ช่วงนี้เหมือนล่ามจะมีมรสุม
มีนโยบายให้ล่ามทำงานอื่นด้วย
คิดในแง่ร้าย..ขอละเว้น
คิดในแง่ดีก็คือ เราจะมีโอกาสได้เรียนรู้งานอื่นเพิ่มเติม และเติบโตในหน้าที่การงานต่อไปได้(ปรบมือ)
และหนึ่งในงานที่น่าสนใจก็คือ Import /Export
เลยจะขอแนะนำให้รู้จักคำว่า Incoterms 貿易条件
คำนี้ย่อมาจาก International Commercial Terms
เป็นเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ
ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อและผู้ขายจะสะดวกในการส่งมอบแบบไหน
นอกจากเงื่อนไขการส่งมอบ ก็ยังมีเงื่อนไขในแง่ของค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงอีกด้วย
แต่ในแง่ของค่าใช้จ่าย..ภาระต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้ขาย เค้าคงจะถือว่าเป็นต้นทุน
และนำไปกำหนดเป็นราคาในInvoiceที่จะเรียกเก็บกับผู้ซื้อละมั้ง
ผู้ซื้อไม่น่าจะได้เปรียบอะไร
つづく
ล่ามญี่ปุ่น LamYeepun (日本語通訳) มะ..มาช่วยกันแชร์ภาษาญี่ปุ่น 《ผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ณ.ที่นี้ด้วย》
Main menu
dropdown
low-column
Thursday, March 26, 2020
Wednesday, March 25, 2020
起きると起こる
หลายวันก่อนมีรุ่นน้องถามมา
รุ่นน้อง: พี่..ไอ้คำว่า 起きると起こる มันใช้ต่างกันยังงัยพี่
เรา: อื่มๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เดี๋ยวพี่ดูให้
เออ..ตอบไม่ได้ เป็นล่ามมาตั้งนานแต่ไม่เคยสงสัยเรื่องนี้เลย
และสุดท้ายก็ได้คำตอบมาว่า...
ถ้าเป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ก็จะใช้คำว่า 起きる
แต่ถ้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระทำของคนหรืออะไรบางอย่าง ก็จะใช้คำว่า 起こる
พูดอีกอย่างก็คือ ผลที่เกิดขึ้นจาก 起きるหรือจาก起こす ก็คือ 起こる
ตัวอย่างเช่น
大雨が起きたから、洪水が起こった。
誰が事故を起こしたから、渋滞が起こった。
แต่บางคนก็มองว่า สิ่งที่เกิดจากธรรมชาติหรือภัยพิบัติต่างล้วนเกิดจากพระเจ้า
รวมถึงคนที่มองถึงหลักแห่งเหตุและผล ย่อมมีเหตุจึงทำให้เกิดผล
ซึ่งถ้ามองแบบนี้ ไม่ว่าจะกรณีไหนก็กลายเป็นว่าต้องใช้ 起こる ทั้งหมด
ไม่ค่อยจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนสักเท่าไหร่
*สรุปว่า ตอนแปลถ้านึกคำไหนออกก็ใช้คำนั้นก็และกัน
เออ...เอาที่สบายใจเราดีกว่า
รุ่นน้อง: พี่..ไอ้คำว่า 起きると起こる มันใช้ต่างกันยังงัยพี่
เรา: อื่มๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เดี๋ยวพี่ดูให้
เออ..ตอบไม่ได้ เป็นล่ามมาตั้งนานแต่ไม่เคยสงสัยเรื่องนี้เลย
และสุดท้ายก็ได้คำตอบมาว่า...
