Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Monday, December 12, 2022

คันจิแห่งปี2022

ประเทศญี่ปุ่นประกาศ "คันจิประจำปี2022 (今年の漢字)ณ.วัดคิโยมิซุ
จากคะแนนโหวตทั้งหมด 223,768 ที่ได้คะแนนโหวตสูงสุด ได้แก่


  いくさ  แปลว่า "สงคราม" (10,804 โหวต  4.83%)

และลำดับถัดไปดังนี้

2位:「安」10,616 โหวต
3位:「楽」7,999 โหวต
4位:「高」3,779 โหวต
5位:「争」3,661 โหวต

เหตุผลเนื่องจากปีนี้มักจะมีแต่ข่าวคราวเกี่ยวกับสงครามรัสเซียยูเครน รวมถึงการยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
อืม ตอนแรกเครียดเลย นึกว่าญี่ปุ่นจะไปสู้รบกับใคร?











Monday, December 5, 2022

ヘドロ

 สวัสดีทุกคน

สำหรับโรงประกอบคงหนีไม่พ้นที่จะเจอกับปัญหาสต๊อกเยอะ ผู้บริหารพูดกรอกหูทุกเดือน "ต้องลดสต๊อกๆๆๆๆๆๆ" วันนี้เลยอยากจะเสนอคำว่า "ヘドロ" 

คำนี้ถ้าแปลตรงๆจะหมายความว่า "โคลนตม" ซึ่งในเชิงของการจัดการสต๊อกสินค้าจะหมายถึง สินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ เรียกอย่างเป็นทางการว่า 不動在庫
ซึ่งอาจมีสาเหตุจาก  ซื้อมามากเกิน ผลิตมากเกิน หรือ มีการจัดเก็บที่ไม่ดี
ซึ่งส่งผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน (資金繰り)、และมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมสต๊อก(在庫管理)

และมีอีกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันตรงที่เราคิดว่าน่าจะขายได้จนซื้อเข้ามามากจนเกินไป ซึ่งเรียกว่า 過剰在庫 และถ้าเก็บไว้นานเข้าก็จะกลายเป็น 不良在庫

ส่วนอีกคำ คือ 滞留在庫 ประมาณว่าไม่น่าจะขายได้ เก็บไว้นานจนเสื่อมสภาพหรือใกล้จะหมดอายุ ใกล้จะเป็นDead Stockและ (死蔵在庫)

และถ้านึกถึงการแก้ไข คำนี้ก็จะโผล่ขึ้นมาในหัวทันที 適正在庫 
น่าจะคบทุกคำในพจนานุกรมและ ขอลาไปก่อน บ๊ายบาย!!!!!










               

Tuesday, November 1, 2022

กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 為替差損・差益#2

 อีกส่วนนึงคือ ตอนได้รับเงินโอนจากลูกค้า (入金時)


ราคาขาย                    390 เยน
อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่ออก Invoice  4.0  
390 / 4.0  =   97.5 บาท

เทียบกับ
อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่รับเงิน  3.9
390 / 4.2 =  92.8 บาท

ส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน      92.8 - 97.5    =   -4.7 (ขาดทุน)


เป็นการขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง “実現”
ซึ่งขาดทุนทั้ง2ส่วนจะโชว์ในP/L เพื่อสะท้อนออกมาเป็นกำไรสุทธิ์(経常利益)หลังจากหักกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

จบ




กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 為替差損・差益

เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ประชุมกันเป็นมหากาพย์เลยทีเดียวเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน

แน่นอนว่าการซื้อขายในประเทศ เราซื้อขายเป็นเงินไทยอยู่แล้วก็คงไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้ามีการซื้อขายกับต่างประเทศเมื่อไหร่(外貨建て取引)
เราก็จะมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน

มันเริ่มตั้งแต่ที่เราออกInvoiceขาย  ส่วนนี้เป็นในส่วนของการตั้งหนี้ (売掛 AR)
ตัวอย่าง กรณีขายสินค้าให้กับลูกค้าในต่างประเทศ  

ราคาขาย                    390 เยน
อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่ออก Invoice  4.0  
390 / 4.0  =   97.5 บาท

เทียบกับ
อัตราแลกเปลี่ยนณ.สิ้นเดือน   3.9
390 / 3.9 =  100 บาท

ส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน      100 - 97.5    =   +2.5 (กำไร)

