ล่ามญี่ปุ่น LamYeepun (日本語通訳) มะ..มาช่วยกันแชร์ภาษาญี่ปุ่น 《ผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ณ.ที่นี้ด้วย》
Main menu
dropdown
low-column
Saturday, March 11, 2023
Friday, March 10, 2023
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
ต่อจากบทความที่แล้ว
ถ้าบริษัทไม่เสียภาษาให้ถูกต้องก็จะต้องเสียเบี้ยปรับ(罰金)และเงินเพิ่ม(追徴金)ในทางแพ่ง
หรืออาจรับโทษปรับหรือจำคุกในทางอาญาด้วยเช่นกัน
1) กรณีไม่ยื่นภาษีภายในกำหนด (無申告加算税)
เสียเบี้ยปรับ x 2 เท่า
เช่น ค้างชำระ 100บาท + เบี้ยปรับ 200 บาท(100 x 2) + เงินเพิ่ม
2) กรณียื่นแต่เสียภาษีไม่ครบ (過少申告加算税)
เสียเบี้ยปรับ x 1 เท่า
เช่น ค้างชำระ 100บาท + เบี้ยปรับ 100 บาท(100 x 1) + เงินเพิ่ม
"เงินเพิ่ม" คือ ค่าดอกเบี้ยจากการเสียภาษีล่าช้า ซึ่งจะคำนวณจากยอดภาษีที่เสียไม่ครบอีก 1.5/เดือน
รายจ่ายต้องห้าม!
สวัสดีทุกคนครับ
วันนี้อยากจะแนะนำให้รู้จักคำว่า "รายจ่ายต้องห้าม"
"รายจ่ายต้องห้าม" คือ ค่าใช้จ่ายที่มีอาถรรพ์ ต้องคำสาป.....ไม่ช่าย
แต่ก่อนที่เราจะมารู้จักคำนี้ เรามาทำความเข้าใจง่ายๆถึงเรื่องภาษีกันก่อน
ทั้งภาษีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ภาษีจะจัดเก็บตามรายได้
กล่าวคือ ยิ่งมีรายได้มากก็ต้องเสียภาษีมาก
ในทางกลับกัน ถ้ามีรายจ่ายมาก รายได้น้อยลง ภาษีที่ต้องจ่ายก็น้อยลงตามไปด้วย
สำหรับนิติบุคคล ไม่ได้หมายความว่าจะเอาอะไรต่ออะไรมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด
สรรพกรคงจะไม่ยอม ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำนี้
รายจ่ายต้องห้าม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ค่าใช้จ่ายบวกกลับ" (Add Back) ก็น่าจะหมายถึง บวกกลับไปเป็นรายได้มั้ง ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “損金不算入”
ซึ่ง ค่าใช้จ่ายต้องห้ามมีอะไรบ้าง ก็ลองไปศึกษากันดูก็แล้วกัน
Monday, December 12, 2022
คันจิแห่งปี2022
ประเทศญี่ปุ่นประกาศ "คันจิประจำปี2022 (今年の漢字)ณ.วัดคิโยมิซุ
จากคะแนนโหวตทั้งหมด 223,768 ที่ได้คะแนนโหวตสูงสุด ได้แก่
戦 いくさ แปลว่า "สงคราม" (10,804 โหวต 4.83%)
และลำดับถัดไปดังนี้
2位:「安」10,616 โหวต
3位:「楽」7,999 โหวต
4位:「高」3,779 โหวต
5位:「争」3,661 โหวต
เหตุผลเนื่องจากปีนี้มักจะมีแต่ข่าวคราวเกี่ยวกับสงครามรัสเซียยูเครน รวมถึงการยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
อืม ตอนแรกเครียดเลย นึกว่าญี่ปุ่นจะไปสู้รบกับใคร?
