Main menu

#htmlcaption1 Kanemori Red Brick Warehouse Former Hokkaido Govt.Bldg. Usuzan Ropeway Otaru Canal

low-column

Friday, March 10, 2023

รายจ่ายต้องห้าม!

สวัสดีทุกคนครับ

วันนี้อยากจะแนะนำให้รู้จักคำว่า "รายจ่ายต้องห้าม" 
"รายจ่ายต้องห้าม"  คือ ค่าใช้จ่ายที่มีอาถรรพ์ ต้องคำสาป.....ไม่ช่าย
แต่ก่อนที่เราจะมารู้จักคำนี้ เรามาทำความเข้าใจง่ายๆถึงเรื่องภาษีกันก่อน

ทั้งภาษีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ภาษีจะจัดเก็บตามรายได้
กล่าวคือ ยิ่งมีรายได้มากก็ต้องเสียภาษีมาก
ในทางกลับกัน ถ้ามีรายจ่ายมาก รายได้น้อยลง ภาษีที่ต้องจ่ายก็น้อยลงตามไปด้วย

สำหรับนิติบุคคล ไม่ได้หมายความว่าจะเอาอะไรต่ออะไรมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด
สรรพกรคงจะไม่ยอม ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำนี้ 

รายจ่ายต้องห้าม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ค่าใช้จ่ายบวกกลับ" (Add Back) ก็น่าจะหมายถึง บวกกลับไปเป็นรายได้มั้ง    ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “損金不算入” 

ซึ่ง ค่าใช้จ่ายต้องห้ามมีอะไรบ้าง ก็ลองไปศึกษากันดูก็แล้วกัน 





Monday, December 12, 2022

คันจิแห่งปี2022

ประเทศญี่ปุ่นประกาศ "คันจิประจำปี2022 (今年の漢字)ณ.วัดคิโยมิซุ
จากคะแนนโหวตทั้งหมด 223,768 ที่ได้คะแนนโหวตสูงสุด ได้แก่


  いくさ  แปลว่า "สงคราม" (10,804 โหวต  4.83%)

และลำดับถัดไปดังนี้

2位:「安」10,616 โหวต
3位:「楽」7,999 โหวต
4位:「高」3,779 โหวต
5位:「争」3,661 โหวต

เหตุผลเนื่องจากปีนี้มักจะมีแต่ข่าวคราวเกี่ยวกับสงครามรัสเซียยูเครน รวมถึงการยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
อืม ตอนแรกเครียดเลย นึกว่าญี่ปุ่นจะไปสู้รบกับใคร?











Monday, December 5, 2022

ヘドロ

 สวัสดีทุกคน

สำหรับโรงประกอบคงหนีไม่พ้นที่จะเจอกับปัญหาสต๊อกเยอะ ผู้บริหารพูดกรอกหูทุกเดือน "ต้องลดสต๊อกๆๆๆๆๆๆ" วันนี้เลยอยากจะเสนอคำว่า "ヘドロ" 

คำนี้ถ้าแปลตรงๆจะหมายความว่า "โคลนตม" ซึ่งในเชิงของการจัดการสต๊อกสินค้าจะหมายถึง สินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ เรียกอย่างเป็นทางการว่า 不動在庫
ซึ่งอาจมีสาเหตุจาก  ซื้อมามากเกิน ผลิตมากเกิน หรือ มีการจัดเก็บที่ไม่ดี
ซึ่งส่งผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน (資金繰り)、และมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมสต๊อก(在庫管理)

และมีอีกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันตรงที่เราคิดว่าน่าจะขายได้จนซื้อเข้ามามากจนเกินไป ซึ่งเรียกว่า 過剰在庫 และถ้าเก็บไว้นานเข้าก็จะกลายเป็น 不良在庫

ส่วนอีกคำ คือ 滞留在庫 ประมาณว่าไม่น่าจะขายได้ เก็บไว้นานจนเสื่อมสภาพหรือใกล้จะหมดอายุ ใกล้จะเป็นDead Stockและ (死蔵在庫)

และถ้านึกถึงการแก้ไข คำนี้ก็จะโผล่ขึ้นมาในหัวทันที 適正在庫 
น่าจะคบทุกคำในพจนานุกรมและ ขอลาไปก่อน บ๊ายบาย!!!!!










