Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Thursday, September 3, 2020

利益計画

 利益計画 (Profit Planning)   "การวางแผนกำไร"

 ในมุมมองที่ว่า... เราจะต้องขายให้ได้กี่หน่วย(ชิ้น) หรือกี่บาทถึงจะมีกำไรตามที่เราต้องการ????  
 จากสมการบทความที่แล้ว...เพียงแค่บวกเพิ่มกำไรที่ต้องการเข้าไปในต้นทุนคงที่ก็จะได้คำตอบเอง

สมมุติเราต้องการขายให้ได้กำไร 240บาท
ปริมาณขายณ.จุดคุ้มทุน  =   300+240 / (100-40)       -->   9 หน่วย(ชิ้น) 
                   * เท่ากับว่าเราต้องขายให้ได้ 9หน่วย ถึงจะมีกำไรที่ 240บาท

ยอดขายณ.จุดคุ้มทุน   =  300 +240/ (60/100)      -->   900 บาท
                    * เท่ากับว่าเราต้องขายให้ได้ 900บาท ถึงจะมีกำไรที่ 240บาท

จบข่าว



損益分岐点#2

 จุดคุ้มทุน สามารถหาได้จากสมการง่ายๆ 2อย่างดังนี้

1. ในมุมมองที่ว่า..จากต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เราจะต้องขายให้ได้กี่หน่วย(ชิ้น) ถึงจะคุ้มทุน????
     สมการ:  ปริมาณขายณ.จุดคุ้มทุน  =   ต้นทุนคงที่ / กำไรส่วนเกินต่อหน่วย

 ยอดขาย                      300 บาท _           (ราคาต่อหน่วย 100บาท)   
       ค่าใช้จ่ายผันแปร         120 บาท           (ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย 40บาท)
      กำไรส่วนเกิน                180 บาท _       (กำไรส่วนเกินต่อหน่วย 60บาท)
      ค่าใช้จ่ายคงที่               300 บาท
                       ขาดทุน    ▲120 บาท

                   ปริมาณขายณ.จุดคุ้มทุน  =   300 / (100-40)       -->   5 หน่วย(ชิ้น) 
                   * เท่ากับว่าเราต้องขายให้ได้ 5หน่วย ถึงจะคุ้มทุน

   2. ในมุมมองที่ว่า..เราจะต้องขายให้ได้กี่บาท ถึงจะคุ้มทุน????
      สมการ:  ยอดขายณ.จุดคุ้มทุน  =   ต้นทุนคงที่ / อัตรากำไรส่วนเกิน     
         อัตรากำไรส่วนเกินหาได้จาก      กำไรส่วนเกินต่อหน่วย / ราคาต่อหน่วย
    
                  ยอดขายณ.จุดคุ้มทุน  =  300 / (60/100)      -->   500 บาท




損益分岐点

損益分岐点 (Break Event Point)

ภาษาไทยเรียกว่า  "จุดคุ้มทุน"   คือ จุดที่ยอดขายเท่ากับค่าใช้จ่ายรวม
สมการ : ยอดขาย   =   ค่าใช้จ่ายคงที่ + ค่าใช้จ่ายผันแปร
           (ปริมาณขาย x ราคาต่อหน่วย)  =   ค่าใช้จ่ายคงที่ + (ปริมาณขาย x ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

ตัวอย่างเช่น
       ยอดขาย                      500 บาท _        
       ค่าใช้จ่ายผันแปร          200 บาท           
      กำไรส่วนเกิน                300 บาท _       
      ค่าใช้จ่ายคงที่               300 บาท
                       เท่าทุน      +  0บาท




Wednesday, September 2, 2020

限界利益

 限界利益(Contribution Margin)

ภาษาไทย เรียกว่า "กำไรส่วนเกิน"   เป็นดัชนีอันนึงสำหรับวิเคราะห์ต้นทุนหรือวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ซึ่งคำว่า"ต้นทุน"ในที่นี้อาจหมายความเฉพาะต้นทุนการผลิตเท่านั้น หรืออาจหมายความรวมถึงค่าการขายและบริหาร(Sell&Admin) ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้บริหารที่จะนำไปวิเคราะห์

กำไรส่วนเกิน  =   ยอดขาย - ค่าใช้จ่ายผันแปรส่วนเกินที่ว่าเนี่ยถ้าสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายคงที่ส่วนที่เหลือได้ ก็จะถือว่ามีกำไร แต่ถ้าไม่ได้ก็คือว่าขาดทุน

อัตรากำไรส่วนเกิน  =  กำไรส่วนเกิน / ยอดขาย

ตัวอย่างเช่น
       ยอดขาย                      300 บาท _        (ราคาต่อหน่วย 100บาท)   
       ค่าใช้จ่ายผันแปร         120 บาท           (ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย 40บาท)
      กำไรส่วนเกิน                180 บาท _       (กำไรส่วนเกินต่อหน่วย 60บาท)
      ค่าใช้จ่ายคงที่               300 บาท
                       ขาดทุน    ▲120 บาท

      อัตรากำไรส่วนเกิน =  180/300   --->    0.60 (60%)

* หมายความว่าถ้ามียอดขายเพิ่มขึ้น 100 บาท  ก็จะมีกำไรส่วนเกินเพิ่มขึ้น 60 บาท

  ระวัง! โดยหลักการแล้วถ้ายอดขายเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายผันแปรก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ลองคำนวณดูแล้วกันว่าต้องขายเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ กำไรส่วนเกินจะสามารถครอบคลุมส่วนที่ติดลบได้?????