ถ้าเป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ก็จะใช้คำว่า 起きる
แต่ถ้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระทำของคนหรืออะไรบางอย่าง ก็จะใช้คำว่า 起こる
พูดอีกอย่างก็คือ ผลที่เกิดขึ้นจาก 起きるหรือจาก起こす ก็คือ 起こる
ตัวอย่างเช่น
大雨が起きたから、洪水が起こった。
誰が事故を起こしたから、渋滞が起こった。
แต่บางคนก็มองว่า สิ่งที่เกิดจากธรรมชาติหรือภัยพิบัติต่างล้วนเกิดจากพระเจ้า
รวมถึงคนที่มองถึงหลักแห่งเหตุและผล ย่อมมีเหตุจึงทำให้เกิดผล
ซึ่งถ้ามองแบบนี้ ไม่ว่าจะกรณีไหนก็กลายเป็นว่าต้องใช้ 起こる ทั้งหมด
ไม่ค่อยจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนสักเท่าไหร่
*สรุปว่า ตอนแปลถ้านึกคำไหนออกก็ใช้คำนั้นก็และกัน
เออ...เอาที่สบายใจเราดีกว่า
Tuesday, March 24, 2020
CPR!(ต่อ)
แนะนำคำศัพท์ที่น่าสนใจ
応急処置 おうきゅうしょち ปฐมพยาบาล
自動体外式除細動器 じどうたいがいしきじょさいどうき เครื่องกระตุกหัวใจฯ(AED)
人工呼吸 じんこうこきゅう ผายปอด
窒息 ちっそく ขาดอากาศหายใจ
傷病者 しょうびょうしゃ ผู้ได้รับบาดเจ็บ
心臓発作 しんぞうほっさ โรคหัวใจกำเริบ
浅い傷 あさいきず แผลตื้น
刺し傷 さしきず แผลถูกแทง
擦り傷 こすりきず、すりきず แผลถลอก
切断 せつだん ขาด(อวัยวะ)
第1度熱傷 だい~どねっしょう แผลไฟไหม้ระดับ1
ガーゼ がーぜ ผ้าก๊อซปิดแผล เช่น ガーゼで覆う
包帯 ほうたい ผ้าพันแผล
止血 しけつ ห้ามเลือด
ヒリヒリ(する) แสบ
痙攣 けいれん ชักเกร็ง
青あざ あおあざ ฝกช้ำ
しゃくり上げる หายใจเฮือกๆ(จะขาดใจ)
喘ぐ あえぐ หอบ
仰向け あおむけ นอนหงาย
横向き よこむき นอนตะแคงข้าง
応急処置 おうきゅうしょち ปฐมพยาบาล
自動体外式除細動器 じどうたいがいしきじょさいどうき เครื่องกระตุกหัวใจฯ(AED)
人工呼吸 じんこうこきゅう ผายปอด
窒息 ちっそく ขาดอากาศหายใจ
傷病者 しょうびょうしゃ ผู้ได้รับบาดเจ็บ
心臓発作 しんぞうほっさ โรคหัวใจกำเริบ
浅い傷 あさいきず แผลตื้น
刺し傷 さしきず แผลถูกแทง
擦り傷 こすりきず、すりきず แผลถลอก
切断 せつだん ขาด(อวัยวะ)
第1度熱傷 だい~どねっしょう แผลไฟไหม้ระดับ1
ガーゼ がーぜ ผ้าก๊อซปิดแผล เช่น ガーゼで覆う
包帯 ほうたい ผ้าพันแผล
止血 しけつ ห้ามเลือด
ヒリヒリ(する) แสบ
痙攣 けいれん ชักเกร็ง
青あざ あおあざ ฝกช้ำ
しゃくり上げる หายใจเฮือกๆ(จะขาดใจ)
喘ぐ あえぐ หอบ
仰向け あおむけ นอนหงาย
横向き よこむき นอนตะแคงข้าง
CPR!