*เป็นการรับรู้กำไรขาดทุนทางบัญชีที่ต้องโชว์ตัวเลขใน P/L (損益計算書)
ซึ่งในเดือนถัดไปจะถูกReverse กลับ  จาก (+) ---> (-)  เพื่อรีเซทให้เป็น "ศูนย"

การขาดทุนยังไม่เกิดขึ้นจริงนี้ เรียกว่า “未実現” Unrealized
รวมถึงการนำเงินเยนที่ฝากในบัญชีมาคำนวณกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนก็ถือเป็น Unrealized เช่นกัน

 





Tuesday, October 25, 2022

พิกัด 座標

สวัสดีทุกคน

ขอโทษที่หายหน้าหายตาไปนาน เพราะก่อนหน้านี้โดนบริษัทเก่าไล่ออก! ก็เลยต้องวุ่นวายกับการหางานและปรับตัวกับบริษัทใหม่
เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า  สำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานในโรงแมชชีนก็น่าจะเคยได้ยินคำว่า "พิกัด" หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “三次元座標” อย่างแน่นอน   พิกัดคือตำแหน่งของวัตถุในเชิงสามมิติ โดยมีจุดศูนย์(原点)เป็นจุดอ้างอิง

     X軸  +X  -X    ซ้าย/ขวา
     Y軸        +Y  -Y        หน้า/หลัง
     Z軸  +Z   -Z       บน/ล่าง

แต่เพิ่งรู้ว่ามันมีนอกเหนือจากนั้น     A B C  อักษรภาษาอังกฤษ 3ตัวหน้าก็ถูกเอามาใช้

    +A หรือ U   การหมุนรอบแกน X  X軸周りの回転
    +B หรือ V   การหมุนรอบแกน Y
    +C หรือ W   การหมุนรอบแกน Z




   

Tuesday, August 31, 2021

ภาษีเงินได้หักณ.ที่จ่าย#2 (法人所得税)

 ต่อจากบทความก่อนหน้านี้

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (法人所得税)
 2.1 เมื่อมีการจ่ายเงินให้กับSupplier ฯลฯ บริษัทจะหักภาษีไว้เพื่อนำส่งสรรพกร
    2.2 ในทางกลับกัน เมื่อได้รับเงินจากลูกค้า บริษัทจะถูกหักเงินออกไปด้วยเช่นกัน

การหักณ.ที่จ่าย จะหักตามอัตราที่กำหนด เช่น
ถ้าเป็นค่าบริการ 3%, ค่าเช่า 5%, ค่าขนส่ง 1% เป็นต้น

ซึ่งส่วนที่ถูกหักในข้อ2.2 จะถูกนำไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจาก "กำไรสุทธิ" ตามอัตราภาษีที่กำหนด (บริษัททั่วๆไป 20%    ธุรกิจSME(中小企業)จะเป็นแบบขั้นบันได 15%, 20%)

แต่กรณีที่บริษัทมีผลประกอบการขาดทุนสะสม(繰越し欠損金/累損)ในช่วงระยะเวลา 5ปีมีผลเป็นลบก็สามารถนำไปลดหย่อนกำไรสุทธิได้  

(กำไรสุทธิ - ขาดทุนสะสม) x อัตราภาษี -  ภาษีที่ถูกหัก(ข้อ2.1)
= ชำระภาษีเพิ่ม /  ขอคืนภาษี
          
*ภาษีนิติบุคคลยื่นปีละครั้ง สามารถขอคืนได้ภายในระยะเวลา 3ปี





Friday, August 27, 2021

เหมา

 เหมา ภาษาญี่ปุ่นว่างัย?  ก็เพิ่งรู้วันนี้นี่แหละ
พอดีไปเจอคำว่า “貸切” かしきりในพื้นที่โฆษณา
ซึ่งก็หมายถึง การให้บริการแบบ "เช่าเหมา" ต่างๆ เช่น ห้องพัก สถานที่หรือยานพาหนะต่างๆ

ถ้ายึดจากตัวผู้เช่าก็จะใช้คำว่า 借り切る  
ก็เลยเอามุขเดียวกันไปต่อยอด  เลยได้เพิ่มเติมมาอีกคำ
"買い切る" ซื้อเหมาหมด
เออ..มันเป็นคำง่ายๆแต่ เพิ่งรู้ 555