Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Friday, September 11, 2020

稼働率と可動率

 稼働率と可動率  

ระหว่าง2คำนี้ ดูเผินๆเหมือนจะอ่านออกเสียงเหมือนกัน ความหมายก็น่าจะเหมือนกัน เขียนได้2แบบหรือป่าว???     แต่.. สองคำนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  เดี๋ยวจะเหลาให้ฟัง

稼働率 อ่านว่า かどうりつ  ส่วน可動率  อ่านว่า  べきどうりつ
คำว่า "稼働率"ในความเข้าใจทั่วๆไป ก็จะหมายถึงประสิทธิภาพการเดินของเครื่องจักร หรือ Efficiency 
เป็นคำที่พวกเราคุ้นเคยกันดี ซึ่งเข้าใจตามนี้ก็ไม่ผิดอะไร

แต่ความหมายจริงๆ จะเป็นเรื่องของ สัดส่วนภาระงาน(生産負荷) 
สมมุติ...เครื่องMolding  มีกำลังการผลิต   100โมลด์/วัน (เวลาทำงานปกติ)
และมีออเดอร์จากลูกค้า ซึ่งต้องผลิตที่ 70โมลด์  ก็จะเท่ากับ 稼働率70%
* ดัชนีนี้มีไว้สำหรับพิจารณาเพื่อวางกลยุทธิ์การขาย การผลิต การลงทุนหรือจัดการเครื่องจักร

ส่วน"可動率" หมายถึง สัดส่วนเวลาการเดินเครื่องจักร
สมมุติ...เครื่องMolding มีเวลาเดินเครื่อง 8ชั่วโมง/วัน
แต่พอผลิตจริงอาจมีปัญหาเครื่องจักรหยุด หรือมีเรื่องของการเตรียมงานเปลี่ยนโมเดล(段取替え)ทำให้เครื่องจักรเดินได้จริงๆแค่ 7.5ชั่วโมง ก็จะเท่ากับ 可動率93.75%

ซึ่งการคำนวณเวลาที่เครื่องจักรเดินได้จริงๆ เป็นไปตามสูตรนี้

จำนวนโมลด์ที่ผลิตจริง  𝖷   เวลามาตรฐาน (เช่น Cycle Time  30วินาที/โมดล์)
                                        เวลาเดินเครื่องจักรทั้งหมด

900โมลด์ 𝖷 30วินาที  -->27,000/60 = 450นาที(7.5ชั่วโมง)
                                                              480นาที(8.0ชั่วโมง)
                             
                                                  可動率        =  93.75%


อ้างอิงจาก: カイゼンベース








Wednesday, September 9, 2020

งบกระแสเงินสด#3

 2. สินทรัพย์(資産)
   2.2 สินค้าคงเหลือ(棚卸資産)
   สต๊อก↑              เงินสด↓      ..... ใช้เงินไปกับการผลิตงาน
            สต๊อก↓              เงินสด↑      ..... ผลิตน้อยลง เงินเหลือ

3.ดอกเบี้ยจ่าย(利息の支払)  เงินสด↑  .....กู้เงินมา..เงินสดเลยมีเพิ่มขึ้น
   ดอกเบี้ยรับ(利息の受取)    เงินสด  .....เอาเงินไปฝากธนาคาร..เงินสดเลยลดลง

ยกตัวอย่างขนาดนี้ก็น่าจะพอเข้าใจถึงแนวคิดกันบ้างแล้ว
งั้นขอลาไปก่อน ByeBye



Tuesday, September 8, 2020

งบกระแสเงินสด#2

การคำนวณจะเริ่มตั้งต้นจาก ยอดBalance CashFlow ที่ยกยอดมาจากเดือนก่อน 
จากนั้นก็นำไปหักลบ(+/-)กับยอดกำไรสุทธิ (純利益หรือเรียกว่า 経常利益 )รวมถึงหัวข้อต่างๆตามBalance Sheet (貸借対照表)โดยดูจากยอดของเดือนนี้เปรียบเทียบกับเดือนก่อนว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง 
ยกตัวอย่างในส่วนของ 営業キャッシュフロー ซึ่งมีแนวคิดดังต่อไปนี้

1.หนี้สิน(負債)   หนี้สิน ↑              เงินสด ↑       
   1.1 เจ้าหนี้การค้า(仕入れ債務หรือ買い掛け)
   เจ้าหนี้↑              เงินสด ↑       .... ยังไม่ได้จ่ายเงินเค้าอะดิ  เลยมีเงินสดเพิ่ม
            เจ้าหนี้↓              เงินสด ↓       .... เอาเงินสดจ่ายหนี้เค้าไปแล้ว  เงินสดเลยลดลง
   1.2 หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ
   1.3 ค่าใช้จ่ายคงค้าง

2.สินทรัพย์ (資産)  สินทรัพย์ ↑              เงินสด↓ 
   2.1 ลูกหนี้การค้า (売上げ債権หรือ売り掛け)
     ลูกหนี้↑              เงินสด↓      ..... ลูกหนี้ยังไม่ได้จ่ายเงินมาให้เรา เงินสดเลยลดลง
           ลูกหนี้↓              เงินสด↑      ..... ลูกหนี้จ่ายเงินให้เรามาแล้ว เลยมีเงินสดเพิ่ม