CPR คำนี้หลายๆคนน่าจะเคยได้ยินและรู้จักกันแล้ว
ย่อมา Cardio Pulmonary Resuscitation "การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน"
ภาษาญี่ปุ่น 心配蘇生法 しんぱいそせいほう
มี 3ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ (CAB)
1) C = Compression การกดหน้าอก 胸骨圧迫
2) A = Airway การเปิดทางเดินหายใจ 気道の確保
3) B = Breathing การช่วยหายใจ 息の吹き込み
เป็นเรื่องพื้นฐานที่เราควรรู้เอาไว้ หรืออย่างน้อยๆก็ต้องจำเบอร์นี้ให้ได้
1669 (เรียกรถฉุกเฉิน)
つづく มีแถมคำศัพท์
ย่อมา Cardio Pulmonary Resuscitation "การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน"
ภาษาญี่ปุ่น 心配蘇生法 しんぱいそせいほう
มี 3ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ (CAB)
1) C = Compression การกดหน้าอก 胸骨圧迫
2) A = Airway การเปิดทางเดินหายใจ 気道の確保
3) B = Breathing การช่วยหายใจ 息の吹き込み
เป็นเรื่องพื้นฐานที่เราควรรู้เอาไว้ หรืออย่างน้อยๆก็ต้องจำเบอร์นี้ให้ได้
1669 (เรียกรถฉุกเฉิน)
つづく มีแถมคำศัพท์
Monday, March 23, 2020
減損
พอดี..ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผู้ตรวจสอบบัญชีกำลังทำงบฯของปี2019 ให้อยู่
ก็เลยอยากจะแนะนำให้รู้จักศัพท์บัญชีคำนึง
減損 げんそん การด้อยค่าของสินทรัพย์ (Impairment)
การด้อยค่าก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในมาตรฐานบัญชี 会計基準
หลักการก็คือ กรณีที่มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ 簿価価額(Carrying Amount)
มีมูลค่าสูงกว่า"มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับ" 回収可能価額(Recoverable Amount)
ก็จะถือว่าเกิดการด้อยค่า 減損損失(Loss of Impairment)
* ถ้ากรณีที่กลับกัน ก็จะไม่มีผลอะไรต่องบการเงิน Loss of Impairment = 0
Carrying Amount > Recoverable Amount = Loss of Impairment
ช่วงเวลาที่เข้าข่ายต้องประเมินการด้อยค่า คือ
1) บริหารงานติดลบต่อเนื่อง 経営が赤字続き
2) เลิกกิจการที่มีการใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น 固定資産を使用した事業の廃止
3) มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ตกลงอย่างมาก 固定資産の価値が大きく下落
4) ตลาดแย่ลงอย่างชัดเจน 市場の悪化が著しい
และเมื่อเกิดการด้อยค่า แน่นอนว่ามูลค่าสินทรัพย์ก็จะลดลงตามไปด้วย
ซึ่งต้องมีการคำนวนค่าเสื่อมใหม่ 減価償却費 Depreciation
ถ้าใครทำงานกับบริษัทที่มีกำไรก็คงไม่คุ้นเลยกับคำนี้
ไม่เหมือนเรา..เฮ้อ (ถอนหายใจ)
ก็เลยอยากจะแนะนำให้รู้จักศัพท์บัญชีคำนึง
減損 げんそん การด้อยค่าของสินทรัพย์ (Impairment)
การด้อยค่าก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในมาตรฐานบัญชี 会計基準
หลักการก็คือ กรณีที่มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ 簿価価額(Carrying Amount)
มีมูลค่าสูงกว่า"มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับ" 回収可能価額(Recoverable Amount)
ก็จะถือว่าเกิดการด้อยค่า 減損損失(Loss of Impairment)
* ถ้ากรณีที่กลับกัน ก็จะไม่มีผลอะไรต่องบการเงิน Loss of Impairment = 0
Carrying Amount > Recoverable Amount = Loss of Impairment
ช่วงเวลาที่เข้าข่ายต้องประเมินการด้อยค่า คือ
1) บริหารงานติดลบต่อเนื่อง 経営が赤字続き
2) เลิกกิจการที่มีการใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น 固定資産を使用した事業の廃止
3) มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ตกลงอย่างมาก 固定資産の価値が大きく下落
4) ตลาดแย่ลงอย่างชัดเจน 市場の悪化が著しい
และเมื่อเกิดการด้อยค่า แน่นอนว่ามูลค่าสินทรัพย์ก็จะลดลงตามไปด้วย
ซึ่งต้องมีการคำนวนค่าเสื่อมใหม่ 減価償却費 Depreciation
ถ้าใครทำงานกับบริษัทที่มีกำไรก็คงไม่คุ้นเลยกับคำนี้
ไม่เหมือนเรา..เฮ้อ (ถอนหายใจ)
Thursday, March 19, 2020
移転価格(ราคาโอน)
เพิ่งมีกฎหมายออกมาบังคับใช้เร็วๆนี้เอง
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี(会計年度)ปี2019
"พ.ร.บ ป้องกันราคาโอน" 移転価格税法
พ.ร.บนี้กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทต่างๆอาศัยการถ่ายโอนกำไรไปยังอีกบริษัทหนึ่ง
เพื่อลดยอดภาษีที่จะต้องจ่าย พูดง่ายๆก็คือ "หลีกเลี่ยงภาษี" นั่นแหละ 脱税
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจถึงความหมายของมันกันก่อน...
