Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Wednesday, August 26, 2020

未実現為替差損/差益#2

ยกตัวอย่าง ในกรณีของยอดลูกหนี้คงค้าง(Account Receivable)

หลังจากฝ่ายขายออก Invoice  ทางบัญชีก็จะตั้งบัญชีลูกหนี้(ตามมูลค่าซื้อขายในInvoice)
ยอดเงิน 100,000 $   x  30฿ (อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่ออก Invoice) =  3,000,000฿

ณ.สิ้นเดือน ระหว่างที่ยังไม่ถึงDueที่จะได้รับการชำระเงิน 
ซึ่งจะใช้ Rateอัตราแลกเปลี่ยนณ.สิ้นเดือนมาประเมิน Unrealized เพื่อรับรู้ยอดดังกล่าว
ยอดเงิน 100,000 $   x  29฿ (อัตราแลกเปลี่ยนณ.สิ้นเดือน) =  2,900,000฿

ส่วนต่าง  3,000,000 - 2,900,000  = ▲100,000฿ (Unrealized Loss   未実現為替差損)
พอข้ามไปวันที่1ของเดือนถัดไปก็จะReverse จากยอด(-)ไปเป็นยอด(+) เพื่อรีเซทให้เป็น "ศูนย์"

และเมื่อถึงDue รับชำระจริง  ก็จะใช้Rateในวันที่รับชำระเงินมาคำนวณ..
ยอดเงิน 100,000 $   x  32฿ (อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่รับชำระ) =  3,200,000฿
ส่วนต่าง  3,000,000 - 3,200,000  = +200,000฿ (Gain of Exchange   為替差益)
*ในStepนี้จะไม่ใช่ Unrealized   เพราะเราได้รับเงินมาจริงๆแล้ว)

กรณีของเจ้าหนี้คงค้าง(AP) ก็ใช้หลักการเดียวกัน

จบข่าว





Friday, July 31, 2020

未実現為替差損/差益 

未実現為替差損/差益
 ฮืม..เห็นคันจิยาวติดกันเป็นผืด อย่าเพิ่มถอดใจนะ
สัปดาห์ก่อนมีโอกาสได้เป็นล่ามให้กับทางบัญชี  ก็เลยอยากแนะนำให้รู้จักกับคำนี้

ภาษาอังกฤษเรียกว่า Unrealized Gain/Loss of Exchange
"กำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง"


หมายถึง การนำยอดลูกหนี้คงค้าง(AR)หรือเจ้าหนี้คงค้าง(AP)ที่มีการซื้อขายด้วยเงินตราต่างประเทศ มาคำนวณผลต่างระหว่างมูลค่าการซื้อขายจริงตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ.วันที่นั้นๆที่มีการออกInvoice เทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนณ.สิ้นเดือน เพื่อให้รับรู้ถึงผลต่างดังกล่าวทางบัญชี 


คำศัพท์
為替   かわせ  การแลกเปลี่ยนเงินตรา
売掛金  うりかけきん  ยอดลูกหนี้คงค้าง
買掛金  かいかけきん  ยอดเจจ้าหนี้คงค้าง
外貨   がいか  เงินตราต่างประเทศ

                                  つづく



Friday, July 24, 2020

รถยนต์ FCV ?


ย้อนกลับไปถึงการทดลองวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียน
จากหลักการที่ว่า " พลังงานไฟฟ้าสามารถแยกไฮโดรเจนกับออกซิเจนออกจากกันได้ (H2O)
จึงเป็นที่มาของเรื่องนี้

FCV ย่อมาจาก  Fuel Cell Vihecle  หรือเรียกว่า 
"รถยนต์หพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง" (燃料電池自動車)

แทนที่จะใช้น้ำมันเชื้อเพลิง  แต่เราจะใช้ไฮโดรเจนเติมเข้าไป  (H + O)
และจะเกิดปฏิกริยา Oxidation  ซึ่งมีแผ่น Bipolar Plate เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด
อิเลคตรอนอิสระ(自由電子 = 電気)เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า
และส่งต่อไปยังมอเตอร์

Output ที่ได้ก็คือ พลังงานไฟฟ้า  และน้ำ(แทนที่จะเป็นไอเสีย)


排気(ไอเสียรถยนต์) #2

การกรองไอเสีย (Catalytic)