ยังไม่งงกันใช่มั้ย   ติดตามต่อ つづく



งบประแสเงินสด

 งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow)

ในทุกเดือนทางAdmin จะมีการประชุมTV. Conf.กับทางญี่ปุ่น ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ"กระแสเงินสด" เนี่ยแหละ  พยายามดูจากเอกสารเพื่อทำความเข้า แต่ก็ไม่Getสักที  

อย่างเช่น ลูกหนี้เพิ่มขึ้น เราต้องได้เงินสดเพิ่มขึ้นสิ ..แต่ทำไมสูตรคำนวณถึงเป็นลบ...งงงงงง จึงเป็นที่มาของบทความนี้

ภาษาญี่ปุ่น คือ キャッシュフロー計算書   มี 4ส่วนหลัก ดังนี้
1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน  営業キャッシュフロー
    *ควรมีตัวเลขเป็นบวก

2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน  投資キャッシュフロー
 *ตัวเลขควรเป็นลบ (เนื่องจากมีกำไร..จึงเอาเงินสดไปลงทุน)

3.กระแสเงินสดอิสระ フリーキャッシュフロー
   เงินสดที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ
   เป็นยอด Sum. ของกระแสเงินข้อ (1) กับ (2)

4.กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 財務キャッシュフロー
 *ตัวเลขควรเป็นลบ (เนื่องจากมีกำไร..จึงเอาเงินสดไปชำระหนี้)

             つづく

 

Thursday, September 3, 2020

利益計画

 利益計画 (Profit Planning)   "การวางแผนกำไร"

 ในมุมมองที่ว่า... เราจะต้องขายให้ได้กี่หน่วย(ชิ้น) หรือกี่บาทถึงจะมีกำไรตามที่เราต้องการ????  
 จากสมการบทความที่แล้ว...เพียงแค่บวกเพิ่มกำไรที่ต้องการเข้าไปในต้นทุนคงที่ก็จะได้คำตอบเอง

สมมุติเราต้องการขายให้ได้กำไร 240บาท
ปริมาณขายณ.จุดคุ้มทุน  =   300+240 / (100-40)       -->   9 หน่วย(ชิ้น) 
                   * เท่ากับว่าเราต้องขายให้ได้ 9หน่วย ถึงจะมีกำไรที่ 240บาท

ยอดขายณ.จุดคุ้มทุน   =  300 +240/ (60/100)      -->   900 บาท
                    * เท่ากับว่าเราต้องขายให้ได้ 900บาท ถึงจะมีกำไรที่ 240บาท

จบข่าว



損益分岐点#2

 จุดคุ้มทุน สามารถหาได้จากสมการง่ายๆ 2อย่างดังนี้

1. ในมุมมองที่ว่า..จากต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เราจะต้องขายให้ได้กี่หน่วย(ชิ้น) ถึงจะคุ้มทุน????
     สมการ:  ปริมาณขายณ.จุดคุ้มทุน  =   ต้นทุนคงที่ / กำไรส่วนเกินต่อหน่วย

 ยอดขาย                      300 บาท _           (ราคาต่อหน่วย 100บาท)   
       ค่าใช้จ่ายผันแปร         120 บาท           (ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย 40บาท)
      กำไรส่วนเกิน                180 บาท _       (กำไรส่วนเกินต่อหน่วย 60บาท)
      ค่าใช้จ่ายคงที่               300 บาท
                       ขาดทุน    ▲120 บาท

                   ปริมาณขายณ.จุดคุ้มทุน  =   300 / (100-40)       -->   5 หน่วย(ชิ้น) 
                   * เท่ากับว่าเราต้องขายให้ได้ 5หน่วย ถึงจะคุ้มทุน

   2. ในมุมมองที่ว่า..เราจะต้องขายให้ได้กี่บาท ถึงจะคุ้มทุน????
      สมการ:  ยอดขายณ.จุดคุ้มทุน  =   ต้นทุนคงที่ / อัตรากำไรส่วนเกิน     
         อัตรากำไรส่วนเกินหาได้จาก      กำไรส่วนเกินต่อหน่วย / ราคาต่อหน่วย
    
                  ยอดขายณ.จุดคุ้มทุน  =  300 / (60/100)      -->   500 บาท




損益分岐点

損益分岐点 (Break Event Point)

ภาษาไทยเรียกว่า  "จุดคุ้มทุน"   คือ จุดที่ยอดขายเท่ากับค่าใช้จ่ายรวม
สมการ : ยอดขาย   =   ค่าใช้จ่ายคงที่ + ค่าใช้จ่ายผันแปร
           (ปริมาณขาย x ราคาต่อหน่วย)  =   ค่าใช้จ่ายคงที่ + (ปริมาณขาย x ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

ตัวอย่างเช่น
       ยอดขาย                      500 บาท _        
       ค่าใช้จ่ายผันแปร          200 บาท           
      กำไรส่วนเกิน                300 บาท _       
      ค่าใช้จ่ายคงที่               300 บาท
                       เท่าทุน      +  0บาท