ราคาโอน (Transfer Pricing) 移転価格 หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันระหว่าง
บริษัทที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน (เช่น บริษัทแม่/บริษัทลูก)
กล่าวคือ มีการถือหุ้นตั้งแต่ 50%ขึ้นไป และบริษัทมีรายได้ต่อปี 200ล้านบาทขึ้นไป..ก็จะเข้าข่าย
ธุรกรรมที่เข้าข่าย
1. การซื้อขายสินค้าและบริการ 商品売買及び役務提供
2. การกู้ยืมเงิน 貸付
3. การโอนสินทรัพย์ 資産譲渡
เมื่อเข้าข่าย..บริษัทก็มีหน้าที่ต้องส่งรายงานให้กับสรรพกรโดยมี 2 ส่วนดังนี้
1. รายงานประจำปี Disclosure Form 付表フォーム
แสดงเนื้อหาความสัมพันธ์และมูลค่าธุรกรรม 関係性及び取引金額
2. เอกสารพิสูจน์ราคาโอน Transfer Pricing Documentation 移転価格文書
2.1 Master File แสดงภาพรวมการดำเนินธุรกิจ รวมถึงนโยบายการกำหนดราคาโอน
事業概況及び移転価格決定の方針
2.2 Local File แสดงรายละเอียดการประกอบธุรกิจ
เบื้องต้น ทางจนท.จะดูจาก Disclosure Form พิจาณาถึงความเสี่ยง
เมื่อเห็นว่ามีความเสี่ยง ก็จะขออำนาจจากอธิบดีกรมฯเพื่อร้องขอให้บริษัท
ส่ง TP Documentation เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของราคาโอนต่อไป
การพิสูจน์ราคาโอน
ก็ต้องอาศัยข้อมูล "ราคาตลาด" 市場価格 ซึ่งธุรกิจบางประเภทแทบจะไม่สามารถ
เข้าถึงข้อมูลนี้ได้เลย มันเป็นความลับของแต่ละบริษัท
หรือไม่ก็ต้องหาเหตุผลเชิงบังคับทางสัญญากับลูกค้า หรือเหตุผลภายในบริษัทเอง
ที่ส่งผลต่อราคา
ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายก็แล้วกัน ไม่อยากให้เป็นบริษัท トンネル会社!
(อ้างอิงบทความ トンネル会社!)ถ้าเจอบริษัทแบบนี้..โบนัสเราหายหมด
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี(会計年度)ปี2019
"พ.ร.บ ป้องกันราคาโอน" 移転価格税法
พ.ร.บนี้กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทต่างๆอาศัยการถ่ายโอนกำไรไปยังอีกบริษัทหนึ่ง
เพื่อลดยอดภาษีที่จะต้องจ่าย พูดง่ายๆก็คือ "หลีกเลี่ยงภาษี" นั่นแหละ 脱税
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจถึงความหมายของมันกันก่อน...
