบำรุงรายงานถึงเรื่องการเปลี่ยนแผ่น "ไดอะแฟรม" ตอนแรกเราก็เข้าใจว่ามันคล้ายๆกับประเก็น หรือซีลกันรั่ว แต่จริงๆแล้วไม่ใช่   ใช้เวลาค้นคว้าอยู่พักใหญ่....มามา มาเรียนรู้ไปด้วยกัน

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจในหลักการของมันก่อน

"ไดอะแฟรม" (Diaphragm) ถ้าเป็นร่างกายมนุษย์ก็จะเปรียบเสมือนกับ "กะบังลม"  横隔膜

ตำแหน่งของกะบังลมจะอยู่ระหว่าง ซี่โครงกับท้อง น่าจะแถวลิ้นปี่? ซึ่งกะบังลงจะขยายตัวเมื่อเราหายใจเข้า และหดตัวกลับเมื่อเราหายใจออก 

ให้ลองนึกถึงลูกโป่งที่เราสูบลมเข้าไป ลูกโป่งจะขยายใหญ่ขึ้นเมื่อมีอากาศเข้าไป ซึ่งในตอนนี้แรงดันภายในจะยังคงคงที่ จนกระทั่งลูกโป่งไม่สามารถขยายตัวได้ไปมากกว่านั้นและยังมีอากาศเข้าไปอีกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในตอนนี้แรงดันภายในจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆๆๆ...จนลูกโป่งแตกไปในที่สุด

                                              つづく




Wednesday, August 26, 2020

วิธีการคำนวณอากรนำเข้า 輸入関税

 เมื่อวันก่อนมีคนญี่ปุ่นมาถามกับผู้จัดการซื้อเรื่องการคำนวณภาษีนำเข้า ก็เลยลองค้นข้อมูลเก่าที่เคยเช็คเอาไว้ ซึ่งจะเริ่มต้นจาก 3ข้อนี้

1. C = Cost    ราคาสินค้า 物価代金

2. I = Insurance  ค่าประกันภัย 保険料

3. F = Freight  ค่าขนส่ง 運賃

วิธีการคำนวณคือ  C + I + F   x  อัตราภาษี    =   อากรนำเข้า 輸入関税

นอกจากภาษีอากรนำเข้า ก็ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)ที่ต้องชำระด้วย

วิธีการคำนวณคือ  C + I + F + อากรนำเข้า  x  อัตราVat 7%    =   ภาษีมูลค่าเพิ่ม 付加価値税

อัตราภาษีจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่นำเข้า (พิกัด)

พิกัดศุลกากร หรือ HS Code ย่อมากจาก " Harminozed System Code"








未実現為替差損/差益#2

ยกตัวอย่าง ในกรณีของยอดลูกหนี้คงค้าง(Account Receivable)

หลังจากฝ่ายขายออก Invoice  ทางบัญชีก็จะตั้งบัญชีลูกหนี้(ตามมูลค่าซื้อขายในInvoice)
ยอดเงิน 100,000 $   x  30฿ (อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่ออก Invoice) =  3,000,000฿

ณ.สิ้นเดือน ระหว่างที่ยังไม่ถึงDueที่จะได้รับการชำระเงิน 
ซึ่งจะใช้ Rateอัตราแลกเปลี่ยนณ.สิ้นเดือนมาประเมิน Unrealized เพื่อรับรู้ยอดดังกล่าว
ยอดเงิน 100,000 $   x  29฿ (อัตราแลกเปลี่ยนณ.สิ้นเดือน) =  2,900,000฿

ส่วนต่าง  3,000,000 - 2,900,000  = ▲100,000฿ (Unrealized Loss   未実現為替差損)
พอข้ามไปวันที่1ของเดือนถัดไปก็จะReverse จากยอด(-)ไปเป็นยอด(+) เพื่อรีเซทให้เป็น "ศูนย์"