               

Tuesday, November 1, 2022

กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 為替差損・差益#2

 อีกส่วนนึงคือ ตอนได้รับเงินโอนจากลูกค้า (入金時)


ราคาขาย                    390 เยน
อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่ออก Invoice  4.0  
390 / 4.0  =   97.5 บาท

เทียบกับ
อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่รับเงิน  3.9
390 / 4.2 =  92.8 บาท

ส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน      92.8 - 97.5    =   -4.7 (ขาดทุน)


เป็นการขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง “実現”
ซึ่งขาดทุนทั้ง2ส่วนจะโชว์ในP/L เพื่อสะท้อนออกมาเป็นกำไรสุทธิ์(経常利益)หลังจากหักกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

จบ




กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 為替差損・差益

เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ประชุมกันเป็นมหากาพย์เลยทีเดียวเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน

แน่นอนว่าการซื้อขายในประเทศ เราซื้อขายเป็นเงินไทยอยู่แล้วก็คงไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้ามีการซื้อขายกับต่างประเทศเมื่อไหร่(外貨建て取引)
เราก็จะมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน

มันเริ่มตั้งแต่ที่เราออกInvoiceขาย  ส่วนนี้เป็นในส่วนของการตั้งหนี้ (売掛 AR)
ตัวอย่าง กรณีขายสินค้าให้กับลูกค้าในต่างประเทศ  

ราคาขาย                    390 เยน
อัตราแลกเปลี่ยนณ.วันที่ออก Invoice  4.0  
390 / 4.0  =   97.5 บาท

เทียบกับ
อัตราแลกเปลี่ยนณ.สิ้นเดือน   3.9
390 / 3.9 =  100 บาท

ส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน      100 - 97.5    =   +2.5 (กำไร)

*เป็นการรับรู้กำไรขาดทุนทางบัญชีที่ต้องโชว์ตัวเลขใน P/L (損益計算書)
ซึ่งในเดือนถัดไปจะถูกReverse กลับ  จาก (+) ---> (-)  เพื่อรีเซทให้เป็น "ศูนย"

การขาดทุนยังไม่เกิดขึ้นจริงนี้ เรียกว่า “未実現” Unrealized
รวมถึงการนำเงินเยนที่ฝากในบัญชีมาคำนวณกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนก็ถือเป็น Unrealized เช่นกัน

 





Tuesday, October 25, 2022

พิกัด 座標

สวัสดีทุกคน

ขอโทษที่หายหน้าหายตาไปนาน เพราะก่อนหน้านี้โดนบริษัทเก่าไล่ออก! ก็เลยต้องวุ่นวายกับการหางานและปรับตัวกับบริษัทใหม่
เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า  สำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานในโรงแมชชีนก็น่าจะเคยได้ยินคำว่า "พิกัด" หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “三次元座標” อย่างแน่นอน   พิกัดคือตำแหน่งของวัตถุในเชิงสามมิติ โดยมีจุดศูนย์(原点)เป็นจุดอ้างอิง

     X軸  +X  -X    ซ้าย/ขวา
     Y軸        +Y  -Y        หน้า/หลัง
     Z軸  +Z   -Z       บน/ล่าง

แต่เพิ่งรู้ว่ามันมีนอกเหนือจากนั้น     A B C  อักษรภาษาอังกฤษ 3ตัวหน้าก็ถูกเอามาใช้

    +A หรือ U   การหมุนรอบแกน X  X軸周りの回転
    +B หรือ V   การหมุนรอบแกน Y
    +C หรือ W   การหมุนรอบแกน Z




   

Tuesday, August 31, 2021

ภาษีเงินได้หักณ.ที่จ่าย#2 (法人所得税)

 ต่อจากบทความก่อนหน้านี้

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (法人所得税)
 2.1 เมื่อมีการจ่ายเงินให้กับSupplier ฯลฯ บริษัทจะหักภาษีไว้เพื่อนำส่งสรรพกร
    2.2 ในทางกลับกัน เมื่อได้รับเงินจากลูกค้า บริษัทจะถูกหักเงินออกไปด้วยเช่นกัน

การหักณ.ที่จ่าย จะหักตามอัตราที่กำหนด เช่น
ถ้าเป็นค่าบริการ 3%, ค่าเช่า 5%, ค่าขนส่ง 1% เป็นต้น

ซึ่งส่วนที่ถูกหักในข้อ2.2 จะถูกนำไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจาก "กำไรสุทธิ" ตามอัตราภาษีที่กำหนด (บริษัททั่วๆไป 20%    ธุรกิจSME(中小企業)จะเป็นแบบขั้นบันได 15%, 20%)

แต่กรณีที่บริษัทมีผลประกอบการขาดทุนสะสม(繰越し欠損金/累損)ในช่วงระยะเวลา 5ปีมีผลเป็นลบก็สามารถนำไปลดหย่อนกำไรสุทธิได้  

(กำไรสุทธิ - ขาดทุนสะสม) x อัตราภาษี -  ภาษีที่ถูกหัก(ข้อ2.1)
= ชำระภาษีเพิ่ม /  ขอคืนภาษี
          
*ภาษีนิติบุคคลยื่นปีละครั้ง สามารถขอคืนได้ภายในระยะเวลา 3ปี