จะอาศัยการเร่งปฏิกริยาทางเคมี (化学反応)
1.Oxidation (酸化) การรวมตัวของออกซิเจน
2.Reduction (還元) การสูญเสียออกซิเจน

อ้างอิง: 酸化

มีหลักการในการจัดการกับสารพิษดังต่อไปนี้
1. ไฮโดรคาร์บอน (CH)   อาศัยปฏิกริยา Oxidation ให้เกิดการรวมตัวของออกซิเจน
        C + O2   =   CO2   คาร์บอนไดออกไซด์
        H2 + O   =   H2O   น้ำ (ไอน้ำ)

2. คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)   อาศัยปฏิกริยา Oxidation ให้เกิดการรวมตัวของออกซิเจน
        C O+ O   =   CO2   คาร์บอนไดออกไซด์

3. ไนโตรเจนออกไซด์ (NO)   อาศัยปฏิกริยา Reduction ให้เกิดการแยกตัวของออกซิเจน
       N <----> O   =   N   ก๊าซไนโตรเจน
                                 O   ก๊าซออกซิเจน



排気 ไอเสียรถยนต์

排気 ไอเสียรถยนต์

เกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพิง
ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงก็มาจาก "ปิโตเลี่ยม" (石油)

ปิโตเลี่ยม มีทั้ง 3สถานะ คือ  ของแข็ง  ของเหลว และก็าซ
มีธาตุองค์ประกอบหลักๆ คือ คาร์บอน, ไฮโดรเจน
และอาจมีอโลหะอื่นๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ

ไอเสียรถยนต์มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์(不完全燃焼)
 1. ไฮโดรคาร์บอน  CH   (炭化水素)
 2. คาร์บอนมอนนอกไซด์  CO  (一酸化炭素)
 3. ไนโตรเจนออกไซด์  NO   (窒素酸化)

         つづく


Wednesday, July 22, 2020

酸化(Oxidation)#2

ย้อนกลับไปเรื่องของงานเสีย Scale หลังการHeat Treatment
ก็คงเป็นหลักการของ Oxidation ก็คือการที่
    เหล็กไปรวมตัวกับออกซิเจน Fe+O   = FeO ไอออนออกไซด์  (酸化鉄)

แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่ามัน คือสนิมนะ  ยังไม่ใช่!!

จนกระทั่งระยะเวลาผ่านไป สัมผัสกับน้ำ ความชื้น
ก็ถึงจะกลายเป็น  "สนิมเหล็ก"  ชื่อทางเคมี  "ไฮเดรตเฟอริกออกไซด์"
Fe2O3 - H2O  (水和酸化鉄  すいわさんかてつ)
หรือเรียกง่ายๆว่า  錆び  ชื่อข้างบนอย่าไปจำ




酸化(Oxidation)

เมื่อวานประชุมกับMaker Heat Treatment เนื่องจากงานมีปัญหา Scale หลังจากHeat Treatment ซึ่งก็น่าจะเป็น Oxide ซึ่งภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า  酸化物

อ้างอิง: เรื่องเล็กๆ

แต่ก็อยากให้เข้าใจกันก่อนว่า 酸化(Oxidation) มันคืออะไร 
คือ ปฏิกริยาทางเคมีที่สสารสูญเสียอิเล็กตรอนหรือสูญเสียไฮโดรเจนไป
 หรือการที่สสารรวมตัวเข้ากับออกซิเจน(化合)

อิเล็กตรอนจะเคลื่อนย้ายได้ทั้งในรูปของอิเล็กตรอนโดยตรงหรือ
เคลื่อนย้ายในรูปของออกซิเจนหรือไฮโดรเจน


ยกตัวอย่างเช่น
 1.การเกิดสนิม (Fe2O3)
 2.การเผาไหม้ของไม้ ถ่านหิน ปิโตเลียม (สารประกอบอินทรีย์ 有機化合物)
 มีองค์ประกอบธาตุหลัก คือ คาร์บอน  ไฮโดรเจน หรือ ไฮโดรคาร์บอน  CH(炭化水素)
 เมื่อถูกเผาไหม้จะเกิดปฏิกริยาทางเคมีฯ
            C + O2   =  CO2  ก็าซคาร์บอนไดออกไซด์
   C + O3   =  CO3  เขม่า 
            H2+O    = H2O  ไอน้ำ
                                                      つづく