และเมื่อถึงDue รับชำระจริง  ก็จะใช้Rateในวันที่รับชำระเงินมาคำนวณ..
ยอดเงิน 100,000 $   x  32฿ (อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่รับชำระ) =  3,200,000฿
ส่วนต่าง  3,000,000 - 3,200,000  = +200,000฿ (Gain of Exchange   為替差益)
*ในStepนี้จะไม่ใช่ Unrealized   เพราะเราได้รับเงินมาจริงๆแล้ว)

กรณีของเจ้าหนี้คงค้าง(AP) ก็ใช้หลักการเดียวกัน

จบข่าว





Friday, July 31, 2020

未実現為替差損/差益 

未実現為替差損/差益
 ฮืม..เห็นคันจิยาวติดกันเป็นผืด อย่าเพิ่มถอดใจนะ
สัปดาห์ก่อนมีโอกาสได้เป็นล่ามให้กับทางบัญชี  ก็เลยอยากแนะนำให้รู้จักกับคำนี้

ภาษาอังกฤษเรียกว่า Unrealized Gain/Loss of Exchange
"กำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง"


หมายถึง การนำยอดลูกหนี้คงค้าง(AR)หรือเจ้าหนี้คงค้าง(AP)ที่มีการซื้อขายด้วยเงินตราต่างประเทศ มาคำนวณผลต่างระหว่างมูลค่าการซื้อขายจริงตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ.วันที่นั้นๆที่มีการออกInvoice เทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนณ.สิ้นเดือน เพื่อให้รับรู้ถึงผลต่างดังกล่าวทางบัญชี 


คำศัพท์
為替   かわせ  การแลกเปลี่ยนเงินตรา
売掛金  うりかけきん  ยอดลูกหนี้คงค้าง
買掛金  かいかけきん  ยอดเจจ้าหนี้คงค้าง
外貨   がいか  เงินตราต่างประเทศ

                                  つづく



Friday, July 24, 2020

รถยนต์ FCV ?


ย้อนกลับไปถึงการทดลองวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียน
จากหลักการที่ว่า " พลังงานไฟฟ้าสามารถแยกไฮโดรเจนกับออกซิเจนออกจากกันได้ (H2O)
จึงเป็นที่มาของเรื่องนี้

FCV ย่อมาจาก  Fuel Cell Vihecle  หรือเรียกว่า 
"รถยนต์หพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง" (燃料電池自動車)

แทนที่จะใช้น้ำมันเชื้อเพลิง  แต่เราจะใช้ไฮโดรเจนเติมเข้าไป  (H + O)
และจะเกิดปฏิกริยา Oxidation  ซึ่งมีแผ่น Bipolar Plate เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด
อิเลคตรอนอิสระ(自由電子 = 電気)เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า
และส่งต่อไปยังมอเตอร์

Output ที่ได้ก็คือ พลังงานไฟฟ้า  และน้ำ(แทนที่จะเป็นไอเสีย)


排気(ไอเสียรถยนต์) #2

การกรองไอเสีย (Catalytic)

จะอาศัยการเร่งปฏิกริยาทางเคมี (化学反応)
1.Oxidation (酸化) การรวมตัวของออกซิเจน
2.Reduction (還元) การสูญเสียออกซิเจน

อ้างอิง: 酸化

มีหลักการในการจัดการกับสารพิษดังต่อไปนี้
1. ไฮโดรคาร์บอน (CH)   อาศัยปฏิกริยา Oxidation ให้เกิดการรวมตัวของออกซิเจน
        C + O2   =   CO2   คาร์บอนไดออกไซด์
        H2 + O   =   H2O   น้ำ (ไอน้ำ)

2. คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)   อาศัยปฏิกริยา Oxidation ให้เกิดการรวมตัวของออกซิเจน
        C O+ O   =   CO2   คาร์บอนไดออกไซด์

3. ไนโตรเจนออกไซด์ (NO)   อาศัยปฏิกริยา Reduction ให้เกิดการแยกตัวของออกซิเจน
       N <----> O   =   N   ก๊าซไนโตรเจน
                                 O   ก๊าซออกซิเจน