Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Thursday, June 24, 2021

หาแพะ!

ช่วงนี้งานเสียเยอะมาก  เฮ้อ
คิดไม่ออก บอกไม่ถูก.....หาแพะดีกว่า
เมื่อเช้าล่ามก็โดน  ถูกหาวาแปลไม่รู้เรื่องอ้ะป่าว
ตูงง

แพะในที่นี้ก็คือ "แพะรับบาป"  
ถ้าลองSearchหาดู ก็มีหลายคำที่พรุ่งพรูออกมา เช่น

スケープゴート
身代わり(みがわり)
生け贄 (いけにえ)
贖罪の山羊 (しょくざいのやぎ)

แต่ก็ไม่แน่ใจว่าถ้าใช้คำเหล่านี้แล้วมันจะสื่อได้รึป่าว
ก็เลยถามคนญี่ปุ่น เข้าจึงแนะนำคำนี้มาให้

"濡れ衣" ぬれぎぬ แปลตรงๆ จะหมายถึงเสื่้อผ้าเปียก
ตัวอย่างเช่น
濡れ衣を着せる (~きせる) โยนความผิดให้คนอื่น
濡れ衣を着る  ถูกโยนความผิด(เป็นแพะรับบาป)

คำนี้น่าจะจำแม่นแน่นอน  เพราะทุกคนคงจะเจอกันบ่อย 
Good Luck




Tuesday, June 1, 2021

稼働率と可動率#2

 ต่อจากบทความที่แล้ว

กรณีที่เรารู้ 可動率(Eff.Actual)   และต้องการรู้กำลังการผลิตจริง(Capacity)ว่าสามารถผลิตได้กี่โมลด์จากเวลาทำงานที่เรามี ก็ให้คำนวนตามนี้

    Eff.Actual   x     เวลาเดินเครื่องจักร    =   จำนวนโมลด์
                   เวลามาตรฐาน
  
    0.9375    x   28,800วินาที(480นาที)     =      900โมลด์
                  30วินาที

แล้วก็เรื่องของเวลามาตรฐาน(Cycle Time) 
เราคำนวณที่ 30วินาที แต่ความสามารถจริงของเครื่องจักรอาจใช้เวลามากกว่านั้น เช่น 32วินาที
เราสามารถใช้ 32วินาทีมาคำนวณได้ก็จริง คำนวณออกมา Eff.% ได้สูงมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ

แต่ในความเป็นจริง Eff Actual เราไม่สามารถทำได้ดีไปมากกว่านั้น นั่นก็หมายความว่าเราต้องปรับลดจำนวนโมลด์ลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง  ผลก็คือจำนวนโมลด์จะผลิตได้น้อยกว่าเดิม ซึ่งอาจไม่ได้ตามจำนวนงานที่ต้องผลิตส่งให้กับลูกค้า จนต้องเพิ่มเวลาการทำงานหรือเพิ่มชั่วโมงOT

*ถ้าฝ่ายผลิตอยากจะเพิ่มEff.  ก็ต้องพยายามลดความสูญเปล่าต่างๆ เพื่อให้ได้จำนวนโมลด์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงฝ่ายMN ก็ต้องพยายามดูแลเครื่องจักรให้สามารถเดินการผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จบข่าว