つづく"จุดคุ้มทุน"



Thursday, August 27, 2020

Diaphragm#2

 ในหลักการเดียวกันนี้ จึงมีการนำไปใช้กับอุปกรณ์ควบคุมแรงดันต่างๆ (ลม, น้ำมัน)

ยกตัวอย่าง เช่น  "WasteGate" นักซิ่งจะรู้ดี เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกันกับ Turbo หรือกังหันอัดอากาศในเครื่องยนต์(過給機)  ซึ่งใน WasteGate ก็จะมีแผ่นไดอะแฟรมเป็นส่วนประกอบด้วยเช่นกัน

หลักการทำงานคือ ไอเสียที่ได้จากการเผาไหม้จะไปปั่นใบพัดฝั่งไอเสีย และทำให้ใบพัดฝั่งไอดีที่อยู่ในแกนเดียวกันหมุนตามไปด้วย เมื่อใบพัดหมุนเร็วขึ้น...อากาศทางฝั่งไอดีก็จะไหลเข้าไปได้เร็วขึ้นแรงขึ้น แต่ถ้าใบพัดหมุนเร็วจนเกินLimit ก็จะทำให้ Turbo พังได้  จึงต้องมีอุปกรณ์ WasteGateเพื่อช่วยระบายไอเสียส่วนเกินให้ไหลออกไป

แรงดันจากท่อไอดีที่ต่อพ่วงมาที่ WasteGate จะไปดันแผ่น "ไดอะแฟรม" ให้ขยายตัว และเมื่อแรงดันมีเพิ่มขึ้นจนชนะแรงกดของสปริง ก็จะทำให้วาล์วเปิดออกและระบายไอเสียส่วนเกินออกไป เพื่อรักษาแรงดันไม่ให้เกินจากที่กำหนด













Diaphragm

 เพิ่งประชุมหมาดๆเมื่อวาน ทางแผนกซ่อมบำรุงรายงานถึงเรื่องการเปลี่ยนแผ่น "ไดอะแฟรม" ตอนแรกเราก็เข้าใจว่ามันคล้ายๆกับประเก็น หรือซีลกันรั่ว แต่จริงๆแล้วไม่ใช่   ใช้เวลาค้นคว้าอยู่พักใหญ่....มามา มาเรียนรู้ไปด้วยกัน

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจในหลักการของมันก่อน

"ไดอะแฟรม" (Diaphragm) ถ้าเป็นร่างกายมนุษย์ก็จะเปรียบเสมือนกับ "กะบังลม"  横隔膜

ตำแหน่งของกะบังลมจะอยู่ระหว่าง ซี่โครงกับท้อง น่าจะแถวลิ้นปี่? ซึ่งกะบังลงจะขยายตัวเมื่อเราหายใจเข้า และหดตัวกลับเมื่อเราหายใจออก 

ให้ลองนึกถึงลูกโป่งที่เราสูบลมเข้าไป ลูกโป่งจะขยายใหญ่ขึ้นเมื่อมีอากาศเข้าไป ซึ่งในตอนนี้แรงดันภายในจะยังคงคงที่ จนกระทั่งลูกโป่งไม่สามารถขยายตัวได้ไปมากกว่านั้นและยังมีอากาศเข้าไปอีกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในตอนนี้แรงดันภายในจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆๆๆ...จนลูกโป่งแตกไปในที่สุด

                                              つづく




Wednesday, August 26, 2020

วิธีการคำนวณอากรนำเข้า 輸入関税

 เมื่อวันก่อนมีคนญี่ปุ่นมาถามกับผู้จัดการซื้อเรื่องการคำนวณภาษีนำเข้า ก็เลยลองค้นข้อมูลเก่าที่เคยเช็คเอาไว้ ซึ่งจะเริ่มต้นจาก 3ข้อนี้

1. C = Cost    ราคาสินค้า 物価代金

2. I = Insurance  ค่าประกันภัย 保険料

3. F = Freight  ค่าขนส่ง 運賃

วิธีการคำนวณคือ  C + I + F   x  อัตราภาษี    =   อากรนำเข้า 輸入関税

นอกจากภาษีอากรนำเข้า ก็ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)ที่ต้องชำระด้วย

วิธีการคำนวณคือ  C + I + F + อากรนำเข้า  x  อัตราVat 7%    =   ภาษีมูลค่าเพิ่ม 付加価値税

อัตราภาษีจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่นำเข้า (พิกัด)

พิกัดศุลกากร หรือ HS Code ย่อมากจาก " Harminozed System Code"