ราคาโอน (Transfer Pricing) 移転価格 หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันระหว่าง
บริษัทที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน (เช่น บริษัทแม่/บริษัทลูก)
กล่าวคือ มีการถือหุ้นตั้งแต่ 50%ขึ้นไป และบริษัทมีรายได้ต่อปี 200ล้านบาทขึ้นไป..ก็จะเข้าข่าย
ธุรกรรมที่เข้าข่าย
1. การซื้อขายสินค้าและบริการ 商品売買及び役務提供
2. การกู้ยืมเงิน 貸付
3. การโอนสินทรัพย์ 資産譲渡
เมื่อเข้าข่าย..บริษัทก็มีหน้าที่ต้องส่งรายงานให้กับสรรพกรโดยมี 2 ส่วนดังนี้
1. รายงานประจำปี Disclosure Form 付表フォーム
แสดงเนื้อหาความสัมพันธ์และมูลค่าธุรกรรม 関係性及び取引金額
2. เอกสารพิสูจน์ราคาโอน Transfer Pricing Documentation 移転価格文書
2.1 Master File แสดงภาพรวมการดำเนินธุรกิจ รวมถึงนโยบายการกำหนดราคาโอน
事業概況及び移転価格決定の方針
2.2 Local File แสดงรายละเอียดการประกอบธุรกิจ
เบื้องต้น ทางจนท.จะดูจาก Disclosure Form พิจาณาถึงความเสี่ยง
เมื่อเห็นว่ามีความเสี่ยง ก็จะขออำนาจจากอธิบดีกรมฯเพื่อร้องขอให้บริษัท
ส่ง TP Documentation เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของราคาโอนต่อไป
การพิสูจน์ราคาโอน
ก็ต้องอาศัยข้อมูล "ราคาตลาด" 市場価格 ซึ่งธุรกิจบางประเภทแทบจะไม่สามารถ
เข้าถึงข้อมูลนี้ได้เลย มันเป็นความลับของแต่ละบริษัท
หรือไม่ก็ต้องหาเหตุผลเชิงบังคับทางสัญญากับลูกค้า หรือเหตุผลภายในบริษัทเอง
ที่ส่งผลต่อราคา
ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายก็แล้วกัน ไม่อยากให้เป็นบริษัท トンネル会社!
(อ้างอิงบทความ トンネル会社!)ถ้าเจอบริษัทแบบนี้..โบนัสเราหายหมด
VA/VE 提案
ภาวะเศรษฐกิจแบบนี้นะ รถก็ขายไม่ค่อยดี 売れ行き不振
ช่วงนี้จึงมีผู้ผลิตรถยนต์หลายๆรายร้องขอไปยังบริษัทSupplier ต่างๆเพื่อขอความร่วมมือในการ
ทำกิจกรรม CR (Cost Reduction) コスト低減活動
รวมถึงเรื่องของVA/VE Proposal ก็เลยอยากจะแนะนำคำนี้ให้รู้จัก
VA/VE ย่อมาจาก Value Analysis & Value Engineering
ภาษาญี่ปุ่น คือ 価値分析及び価値工学
คือการวิเคราะห์คุณค่าและวิศวกรรมคุณค่า ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับแก้ไขปัญหาด้านต้นทุน
เป็นการวิเคราะห์ฟังชั่น หน้าที่การทำงานของสิ่งนั้นๆ เพื่อนำมาหาแนวทางที่จะลดต้นทุน
Value = Function/Cost
ช่วงนี้จึงมีผู้ผลิตรถยนต์หลายๆรายร้องขอไปยังบริษัทSupplier ต่างๆเพื่อขอความร่วมมือในการ
ทำกิจกรรม CR (Cost Reduction) コスト低減活動
รวมถึงเรื่องของVA/VE Proposal ก็เลยอยากจะแนะนำคำนี้ให้รู้จัก
VA/VE ย่อมาจาก Value Analysis & Value Engineering
ภาษาญี่ปุ่น คือ 価値分析及び価値工学
คือการวิเคราะห์คุณค่าและวิศวกรรมคุณค่า ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับแก้ไขปัญหาด้านต้นทุน
เป็นการวิเคราะห์ฟังชั่น หน้าที่การทำงานของสิ่งนั้นๆ เพื่อนำมาหาแนวทางที่จะลดต้นทุน
Value = Function/Cost
Subscribe to:
Posts (Atom)