Monday, December 5, 2022
ヘドロ
สวัสดีทุกคน
สำหรับโรงประกอบคงหนีไม่พ้นที่จะเจอกับปัญหาสต๊อกเยอะ ผู้บริหารพูดกรอกหูทุกเดือน "ต้องลดสต๊อกๆๆๆๆๆๆ" วันนี้เลยอยากจะเสนอคำว่า "ヘドロ"
คำนี้ถ้าแปลตรงๆจะหมายความว่า "โคลนตม" ซึ่งในเชิงของการจัดการสต๊อกสินค้าจะหมายถึง สินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ เรียกอย่างเป็นทางการว่า 不動在庫
ซึ่งอาจมีสาเหตุจาก ซื้อมามากเกิน ผลิตมากเกิน หรือ มีการจัดเก็บที่ไม่ดี
ซึ่งส่งผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน (資金繰り)、และมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมสต๊อก(在庫管理)
และมีอีกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันตรงที่เราคิดว่าน่าจะขายได้จนซื้อเข้ามามากจนเกินไป ซึ่งเรียกว่า 過剰在庫 และถ้าเก็บไว้นานเข้าก็จะกลายเป็น 不良在庫
ส่วนอีกคำ คือ 滞留在庫 ประมาณว่าไม่น่าจะขายได้ เก็บไว้นานจนเสื่อมสภาพหรือใกล้จะหมดอายุ ใกล้จะเป็นDead Stockและ (死蔵在庫)
และถ้านึกถึงการแก้ไข คำนี้ก็จะโผล่ขึ้นมาในหัวทันที 適正在庫
น่าจะคบทุกคำในพจนานุกรมและ ขอลาไปก่อน บ๊ายบาย!!!!!
Tuesday, November 1, 2022
กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 為替差損・差益#2
อีกส่วนนึงคือ ตอนได้รับเงินโอนจากลูกค้า (入金時)
ราคาขาย 390 เยน
อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่ออก Invoice 4.0
390 / 4.0 = 97.5 บาท
เทียบกับ
อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่รับเงิน 3.9
390 / 4.2 = 92.8 บาท
ส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน 92.8 - 97.5 = -4.7 (ขาดทุน)
เป็นการขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง “実現”
ซึ่งขาดทุนทั้ง2ส่วนจะโชว์ในP/L เพื่อสะท้อนออกมาเป็นกำไรสุทธิ์(経常利益)หลังจากหักกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
จบ
กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 為替差損・差益
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ประชุมกันเป็นมหากาพย์เลยทีเดียวเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน
แน่นอนว่าการซื้อขายในประเทศ เราซื้อขายเป็นเงินไทยอยู่แล้วก็คงไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้ามีการซื้อขายกับต่างประเทศเมื่อไหร่(外貨建て取引)
เราก็จะมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน
มันเริ่มตั้งแต่ที่เราออกInvoiceขาย ส่วนนี้เป็นในส่วนของการตั้งหนี้ (売掛 AR)
ตัวอย่าง กรณีขายสินค้าให้กับลูกค้าในต่างประเทศ
ราคาขาย 390 เยน
อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่ออก Invoice 4.0
390 / 4.0 = 97.5 บาท
เทียบกับ
อัตราแลกเปลี่ยนณ.สิ้นเดือน 3.9
390 / 3.9 = 100 บาท
ส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน 100 - 97.5 = +2.5 (กำไร)
*เป็นการรับรู้กำไรขาดทุนทางบัญชีที่ต้องโชว์ตัวเลขใน P/L (損益計算書)
ซึ่งในเดือนถัดไปจะถูกReverse กลับ จาก (+) ---> (-) เพื่อรีเซทให้เป็น "ศูนย"
การขาดทุนยังไม่เกิดขึ้นจริงนี้ เรียกว่า “未実現” Unrealized
รวมถึงการนำเงินเยนที่ฝากในบัญชีมาคำนวณกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนก็ถือเป็น Unrealized เช่นกัน
Subscribe to:
Posts (Atom)